เรียน ปรึกษาท่านทนายค่ะ
เมื่อวันที่ 12 ส.ค.2559 ดิฉันได้ทำสัญญาเช่าคอนโดแห่งหนึ่ง โดยมีกำหนดสัญญาเช่าไม่น้อยกว่า 12 เดือน และในสัญญาเช่าระบุวันครบกำหนดสิ้นสุดสัญญาเป็นวันที่ 31 ก.ค.2560
จากนั้นดิฉันก็สอบถามไปยังเจ้าของห้องเช่า ว่าจะขอเช่าต่อ และให้นำสัญญามาให้ดิฉันเซ็นด้วย แต่เจ้าของห้องก็ไม่ได้แวะเอาสัญญาเข้ามาให้สักที ดิฉันก็เลยแจ้งทางเจ้าของห้องว่าดิฉันขอโอนค่าเช่าห้องให้ก่อน เพราะเกรงว่าจะมีปัญหา และแจ้งเจ้าของห้องเช่าด้วยว่าให้ยึดตามเงือนไขสัญญาเดิมนะคะ
จากนั้นดิฉันก็โอนค่าห้องทุกเดือนเป็นระยะเวลาอีก 1 ปีต่อมา ในวันที่ 31 กรกฏาคม 2561 ดิฉันก็ยังไม่ได้รับสัญญาเช่าฉบับใหม่ แต่ก็ยังคงจ่ายเงินค่าห้องต่อไปจนกระทั่ง ปลายเดือนกันยายน 2561 ดิฉันมีเหตุจำเป็นต้องย้ายที่ทำงาน จึงขอแจ้งย้ายออกล่วงหน้า 30 วัน คือแจ้งว่าจะย้ายออกวันที่ 31 ตุลาคม 2561 และนัดเจ้าของห้องให้เข้ามาเช็คห้องตอนปลายเดือน ตุลาคม 2561 แต่เจ้าห้องห้องไม่ว่าง จึงให้ดิฉันวางกุญแจและทิ้งเลขบัญชีธนาคารไว้สำหรับโอนค่ามัดจำคืนไว้ในห้อง จากนั้นดิฉันก็ล็อกประตูแบบลูกบิต และไม่ได้กลับไปที่นั่นอีกเลย และรอให้เจ้าของห้องเข้าไปเช็คห้อง
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2561 เจ้าของห้องแจ้งมาว่า ไม่ขอคืนค่ามันจำให้ดิฉัน
ดิฉันจ่ายค่ามัดจำตอนเข้าอยู่ 10,000 บาท
ค่าเช่าห้องเดือนละ 3600 บาท
ค่าส่วนกลาง 400 บาท
ค่าไฟจ่ายเองทุกเดือนไม่เคยค้าง
โดยเจ้าของห้องแจ้งว่า
1. หักค่าเช่าเดือนสุดท้ายรวมค่าสาธารณูปโภค 4,000 บาท (อันนี้ดิฉันโอเคค่ะ)
2. หักค่าซ่อมแอร์ เพราะมอเตอร์แอร์พัง เป็นเงิน 3500 บาท (ก่อนที่ดิฉันเข้ามาอยู่คือแอร์เก่าแล้ว และไม่ได้ล่างเลย ดิฉันต้องเป็นคนจ่ายเงินค่าล้างแอร์เอง) ดิฉันรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบค่ะ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เจ้าของห้องต้องจ่ายเองหรือเปล่าคะ ครั้งหน้าจะได้ระมัดระวังตัวเองก่อนเซ็นสัญญาเช่าใด ๆ ค่ะ
3. ที่เหลือหักค่าเปลี่ยนหลอดไฟ และแจ้งว่าในสัญญาเช่าฉบับเก่า 12 ส.ค.59 ถึง 31 ก.ค.60 (ซึ่งได้หมดสัญญาไปแล้ว)ได้ระบุไว้ว่า ผู้เช่าจะต้องแจ้งย้ายออกล่วงหน้า 2 เดือน ผู้ให้เช่าจึงใช้เหตุผลดังกล่าว ยึดเงินมัดจำทั้งหมดค่ะ
และกฎหมายอนุญาตให้ผู้ให้เช่าระบุในสัญญาต้องแจ้งย้ายล่วงหน้า 2 เดือน ไหมคะ ดิฉันเพิ่งเห็น ตอนแรกเข้าใจมาตลอดว่า 30 วันก็เพียงพอแล้ว