WebBoard :กฎหมาย|หลักฐานในการเรียกร้องที่ปรปักษ์

หลักฐานในการเรียกร้องที่ปรปักษ์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

หลักฐานในการเรียกร้องที่ปรปักษ์

  • 15770
  • 13
  • post on 17 มิ.ย. 2556, 21:44

 สอบถามเกี่ยวกับหลักฐานในการฟ้องร้องที่ดินปรปักษ์ค่ะ ว่าใช้อะไรยืนยันได้บ้างค่ะว่าเราอยู่หรือใช้ประโยชน์มา 10 ปีอะค่ะ เช่น พยานพื้นที่ข้างเคียง หรือรูปถ่าย หรืออะไรได้บ้างค่ะ เนื่องจากไม่รู้กฏหมายจริงๆค่ะ รบกวนช่วยตอบด้วยนะค่ะ

โดยคุณ thitiporn (223.206.xxx.xxx) 17 มิ.ย. 2556, 21:44

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 13


โดยคุณ 1234 21 มี.ค. 2567, 14:02

ตอบความคิดเห็นที่ 13


โดยคุณ 12345 21 มี.ค. 2567, 14:05

ความคิดเห็นที่ 12

คุณยายซื้อที่ดินไว้ปลูกบ้านจากพี่ชายแต่พี่ชายไม่ได้โอนให้กลับนำไปขายและลูกสาวพี่ชายได้ซื้อกลับคืนมาคุณยายได้เสียแล้วมีแต่ใบซื้อขายเก่าๆคุณยายมีลูกและลูกๆได้ปลูกบ้านเพิ่มรวมเป็น2หลังในที่ดินฝืนนั่นและอยู่กันมา18ปีแล้วส่วนทางผู้ครอบครองโฉนดได้เรียกเงิน1ล้านแล้วถึงจะโอนให้ถ้าเราฟ้องปรปักษ์จะมีโอกาสชนะมั้ยครับ

โดยคุณ นายอิทธิพัทธ์ แก้วโยธา 20 ก.ย. 2566, 17:49

ความคิดเห็นที่ 11

รบกวนขอคำปรึกษาคะ

พ่อได้ยกที่ดินให้ลูกเป็นมรดกสร้างบ้านอยู่กัน3คนพี่น้องสร้างบ้านกันคนละหลังโดยไม่ได้แบ่งแยกฉโนด เมื่อ10ปีที่แล้วลูกของพี่ชายคนโตได้นำที่ไปเข้ากับลิสซิ่งปล่อยเงินกู้เพื่อกู้เงินมาแต่ไม่ยอมจ่ายเงินกู้เลย โดยทางน้องๆอีก2หลังที่อาศัยอยู่ในที่ดินผืนนี้ไม่เคยทราบ จนกระทั่งปัจจุบันมีหมายศาลให้รื้อถอนบ้านออกจากพื้นที่ฉโนดใบนี้ทั้งที่เราปลูกบ้านอาศัยอยู่มา24ปีแล้ว ควรทำยังไงดีคะ ขอบคุณคะ

0895545603

โดยคุณ กรวิการ์ บัวลา 25 ธ.ค. 2561, 07:02

ความคิดเห็นที่ 10

ขอปรึกษาค่ะ

 มีที่อยู่ 1 แปลงเป็น นส.3 ชื่อในโฉนด มี ก ข ค

ทั้ง 3 คน ทำนา(สร้างประโยชน์) ในที่ของตนตลอด

เกิดเหตุ ไฟไหม้ที่กรมที่ดิน ทำให้เอกสารถูกทำลาย

และปี2534 ทางราชการประกาศให้ประชาชนไปขึ้นโฉนด เป็น นส.4จ ดั้งนั้น ก และ ข จึงไปทำโฉนดและลงชื่อในโฉนดเพียง 2 คน ในขณะนั้น ค มาทำงาน กทม. จะกลับไปเฉพาะช่วงทำนา และ ก ข ตกลงจะขึ้นโฉนดเป็นผู้จัดการมรดก มีเวลาค่อยแบ่งกัน แต่โฉนดที่ทำ กลับเป็นการถือครองกรรมสิทธิ์เพียง 2 คน และก้คุยกันในครอบครัวว่าทำไปก่อนค่อยแบ่งอีกที 

ต่อมา ก ตาย ลูกก้ไปเซ็นต์รับมรดกเฉพาะส่วน

ต้องการเอาที่ดินคืนมาทำไงได้บ้าง

1.ครองครองทำประโยนช์ 30 ปี สามารถฟ้องปรปักษ์ ได้ไหม?  จะมีโอกาศชนะกี่เปอร์เซนต์

1.1 มีพยานรู้เห็นจำนวนมาก

1.2 1ในพยายคือ ข ผุ้มีชื่อในโฉนด

1.3 มีการเสียภาษีที่ดิน

2.ข สามารถ ฟ้องคนตายออกจากโฉนดแล้วนำ ค เข้าไปในโฉนด แทนได้ไหม?

3. ในกรณียืนฟ้องแล้ว อีกฝ่ายต้องอุทรณ์ภายในกี่วัน 



โดยคุณ ทิพวรรณ 8 มิ.ย. 2561, 13:20

ความคิดเห็นที่ 9

 เป็นเจ้าของที่ดิน มีโฉนดที่ดินเป็นของตัวเอง วันนึงพี่แท้ๆมาขอปลูกบ้านให้ใหม่เนื่องจากมันผุและพัง หมายถึงว่ารื้อบ้านเก่าออกจะสร้างให้ใหม่ เป็นเงินของพี่ที่จะสร้างบ้านทั้งหมดทุกบาท มันจะเป็นปรปักษ์ไหมคับ ตอนกี่ปี (ปล.ว่ากำลังเก็บเงินไปทุบบ้านที่พี่แท้ๆปลูกให้  จะมาสร้างใหม่)

1.อยากถามว่า ปรปักษ์ 10ปี มันมีปรปักษ์ที่ต่ำกว่า10ปีไหมคับ   ช่วยด้วยไม่อยากเสียที่ดินแปลงนี้ไปคับ

2.ถามว่าปรปักษ์เริ่มนับยังไงให้ครบ10ปี

3.ถามอีกว่าเราจะรีบประมาณกี่ปี ที่จะทัน  ไม่ให้ที่ดินเป็นของคนอื่น

ขอบคุณมาก

โดยคุณ ดาว 5 ก.พ. 2560, 15:35

ตอบความคิดเห็นที่ 9

 การครอบครองปรปักษ์ หมายถึงการ เสียสิทธิในทรัพย์สินของตนโดยการถูกผู้อื่น แย่งการครอบครองหรือ ในทางกฏหมายเรียกว่าอายุความได้สิทธิ เป็นการที่บุคคลอื่นจะได้สิทธิ์ หรือ กรรมสิทธิในทรัพย์สินของเราโดยการครอบครอง ทั้งนี้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382  บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของบุคคลอื่นไว้โดยสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี ถือว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 16 ก.พ. 2560, 16:29

ความคิดเห็นที่ 8

 เป็นเจ้าของที่ดิน มีโฉนดที่ดินเป็นของตัวเอง วันนึงพี่แท้ๆมาขอปลูกบ้านให้ใหม่เนื่องจากมันผุและพัง หมายถึงว่ารื้อบ้านเก่าออกจะสร้างให้ใหม่ เป็นเงินของพี่ที่จะสร้างบ้านทั้งหมดทุกบาท มันจะเป็นปรปักษ์ไหมคับ ตอนกี่ปี (ปล.ว่ากำลังเก็บเงินไปทุบบ้านที่พี่แท้ๆปลูกให้  จะมาสร้างใหม่)

1.อยากถามว่า ปรปักษ์ 10ปี มันมีปรปักษ์ที่ต่ำกว่า10ปีไหมคับ   ช่วยด้วยไม่อยากเสียที่ดินแปลงนี้ไปคับ

2.ถามว่าปรปักษ์เริ่มนับยังไงให้ครบ10ปี

3.ถามอีกว่าเราจะรีบประมาณกี่ปี ที่จะทัน  ไม่ให้ที่ดินเป็นของคนอื่น

ขอบคุณมาก

โดยคุณ ดาว 5 ก.พ. 2560, 15:33

ความคิดเห็นที่ 7

 อยากทราบว่าในกรณีที่ตอนแรกไม่ทราบว่าที่ดินมีเจ้าของเพราะเห็นปล่อยรกร้างทางครอบครัวจึงปลูกเป็นเพลิงเล็กๆๆเพื่อขายของริมทางมาเป็น10กว่าปีเกือบ20แร้ว และปัจจุบันมีบริษัทเอกชนมาแจ้งความเป็นเจ้าของแล้วสั่งให้รื้อแบบนี้จะทำยังไงค่ะเพราะเป็นที่อยู่ที่อาศัยค่ะเรียกที่ดินปรปักได้ไหม

โดยคุณ วรรณวิสา 18 ต.ค. 2559, 22:47

ตอบความคิดเห็นที่ 7

 หลักเกณฑ์การครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 คือ บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี บุคคลนั้นได้กรรรมสิทธิ์ โดยต้องเป็นที่ดินมีโฉนด

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 31 ต.ค. 2559, 14:44

ความคิดเห็นที่ 6

 คือมีที่ดินที่อยูกันมาตั้งแต่รุนปูประมาณ50-60ปีทางปูได้ซื้อขายกันโดยมีคนรับรู้แต่คนรับรู้และปูรวมทั้งคนที่ขายที่ดินไห้ก็ตายกันหมดแส้วแต่ใบชื้อขายหายโดยไดัทำการแจ้งความไว้แล้ว. ณฺ.ตอนนี้ที่ได้เป็นโชนดไปแ้วโเยเป็นชือของหลานเขา.    ทางเราไม่มีกลักฐานอะไรเลยนอกจากใบเสียค่าที่ดินตั้งแต่ที่อยู่มาแต่ตอนนี่ก็เสียไม่ได้แล้วเพราเจ้าของที่ไม่ไห้เสียทีืผืนที่อยํมีบ่าน3กลังด้วนกันคือบ้านปูซึ่งตายไปแล้ว.   บ้านน้องสาวพ่อและบ้านพ่อรวมกัน3หลังบ้านทุกหลังมีบ้านเลขที่หมดเนื้อที่โดยรวมก็9ไร่เศษช่วยตอนหนู่หน่อยน๊ะค๊ะหรูไม่รู้จะทำอย่างไรดีค่ะ.    มอยูครั้งหนึ่งกนูแลูกบ้านไหม่ก็มีหมายศาลมาบอกว่าไก้เรารื้อถอนเพาะไปปลูกบนที่ดินเขาแต่เรื่องก็้งียบไปพอจะมีทางบ้างไหมค่ะที่เราจะได้ที่ที่ปูเราชื้อมาในารคา10000บาทคืนขอบคุลค่ะ

โดยคุณ สุภัทร 22 ส.ค. 2559, 19:10

ตอบความคิดเห็นที่ 6

 หากอยากได้ที่ดินคืน ท่านสามารถทำการซื้อขายที่ดินดังกล่าวกับเจ้าของที่ดินคนปัจจุบัน

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 1 ก.ย. 2559, 16:43

ความคิดเห็นที่ 5

 เนื่องจากดิฉันและญาติๆได้มาปลูกบ้านอยู่ในที่ดินแปลงหนึ่งเพราะเข้าใจว่าเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าเพราะมีชาวบ้านจำนวนหลายร้อยหลังคาเรือนมาปลูกบ้านอยู่ก่อนหน้านี้แล้วดิฉันจึงคิดว่าเป็นที่ดินว่างเปล่าจริงจึงปลูกบ้านในที่ดินแห่งนั้นเวลาผ่านไป11ปีมีบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งมาบอกว่าตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแห่งนี้และมาปักป้ายบอกให้ชาวบ้านย้ายออกจากที่ดินแห่งนั้น กรณีนี้สามารถฟ้องปรปักษ์ได้มั้ยคะเพราะก่อนหน้านี้ไม่มีใครมาแสดงตัวเป็นเจ้าของเลยค่ะ มีตั้งแต่ปีที่แล้วมาบอกว่าตนเป็นเจ้าของแต่ไม่มีหลักฐานมาแสดงแก่ชาวบ้าน ชางบ้านไม่ย้ายออกเพราะคิดว่สเป็นพวกแอบอ้างค่ะ แล้วก็เงียบหายไปแล้วมาแสดงตังในปีนี้ค่ะ

โดยคุณ eat 3 มิ.ย. 2558, 14:57

ตอบความคิดเห็นที่ 5

ปัจจุบันอยู่บ้านหลังนี้มา40กว่าปีแล้ว และได้เกิดการทะเลาะกันกับญาติ(ตัดพี่ตัดน้อง) เขาต้องการขับไล่เราออกจากบ้านหลังนี้ เราจะสามารถอยู่ต่อได้ไหม แต่ทางเราอยากทำโฉนดบ้านหลังนี้โดยแยกออกจากโฉนดเดิมที่เป็นของญาติ เราสามารถฟ้องขอทำโฉนดใหม่ในพื้นที่ส่วนทีเป็นบริเวณบ้านของเราได้ไหมคะ 

โดยคุณ 12345 21 มี.ค. 2567, 13:59

ตอบความคิดเห็นที่ 5

กรณีดังกล่าว หากที่ดินที่ท่านและชาวบ้านเข้าครอบครองเป็นที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์โดยความสงบ เปิดแผลและเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปี ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งกรรมสิทธิ์ซึ่งที่ดินที่ครอบครองได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 26 มิ.ย. 2558, 09:34

ความคิดเห็นที่ 4

 ซื้อที่ดินปากเปล่า4ไร่ ต่อมาผู้ขายได้ทำสัญญาว่าซื้อเพียง2แปลง โดยที่คนซื้อไม่รู้ แต่ผู้ซื้อได้ทำประโยชน์จากที่ดิน4ไร่โดยที่คนขายก็รู้ ตั้งสิบกว่าปี แต่ไม่ยอมโอนให้ผู้ซื้อ ผู้ซื้อมีสิทธิ์ฟ้องปรปักษ์ ให้ได้้ที่ดิน4ไร่หรือไม่

โดยคุณ หอมไกร 8 ธ.ค. 2557, 16:44

ความคิดเห็นที่ 3

 หากเป็น กรณีที่ เราเป็นผู้ซื้อที่ดินมาจากเจ้าของที่ดิน แต่เป็นเพียงการทำสัญญาซื้อขายกันเองไม่ได้ไปจดทะเบียน ณ สนง.ที่ดิน อีกทั้งที่ดินเเปลงนี้ ก็เป็นที่ดินจัดสรร ให้กับนิคมสร้างตนเอง  ต่อมาเมื่อเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นคนขาย ตายลงไป  นับถึงตอนนี้เกินระยะเวลา 10 ปี แล้ว ปรากฎว่า คนซื้อต้องการไปจดทะเบียนเปลี่ยนเเปลงสิทธิในที่ดินแปลงนี้ ปรากฎว่า จนท. ไม่ยอม อ้างว่าต้องให้ทายาทของคนตาย  มายืนยัน และดำเนินการจดเปลี่ยนแปลงสิทธิให้  เช่นนี้ หากเราไม่สามารถสืบเสาะหาทายาทที่ยังอยู่ได้  เช่นนี้เราสามาถยื่นร้องขอครอบครอง ปรปักษ์ ได้มั้ยค่ะ

โดยคุณ พัชริน วงศ์กิตติ 21 ต.ค. 2557, 10:36

ตอบความคิดเห็นที่ 3

หากขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวมีโฉนดแล้ว ผู้ซื้อก็อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ได้หากตนได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินนับแต่เวลาซื้อขายนั้น

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 21 พ.ย. 2557, 16:01

ความคิดเห็นที่ 2

พยานหลักฐานใดก็ตามที่สามารถนำสืบสนับสนุนข้ออ้างว่าตนได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินผู้อื่นโดยการครอบครองตามความ ป.พ.พ.มาตรา 1382 ผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งดังกล่าวเมื่อมีความประสงค์ที่จะอ้างอิงเอกสารฉบับใดหรือคำเบิกความของพยานคนใดก็สามารถนำสืบเพื่อเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างของตนได้ด้วยการยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88,90 ดังนั้น ไม่ว่าภาพถ่ายการเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน และพยานบุคคลใดที่ได้รู้เห็นการเข้าครอบครองดังกล่าว ผู้ร้องก็สามารถนำมาสืบกล่าวอ้างเป็นพยานหลักฐานของตนได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 18 มิ.ย. 2556, 14:47

ความคิดเห็นที่ 1

 หลักฐาน  ได้แก่โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน  ของสำนักงานที่ดิน  พยานบุคคลเช่น  ผู้นำท้องถิ่น (กำนัน   ผู้ใหญ่บ้าน)  เจ้าของที่ดินข้างเคียงทุกคน  ที่พร้อมจะให้ปากคำที่เป็นประโยชน์่ต่อคุณ...และต้องมีข้อเท็จจริงว่า  ได้ครอบครองที่ดินแปลงนี้ ในฐานะเจ้าของ (ไม่ใช่ผู้เช่า  หรือครอบครองแทนเจ้าของ) และเป็นการครอบครอง  โดยสงบ  โดยเปิดเผย เป็นเวลา 10 ปี   ก็เข้าทำนองไปแย่งชิงการครอบครองของเจ้าของ  จึงจะอ้างการครอบครองปรปักษ์ได้ และต้องร้องศาลเท่านั้น ซึ่งคงไม่ใช่เรื่อง่ายนัก  คงต้องมีทนายความช่วยเหลือ ...................การเจรจาประนีประนอม คือทางออกที่ดีที่สุด ครับ.....แนวคำพิพากษาศาลฎีกา...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2552
 
           การครอบครองโดยปรปักษ์นั้น มิใช่เพียงแต่ยึดถือเพื่อตนเองอย่างสิทธิครอบครองเท่านั้น ยังจะต้องมีการยึดถือครอบครองด้วยเจตนาจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นด้วย ส่วนจะมีเจตนาเป็นเจ้าของหรือไม่ซึ่งเป็นเรื่องอยู่ภายในจิตใจ ต้องอาศัยพฤติการณ์ต่างๆ แห่งการยึดถือครอบครองมาประกอบว่าพอจะเป็นการยึดถือครอบครองอย่างเป็นเจ้าของได้หรือไม่ สำหรับการครอบครองที่ดินพิพาทของ ม. ย. และจำเลย ก่อนวันที่ 8 สิงหาคม 2509 ไม่ได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่มีเอกสารสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ กรณีจึงรับฟังได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ ส่วนการครอบครองนับแต่วันที่ดินพิพาทมีโฉนดที่ดินแล้ว ก็ไม่ปรากฏถึงพฤติการณ์แห่งการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยว่ามีเจตนาเป็นเจ้าของแต่อย่างใด เนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้ครอบครองเคยแสดงออก เช่น หวงกันมิให้บุคคลอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวหรือดูแลรักษาที่ดินพิพาทไว้เพื่อประโยชน์แห่งตนและปฏิเสธต่อการอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของต่อบุคคลอื่นเป็นต้น ดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงไม่เป็นการครอบครองปรปักษ์ที่ดินของโจทก์
 
....คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2641/2550
 
นายอยู่ สุสัณพลูทอง      โจทก์
 
นางฉลวย แสนทวี           จำเลย
 
ป.พ.พ. มาตรา 1382
 
          การครอบครองที่ดินโดยมีเจตนาเป็นเจ้าของ แม้จะเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเอง ก็ถือเป็นการครอบครองที่สามารถนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ได้ มิใช่นับแต่ที่จำเลยรู้ว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองนั้นเป็นที่ดินของโจทก์เพราะถือว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว
 
________________________________
 
          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 4659 เนื้อที่ 25 ไร่ 40 ตารางวา โดยโจทก์และนางมาลี สุสัณพลูทอง ภริยาโจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2515 ส่วนจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 41 เนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2538 โจทก์ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินของโจทก์ จำเลยยื่นคำคัดค้านว่าโจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา ต่อมาวันที่ 8 สิงหาคม 2539 เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครปฐมเรียกโจทก์และจำเลยไปไกล่เกลี่ย แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลย เป็นการออกเอกสารสิทธิในที่ดินโดยคลาดเคลื่อนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อประมาณเดือนเมษายน 2498 นางพวง แซ่ลี้ มารดาจำเลย นายประเสริฐ เบ็ญจลักษณ์ และนางลูกจันทร์ เชาวสกู ร่วมกันยื่นแบบการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เลขที่ 36 เนื้อที่ 14 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา ต่อมาวันที่ 18 ธันวาคม 2522 นางพวงกับพวกร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าทำประโยชน์ในที่ดินโดยทำไร่ทั้งแปลงเพื่อขอให้นายอำเภอเมืองนครปฐมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ นายอำเภอเมืองนครปฐมหลงเชื่อจึงออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 36 ให้แก่นางพวงกับพวก ซึ่งความจริงแล้วนางพวงกับพวกไม่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ดังกล่าว ต่อมานางพวงกับพวกได้ขอแบ่งแยกที่ดิน โดยด้านทิศตะวันออกเป็นของนายประเสริฐ เนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา แปลงที่ 2 เป็นของนางพวง เนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา คือที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 41 และแปลงคงเหลือด้านทิศตะวันตกเป็นของนางลูกจันทร์เนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา ต่อมาเมื่อนางพวงถึงแก่ความตายจำเลยมีชื่อเป็นผู้ครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 41 ในฐานะผู้จัดการมรดกและฐานะทายาทโดยธรรมของนางพวง แต่จำเลยก็มิได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน การที่นางพวงกับพวกแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 41 ทับที่ดินบางส่วนของโจทก์ คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา ขอให้พิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 4659 เลขที่ 114 ตำบลมาบแค อำเภอเมืองนครปฐม (พระปฐมเจดีย์) จังหวัดนครปฐม ส่วนที่ถูกที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 41 ตำบลมาบแค อำเภอเมืองนครฐม จังหวัดนครปฐม ออกทับเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เพียงผู้เดียว ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง ให้จำเลยไปแก้ไขหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 41 ต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครปฐมให้ถูกต้องตามคำขอ หากจำเลยไม่ไปดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย
 
          จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยรับว่าเป็นเจ้าของและครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 41 โดยรับมรดกมาจากนางพวง เบ็ญจลักษณ์ หรือแซ่ลี้ ผู้เป็นมารดา โดยเดิมที่ดินดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2495 มารดาจำเลยนายประเสริฐ เบ็ญจลักษณ์ และนางลูกจันทร์ เชาวสกู ได้ร่วมกันยื่นคำขอออกเอกสารสิทธิในที่ดินเป็นแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เลขที่ 36/2498 และต่อมาวันที่ 18 ธันวาคม 2522 มารดาจำเลยกับพวกก็ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวและแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 3 แปลง มารดาจำเลยกับพวกไม่เคยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จในการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพราะได้ครอบครองทำประโยชน์อยู่จริง ทั้งโจทก์เองก็เป็นพยานในการไต่สวนการทำประโยชน์และมาระวังแนวเขตที่ดินให้มารดาจำเลยกับพวกด้วย ต่อมาวันที่ 9 มิถุนายน 2538 โจทก์ขอรังวัดสอบเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 4659 โจทก์และจำเลยจึงทราบว่าที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 41 ทางด้านทิศเหนือคิดเป็นเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา ความจริงแล้วเป็นที่ดินในโฉนดเลขที่ 4659 ของโจทก์บางส่วนทางด้านทิศตะวันตก การที่จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์โดยสำคัญผิดว่าเป็นที่ดินของตนเองมาโดยตลอด โดยสงบ เปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวของโจทก์เนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา เฉพาะส่วนที่จำเลยครอบครองตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมาย
 
          โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งทำนองเดียวกับคำฟ้อง ขอให้ยกฟ้องแย้ง
 
          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 4659 เลขที่ดิน 114 ตำบลมาบแค อำเภอเมืองนครปฐม (พระปฐมเจดีย์) จังหวัดนครปฐม เฉพาะส่วนทางด้านทิศตะวันตกที่จำเลยครอบครองอยู่เนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยด้วยการครอบครองปรปักษ์ ห้ามโจทก์เข้าเกี่ยวข้อง ให้ยกฟ้องโจทก์ ให้โจทก์ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท
 
          โจทก์อุทธรณ์
 
          ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนจำเลย
 
          โจทก์ฎีกา
 
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า จำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทหรือไม่ จำเลยนำสืบพยานยืนยันได้ความว่า จำเลยเกิดและโตในที่ดินพิพาทและช่วยนางพวงทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท นางพวงทำประโยชน์โดยมีการปลูกต้นมะพร้าว มะม่วงและขนุน ซึ่งโจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านในเรื่องการทำประโยชน์ในที่ดินไว้หลายประการ คือ ประการแรก โจทก์รับว่าได้ให้นางช้าน้องสาวของโจทก์เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกต้นชะอมไว้ตามภาพถ่ายหมาย ล.17 ซึ่งแนวต้นมะพร้าวตามภาพถ่ายดังกล่าวคือที่ดินของนางพวง นายประเสริฐ และนางลูกจันทร์ ประการต่อมาโจทก์รับว่าบริเวณที่ดินพิพาทที่นางลูกจันทร์และจำเลยรุกล้ำเขตโฉนดของโจทก์นั้นมีต้นมะพร้าวและต้นมะม่วงขึ้นอยู่ไม่ทราบว่าฝ่ายจำเลยหรือนายชุ้น นิระปัณณาหรือแซ่เอี้ยว เป็นผู้ปลูกไว้ ประการต่อมาโจทก์รับว่าเขตที่ดินของนางลูกจันทร์และจำเลยรุกล้ำเขตโฉนดของโจทก์นั้น บริเวณแนวต้นมะพร้าวตามภาพถ่ายหมาย ล.17 คือเส้นแบ่งระหว่างที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 4659 ทางด้านทิศตะวันตกกับที่ดินของนางลูกจันทร์และจำเลย ประการต่อมาโจทก์รับว่าในการรังวัดสอบเขตที่ดินของโจทก์จึงทราบว่าที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 41 ซึ่งเป็นของจำเลยทับที่ดินของโจทก์บางส่วน ประการต่อมาโจทก์รับว่า ขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 4659 นั้น บุตรชายของนายซุ้นอายุประมาณ 10 ปี เป็นผู้นำโจทก์ไปดูแนวเขตของที่ดิน โดยทางทิศตะวันตกของที่ดินติดกับที่ดินของนายเลี้ยงและนางบ๊วย โดยขณะนั้นจะมีร่องน้ำเล็ก ๆ กั้นเป็นแนวเขต ซึ่งนางช้าไปปลูกต้นชะอมจนชนร่องน้ำดังกล่าว ดังนี้ เห็นว่า คำเบิกความของโจทก์เจือสมพยานจำเลยหลายประการ น่าเชื่อว่านางพวงและจำเลยเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาเป็นเวลานานมากแล้ว จนกระทั่งเมื่อโจทก์ไปทำการรังวัดเข้าไปในที่ดินพิพาท จำเลยจึงได้คัดค้านว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นการครอบครองทับที่ดินในเขตโฉนดของโจทก์ ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยไม่ได้ขอให้ศาลเดินเผชิญสืบที่ดินพิพาทก็ดีจำเลยเพิ่งจะเข้าไปปลูกต้นไม้ในที่ดินพิพาทก็ดี ไม่มีน้ำหนักที่หักล้างพยานจำเลยได้ และที่โจทก์ฎีกาเรื่องการรับรองแนวเขตที่ดินก็ไม่มีสาระสำคัญแต่อย่างใด เพราะในชั้นนี้ไม่ได้มีการโต้แย้งเรื่องแนวเขตแล้วเพราะจำเลยยอมรับว่าที่ดินพิพาทอยู่ในแนวเขตที่ดินของโจทก์ โดยสรุปแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ฟังได้ว่า นางพวงและจำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ก่อนปี 2522 แล้ว และการนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินของจำเลยก็สามารถนับต่อจากนางพวงได้ การครอบครองของโจทก์จึงมีระยะเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
 
          ปัญหาประการต่อไปเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าการที่จำเลยครอบครองที่ดินโดยเข้าใจว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยเอง ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายได้หรือไม่นั้น เห็นว่า การครอบครองที่ดินโดยมีเจตนาเป็นเจ้าของ แม้จะเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเอง ก็ถือเป็นการครอบครองที่สามารถนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ได้ มิใช่นับแต่ปี 2538 ที่จำเลยรู้ว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองนั้นเป็นที่ดินของโจทก์เพราะถือว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน”
 
          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
 
( สมศักดิ์ จันทรา - ชาลี ทัพภวิมล - ชูเกียรติ ตันทวีวงศ์ )

โดยคุณ 18 มิ.ย. 2556, 13:35

แสดงความเห็น