WebBoard :กฎหมาย|ขอความรู้เรื่อง การขอเงินคืน ในกรณีที่ไม่สามารถเรียนได้

ขอความรู้เรื่อง การขอเงินคืน ในกรณีที่ไม่สามารถเรียนได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ขอความรู้เรื่อง การขอเงินคืน ในกรณีที่ไม่สามารถเรียนได้

  • 5921
  • 2
  • post on 19 ก.พ. 2557, 01:59

 ผมได้ หา กฏกระทรวงมาดังนี้

โรงเรียนกวดวิชา

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานโรงเรียนเอกชน ประเภทกวดวิชา
พ.ศ. ๒๕๔๕
---------------------------

ด้วยกระทรวงศึกษาธิการ เห็นสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานโรงเรียนเอกชน ประเภทกวดวิชา พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้เหมาะสมและเอื้อประโยชน์แก่ผู้เรียนและสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.๒๕๒๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานโรงเรียนเอกชน ประเภทกวดวิชา พ.ศ. ๒๕๔๕”
ข้อ ๒ ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานโรงเรียนเอกชน ประเภทกวดวิชา พ.ศ. ๒๕๔๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “โรงเรียน” หมายความว่า โรงเรียนกวดวิชาที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกวดวิชา บางวิชาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการในระดับประถมศึกษาปีที่ ๕ ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ ๖ และระดับมัธยมศึกษา “สื่อ” หมายความว่า เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน เช่น เครื่องวีดีทัศน์ ระบบโทรทัศน์วงจรปิด เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่สามารถถ่ายทอดสัญญาณภาพ และเสียงจากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งได้ “เจ้าหน้าที่ประจำห้องเรียน” หมายความว่า บุคลากรทางการศึกษาหรือครูผู้ช่วย ซึ่งมีหน้าที่ดูแลความประพฤติของนักเรียนและรักษาระเบียบแบบแผนของห้องเรียน ดูแลการใช้สื่อและสามารถให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอน
ข้อ ๕ ลักษณะการจัดการเรียนการสอน
๕.๑ จัดการเรียนการสอนโดยใช้ครูเป็นผู้สอน
๕.๒ จัดการเรียนการสอนในลักษณะผสม โดยมีทั้งครูผู้สอนและสื่อ
๕.๓ จัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ
ข้อ ๖ สถานที่ตั้งโรงเรียนและอาคาร
๖.๑ สถานที่และบริเวณที่ตั้งโรงเรียนต้องมีลักษณะกว้างขวางและเหมาะสม พอแก่กิจการของโรงเรียน โดยต้องมีพื้นที่ใช้สอยไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ตารางเมตร ไม่ขัดต่อสุขลักษณะหรืออนามัยของนักเรียน การคมนาคมสะดวก ตั้งอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีไม่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม ที่อาจเกิดภัยอันตรายใด ๆ หรืออยู่ใกล้สถานที่อื่นที่ไม่เหมาะสมแก่กิจการของโรงเรียน
๖.๒ ต้องมีกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือกรณีเช่าต้องมีสัญญาเช่าอาคาร จากผู้มีสิทธิในการให้เช่า มีกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี โดยระบุวัตถุประสงค์การเช่า เพื่อใช้จัดตั้งโรงเรียน ยกเว้นกรณีการเช่าที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ราชพัสดุ ที่ศาสนสมบัติกลาง ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
๖.๓ อาคารต้องเป็นเอกเทศ หรืออาคารร่วมต้องแยกเป็นสัดส่วน ไม่ปะปน
กับกิจการอื่น และเป็นอาคารที่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะใช้จัดการเรียนการสอน
๖.๔ ต้องเป็นอาคารที่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างหรือใบอนุญาตต่อเติมอาคารจากทางราชการ ให้ใช้เป็นอาคารเรียนเพื่อการศึกษา เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถหาเอกสารจากทางราชการได้ ให้วิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมาย ว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร
ข้อ ๗ ห้องเรียน
๗.๑ ห้องเรียนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้ครูเป็นผู้สอน ใช้เกณฑ์คำนวณความจุ ๑ ตารางเมตรต่อนักเรียน ๑ คน จำนวนนักเรียนไม่เกินห้องละ ๔๕ คน
๗.๒ ห้องเรียนที่จัดการเรียนการสอนลักษณะผสม โดยมีทั้งครูผู้สอนและสื่อ ใช้เกณฑ์คำนวณความจุ ๑ ตารางเมตร ต่อนักเรียน ๑ คน จำนวนนักเรียนไม่เกินห้องละ ๙๐ คน
๗.๓ ห้องเรียนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ ใช้เกณฑ์คำนวณความจุ ๑ ตารางเมตร ต่อนักเรียน ๑ คน จำนวนนักเรียนไม่เกินห้องละ ๙๐ คน
๗.๔ ห้องเรียนที่จัดแบบห้องบรรยายขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นครูผู้สอน อาจมีนักเรียนเกินห้องละ ๙๐ คน ใช้เกณฑ์คำนวณความจุ ๑ ตารางเมตรต่อนักเรียน ๑ คน และจะต้องเพิ่มสื่อ และเจ้าหน้าที่ประจำห้องเรียนตามสัดส่วนนักเรียน
ข้อ ๘ การจัดอาคารสถานที่และความปลอดภัย
๘.๑ ห้องเรียน ห้องประกอบ ต้องมีแสงสว่างพอเพียงและมีระบบถ่ายเทอากาศที่ถูกสุขลักษณะ
๘.๒ มีห้องธุรการและหรือห้องพักครูแยกต่างหากจากห้องเรียน
๘.๓ จัดให้มีพื้นที่หรือห้องสำหรับพักผ่อนให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่มีอยู่ตามสมควร
๘.๔ จัดให้มีน้ำดื่ม น้ำใช้ที่สะอาดถูกสุขลักษณะให้เพียงพอตามจำนวนนักเรียนที่มีอยู่
๘.๕ มีห้องส้วมแยกชาย-หญิง โดยถืออัตราส่วนจำนวนนักเรียน ๓๕ คน ต่อ ๑ ที่ สำหรับการเปิดสอนในแต่ละรอบเกิน ๒๐ คนขึ้นไปให้เพิ่มอีก ๑ ที่
๘.๖ ต้องจัดให้มีทางหนีไฟตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือให้เป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ ในเรื่องการป้องกันอัคคีภัย
ข้อ ๙ เจ้าหน้าที่ประจำห้องเรียน และการใช้สื่อ
๙.๑ ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำห้องเรียนตลอดเวลา ที่มีการจัดการเรียนการสอนในอัตราส่วน ๑ คน ต่อนักเรียน ๑ ห้อง
๙.๒ สื่อโทรทัศน์หรือฉากรับภาพ ต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอให้นักเรียน สามารถมองเห็นและเข้าใจเรื่องราวที่สื่อนำเสนอได้อย่างชัดเจน โดยจะต้องให้มีสื่ออย่างน้อย ๑ เครื่องต่อนักเรียน ๑๕ คน
ข้อ ๑๐ คุณสมบัติของครู และเจ้าหน้าที่ประจำห้องเรียน
๑๐.๑ ครูจะต้องมีความรู้ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนด ความรู้และประสบการณ์ของผู้ขอรับใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ และความรู้ของผู้ขอรับใบอนุญาต ให้เป็นครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
๑๐.๒ เจ้าหน้าที่ประจำห้องเรียนต้องมีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีทักษะในการใช้สื่อ
ข้อ ๑๑ ค่าธรรมเนียมการเรียน
๑๑.๑ การเก็บค่าธรรมเนียมการเรียน จะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาเอกชน โดยให้เก็บได้ในอัตรา ดังนี้ การเรียนการสอนโดยใช้ครูผู้สอน ให้เก็บในอัตราที่สูงกว่าการเรียนการสอนโดยใช้สื่อผสมครู ส่วนการเรียนการสอนโดยใช้สื่อเป็นเครื่องมือจะต้องเก็บในราคาต่ำสุด
๑๑.๒ กรณีที่นักเรียนได้ชำระค่าธรรมเนียมการเรียนแล้ว มีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถเข้าเรียนตามหลักสูตรที่สมัครเรียน ให้ผู้รับใบอนุญาตคืนเงินค่าธรรมเนียมการเรียนให้แก่นักเรียนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในระเบียบการของโรงเรียน ส่วนอัตราการคืนเงินให้เป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนกำหนด
ข้อ ๑๒ ให้ผู้รับใบอนุญาตติดประกาศให้เห็นได้ชัดเจนในเรื่องต่อไปนี้ คือ
๑๒.๑ ใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการโรงเรียน
๑๒.๒ ใบอนุญาตให้เก็บค่าธรรมเนียมการเรียน
๑๒.๓ เกณฑ์มาตรฐานการจัดตั้งโรงเรียน
๑๒.๔ ข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น รายชื่อครูอาจารย์ และหลักสูตรการเรียน
ข้อ ๑๓ โรงเรียนจะต้องจัดทำรายงานการดำเนินกิจการเสนอต่อผู้อนุญาตทุกปี และจะต้องมายื่นขอต่อใบอนุญาตทุก ๆ ๓ ปี ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนกำหนด
ข้อ ๑๔ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาอันเนื่องมาจากการปฏิบัติตามระเบียบนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

ปองพล อดิเรกสาร
(นายปองพล อดิเรกสาร)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

 

 

ส่วน  

๑๑.๒ กรณีที่นักเรียนได้ชำระค่าธรรมเนียมการเรียนแล้ว มีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถเข้าเรียนตามหลักสูตรที่สมัครเรียน ให้ผู้รับใบอนุญาตคืนเงินค่าธรรมเนียมการเรียนให้แก่นักเรียนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในระเบียบการของโรงเรียน ส่วนอัตราการคืนเงินให้เป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนกำหนด

 

ได้ ความต่อดังนี้

เรื่อง การคืนเงินค่าธรรมเนียมการเรียนของโรงเรียนเอกชน มาตรา ๑๕ (๒) ประเภทกวดวิชา
---------------------

อาศัยอำนาจตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานโรงเรียนเอกชน ประเภทกวดวิชา พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๑๑.๒ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จึงกำหนดหลักเกณฑ์การคืนเงินค่าธรรมเนียมการเรียนในโรงเรียนเอกชน ประเภทกวดวิชาไว้ดังต่อไปนี้
๑. โรงเรียนต้องคืนเงินค่าธรรมเนียมการเรียน ๑๐๐ % ในกรณีไม่สามารถจัดการ
เรียนการสอนตามความต้องการของนักเรียน หรือนักเรียนไม่สามารถเรียนตามที่สมัครไว้ เนื่องจากมีความจำเป็น โดยมีหลักฐานเป็นที่เชื่อถือได้มาแสดง
๒. โรงเรียนต้องคืนเงินค่าธรรมเนียมการเรียน ๙๐ % ในกรณีนักเรียนแจ้งความจำนง
เป็นลายลักษณ์อักษร ขอยกเลิกการเรียนโดยแจ้งล่วงหน้าก่อนเปิดทำการสอนในรายวิชานั้น ไม่น้อยกว่า ๗ วัน
๓. โรงเรียนต้องคืนเงินค่าธรรมเนียมการเรียน ๘๐ % ในกรณีนักเรียนได้มาเรียนใน
ครั้งแรกแล้วไม่ประสงค์จะเรียนต่อโดยแจ้งเหตุผลและความจำเป็นให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร หลังจากเรียนครั้งแรกไม่เกิน ๓ วัน
๔. โรงเรียนต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการเรียนคืนตามอัตราในข้อ ๑, ๒ และ ๓ ให้กับ
นักเรียนทันที ที่ได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรจากนักเรียน ว่าไม่ประสงค์จะเรียนต่อไปและขอรับเงินคืน
๕. โรงเรียนต้องออกใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมการเรียนที่ได้รับจากนักเรียนตาม
ความเป็นจริง

ประกาศ ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

พรนิภา ลิมปพยอม
(นางพรนิภา ลิมปพยอม)
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

 

ผมสามารถ ขอเงินคืน ตาม ข้อ   1 , 2 , 3  เลยไหมครับ

ในกรณีที่เขา ไม่ยอมคืน ผมต้องทำอย่างไรต่อ  เช่น  

1. แจ้งตำรวจ

2. แจ้ง  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

3.   หรือ ต้องไปแจ้งที่ไหน ครับ

โดยคุณ somsak (สมาชิก) (171.7.xxx.xxx) 19 ก.พ. 2557, 01:59

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

คือหนูได้ไปสมัครเรียนโรงเรียนเชียงใหม่เซ็นเตอร์บริบาลค่ะ มีเรื่องอยู่ว่าหนูจ่ายแค่ค่าสมัครเรียนไปค่ะยังไม่ได้จ่ายค่าลงทะเบียนเลยค่ะ อยากได้เงินคืนแต่ทางโรงเรียนเขามีกฎว่าไม่มีการคืนเงินแต่จะสามารถเก็บไว้ให้เรียนรุ่นต่อไปได้ ซึ่งตอนที่หนูจ่ายหนูก็ไม่ได้ถามรายละเอียดทางโรงเรียนว่าถ้ายังไม่ได้เรียนจะมีการขอคืนได้ไหม ซึ่งพอหนูพร้อมที่จะไปเรียนและอยากได้เงิน5,000นั้นคืนเพราะเป็นเงินที่หนูจำเป็นต้องใช้มันจริงๆแต่ทางโรงเรียนไม่สามารถคืนให้ได้ หนูควรทำยังไงดีค่ะ พอจะมีทางออกหรือคำแนะนำไหมค่ะ

โดยคุณ เฟิร์น 2 มิ.ย. 2566, 08:26

ตอบความคิดเห็นที่ 2

ลูกชายเรียนอยู่รร.เอกชนในเชียงใหม่ ประมาณเดือนต.ค.2566รร.บังคับให้จ่ายเงินค่าเทอมของปี 2567 (ม.4)เพื่อเป็นการยืนยันสิทธิ์ ตอนนี้ลูกชายสอบชิงทุนของรร.จุฬาภรณ์ได้ จึงจะขอยื่นลาออกและขอคืนเงินค่าเทอมที่จ่ายไปล่วงหน้า  แต่รร.ไม่คืนให้เราสามารถขอคืนได้ไหม มีกฎของสช.คุ้มครองหรือไม่


โดยคุณ ชฎาพร ปุณณะบุตร 8 ก.พ. 2567, 18:23

ตอบความคิดเห็นที่ 2

ได้คืนมั้ยคะ ทางนี้ก็เหมือนกันค่ะ ต้องมีคนค้ำประกันทุน แต่ตอนแรกไม่ได้แจ้ง 

โดยคุณ ณรัญชน์ นัณธนศิลป์ 13 ม.ค. 2567, 18:21

ตอบความคิดเห็นที่ 2

เหมือน​กันเลยค่ะ​ ได้แต่สงสัย​ เราไปเรียน​ไม่ได้ก็ต้องคืนเงินมั้ย​ จะยึดไว้ให้ใคร? 

โดยคุณ อลิสา 17 มิ.ย. 2566, 06:10

ความคิดเห็นที่ 1

แล้วรร.รัฐบาลละคะ แจ้งขอเงินคืนแต่เค้าไม่ให้ค่ะ

โดยคุณ เมธาพร 14 ก.ค. 2562, 12:55

แสดงความเห็น