WebBoard :กฎหมาย|มรดกที่พูดสั่งเสียไว้แต่ไม่ได้ทำพินัยกรรมเลยมีคนไม่ทำตามคำสั่งเสีย

มรดกที่พูดสั่งเสียไว้แต่ไม่ได้ทำพินัยกรรมเลยมีคนไม่ทำตามคำสั่งเสีย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

มรดกที่พูดสั่งเสียไว้แต่ไม่ได้ทำพินัยกรรมเลยมีคนไม่ทำตามคำสั่งเสีย

  • 362
  • 2
  • post on 22 ส.ค. 2562, 07:08

ย่าผมมีลูก4คน สั่งเสียว่าถ้าย่าเสียชีวิตแล้วให้แบ่งเงินให้ผมซึ่งเป็นหลานจำนวนเงินหนึ่งแสนบาท กับทองอีก3บาท เพื่อที่จะได้มีเงินไว้แต่งงานเพราะย่าเขาเห็นว่าผมไม่มีพ่อมีแม่เหมือนคนอื่นเลยกลัวว่าจะไม่มีเงินไปแต่งงาน แล้วพ่อแท้ๆซึ่งเป็นลูกของย่า(เขาทิ้งผมและโอนผมเป็นลูกบุญธรรมของลุงซึ่งเป็นลูกคนโตของย่าด้วยตอนนี้พ่อแท้ๆมีครอบครัวใหม่ไม่ได้อยู่บ้านเดียวกัน) เขาจะรวมเงินทั้งหมดแล้วแบ่งโดยไม่มีผมอยู่ในนั้นก่อนแล้วให้ป้ากับลุงเอาเงินที่แบ่งแล้วซึ่งเป็นส่วนของเขามาแบ่งให้ผมอีกทีนึงซึ่งขัดคำสั่งเสียของย่า เราควรมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรครับเพราะตอนนี้เขาจะฟ้องศาลแล้ว

โดยคุณ เตชสิทธิ์ สุขหอม (172.68.xxx.xxx) 22 ส.ค. 2562, 07:08

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

ผมยุ่กะป้าพี่สาวพ่อมาตั้งแต่เด็กต่อจากปู่กับย่าเสียไปจนผมมีครอบครัวมีลุกป้าไม่มีสามีมีลูกผมและครอบครัวจึงยุ่กะป้ามาตลอดป้าเป็นเจ้าบ้านต่อจากย่าเมื่อป้าเกิดเสียชีวิตพี่น้องป้าเขามาจัดการมรดกรวมทั้งบ้านที่ผมอาสัยยุ่ด้วยผมไม่มีสิดได้ส่วนไหนเลยหร่อครับต้องตกเป็นของลุงป้าอาทั้งหมดไช่ไหมคับ

โดยคุณ จรูญ 28 ส.ค. 2562, 02:16

ตอบความคิดเห็นที่ 2

หากไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 ดังนี้ 

1.ผู้สืบสันดาย

2.บิดามารดา

3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

4.พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน

5.ปู่ย่าตายา

6.ลุงป้าน้าอา 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 5 ก.ย. 2562, 09:49

ความคิดเห็นที่ 1

มรดกคุณย่า

  การสั่งเสียของคุณย่า  ไม่มีผลที่จะบังคับได้ ตามกฎหมาย  เมื่อคุณย่าตาย ทรัพย์สินของคุณย่า  ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ลูกๆทั้ง 4 คน  คนละเท่าๆกัน  หรือ ตามที่ตกลงกัน  แม้พ่อจะย้ายไปอยู่ที่อื่น  ก็ยังมีสิทธิ์ในกองมรดกของคุณย่า 1 ใน 4 ส่วน ก็ควรให้พ่อมาเรียกร้องมรดกในส่วนของพ่อ  1 ส่วน  และแบ่งปันให้คุณก็ได้...
ส่วนคำสั่งเสียของคุณย่า จงลืมเสียเถิด เพราะไม่ใช่พินัยกรรม...ถ้ามีการฟ้องศาล  คงมีการขอตั้งผู้จัดการมรดกของคุณย่า  ก็ควรติดต่อให้คุณพ่อได้รับทราบ  เพื่อขอแบ่งปันมรดก 1 ใน 4 ส่วน  ถ้าเพิกเฉย ถ้าผู้จัดการมรดก แบ่งปันมรดกไปแล้ว  การมาฟ้องร้องแบ่งมรดกในภายหลังจะยุ่งยาก...ส่วนเรื่องการขัดคำสั่งของคุณย่า  อย่าไปหลงยึดติด ให้เสียความรู้สึก  เพราะทายาทไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามก็ได้ ด้วยความปรารถนาดี ครับ
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 22 ส.ค. 2562, 08:21

แสดงความเห็น