WebBoard :กฎหมาย|อายุ18ปีค้ำเงินกู้ให้เเม่จำนวนหลายเเสน

อายุ18ปีค้ำเงินกู้ให้เเม่จำนวนหลายเเสน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

อายุ18ปีค้ำเงินกู้ให้เเม่จำนวนหลายเเสน

  • 368
  • 2
  • post on 24 ก.พ. 2563, 03:14

กระผมได้ค้ำเงินกู้ให้เเม่จำนวนหลายเเสนบาท เป็นหนี้นอกระบบที่ดอกทบต้น จากจำนวนน้อยๆกลายเป็นก้อนใหญ่ (ร้อยละเกิน20ต่อเดือน)  เงินจากไม่กี่หมื่นก็ทบๆมาจนหลายเเสน การค้ำประกันของผมมีผลไหมครับ ขณะเซ็นต์ค้ำ ผมอายุ18ปี เข้าข้อต่อสู้ต่อตามมาตรา1574(10) ไหมครับ ที่หลักว่า ผู้มีอำนาจปกครองจะให้ผู้เยาว์ค้ำประกันอันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องชำระหนี้เเทนบุคคลอื่นมิได้ ยกเว้นจะข้อต่อศาล   ขณะนั้นผมอยู่กับเเม่ที่บ้าน เจ้าหนี้เเละเเม่ให้เซ็นต์ ซึ่งผมก็จำใจเซ็นต์ 


เเล้วทางเเม่ พอจะมีข้อต่อสู้อย่างไรบ้างครับ ยินยอมจะชดใช้ตามจำนวนจริงๆ  ไม่มีการส่งมอบเงินหลักเเสน เเต่เป็นการทบดอกทบต้นเป็นปีๆจนเงินเป็นหลายเเสน 


ขอบพระคุณครับ

โดยคุณ นราภัทร (172.68.xxx.xxx) 24 ก.พ. 2563, 03:14

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

สัญญาค้ำมิได้เป็นโมฆะตามมาตรา1574(10)หรือครับท่าน ปัจจุบันอายุ23 ไ่ีม่น่าจะบอกล้างได้เเล้วครับ

โดยคุณ นราภัทร 24 ก.พ. 2563, 07:03

ตอบความคิดเห็นที่ 2

ตอบตามข้อเท็จจริง...ก็คุณบอกว่าตอนทำสัญญาค้ำฯ เมื่อ อายุ  18 ปี จึงตอบว่า สัญญาเป็นโมฆียะ ก็ว่าไปตามข้อเท็จจริงเท่านั้น
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 24 ก.พ. 2563, 14:49

ความคิดเห็นที่ 1

โมฆียะกรรม


  คุณเข้าใจถูกต้อง สัญญาค้ำประกันที่คุณทำไว้ ในขณะเป็นผู้เยาว์  ย่อมเป็นโมฆียะ  เมื่อคุณบรรลุนิติภาวะ  ก็สามารถบอกล้างสัญญานี้ได้  โดยการบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้ว่า สัญญานี้เป็นโมฆียะ  เมื่อบอกล้าง   สัญญาค้ำประกันจะเป็นโมฆะ มาแต่แรก  ใช้บังคับไม่ได้  ตาม ปพพ.ม. 175  ม.176...แต่หนี้นี้ เป็นหนี้นอกระบบ แม้จะบอกล้างถูกต้องจนสัญญาฯเป็นโมฆะ สัญญาฯใช้บังคับไม่ได้   แต่เจ้าหนี้คงไม่ยอมรามือ  คงตามไล่เบี้ยกับคุณอีกแน่นอน เพราะเจ้าหนี้นอกระบบ มักจะมีอิทธิพล  การใช้กฎหมายมาแก้ไขปัญหาเพียงอย่างเดียว คงแก้ไขไม่ได้....ขอแนะนำให้  ไปขอความช่วยเหลือ อัยการคุ้มครองสิทธิ์  ที่ สนง.อัยการ  ในเขตภูมิลำเนา หรือในเขตศาลที่คุณสังกัด  เพราะตามข้อเท็จจริง  การเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด(เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี) จะมีความผิด ตาม พรบ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 ซึ่งจะมีโทษตาม ม.4  คือจำคุกไม่เกินสองปี ปรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่ิออัยการดำเนินคดี  หรือไกล่เกลี่ยให้ใช้หนี้ ตามความเป็นจริง  เรื่องน่าจะยุติ(คือการเรียกดอกเบี้ยเกินฯ สัญญากู้ยืมที่แม่ทำไว้กับเจ้าหนี้ ไม่เป็นโมฆะ  จะเป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ย  ดังนั้นแม่ต้องใช้หนี้ที่เหลือตามความเป็นจริง) แต่...การใช้ช่องทางนี้แก้ไข  ก็ใช่ว่าจะปลอดภัย

เพราะคำว่าอิทธิพลมืด ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น  คุณและครอบครัวคงอยู่ไม่เป็นสุข

ดังนั้นต้องพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ  ไม่อยากให้การแนะนำกลายเป็นความทุกข์  ด้วยความปรารถนาดี ครับ


โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 24 ก.พ. 2563, 06:16

แสดงความเห็น