คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี|คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี

คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี

  • Defalut Image

ช่วงนี้มีข่าวกรณีลูกมหาเศรษฐี บอส อยู่วิทยา หลุดคดี ขับรถชนตำรวจตาย

บทความวันที่ 30 ก.ค. 2563, 13:51

มีผู้อ่านทั้งหมด 1005 ครั้ง


คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี

          ช่วงนี้มีข่าวกรณีลูกมหาเศรษฐี บอส อยู่วิทยา หลุดคดี ขับรถชนตำรวจตาย ท้องที่ สน.ทองหล่อ และรองอัยการสูงสุดมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี ผู้บัญชาตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ไม่ทำความเห็นแย้ง ทำให้คดีอาญาจบไป พี่น้องประชาชนสอบถามมาว่า คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการมีกี่กรณี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การสั่งไม่ฟ้องคดี ที่เป็นคำสั่งเด็ดขาดมี 4 กรณี  
          1.อัยการสูดสุดสั่งไม่ฟ้องคดีที่เกิดขึ้นนอกราชอาญาจักร ตามมาตรา 20
          2.อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องคดีวิสามัญฆาตกรรม ตามมาตรา 143 วรรคท้าย
          3.อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องเรื่องอื่นๆ เช่น คดีที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน  
          4.พนักงานอัยการ (ทั่วไป) สั่งไม่ฟ้องคดีและไม่มีความเห็นแย้งจากบุคคลตามมาตรา 145 หรือมาตรา 145/1 หรือมีความเห็นแย้งแล้ว แต่อัยการสูงสุดชี้ขาดไม่ฟ้องคดีตามความเห็นของพนักงานอัยการ

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่เคยผ่านมา
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2544

               แม้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจะเคยมีความเห็นว่าไม่ควรดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่ แต่ความเห็นของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามดังกล่าวยังไม่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 และมาตรา 146 ดังนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 147 ที่ห้ามมิให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีก
            จำเลยที่ 4 มีอาชีพเป็นพ่อค้าขายเครื่องประดับประเภทเพชร พลอย เงิน ทอง นาก และนาฬิกา ได้รับใบอนุญาตให้ค้าของเก่าจำเลยที่ 4 ซื้อทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการมาจากจำเลยที่ 3เป็นมูลค่านับสิบล้านบาท แสดงว่าจำเลยที่ 4 ย่อมทราบดีว่าทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและหาซื้อไม่ได้ในท้องตลาดทั่วไป และย่อมทราบดีว่าทรัพย์สินของกลางได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย พฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 4 ทราบว่าทรัพย์สินของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357 วรรคแรก

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4243/2550
                เหตุที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในคดีแรกเนื่องจากมีการแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์โคกสูงไม่ครบตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ในการที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลยเพราะเหตุมีการแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทไม่ครบถ้วนตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ โดยแจ้งเพียงครั้งเดียวนั้น พนักงานอัยการยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาสาระสำคัญแห่งคดี อีกทั้งการที่จำเลยยังคงยึดถือครอบครองอยู่ในที่ดินพิพาท จึงเป็นความผิดใหม่ที่ต่อเนื่องกันมา ทางอำเภอจึงได้แจ้งความร้องทุกข์และมีการสอบสวนดำเนินคดีใหม่และแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทให้ครบถ้วนตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ การฟ้องคดีนี้จึงไม่ขัดต่อมาตรา 147 แห่ง ป.วิ.อ. แต่อย่างใด

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8444/2550
           ร้อยตำรวจเอก ป. เป็นพนักงานสอบสวนในคดีแรกซึ่งเป็นการสอบสวน ท. กับพวกรวม 5 คน และจำเลยเฉพาะในความผิดที่เกิดเหตุเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2534 เวลากลางคืน และทรัพย์ที่ถูกประทุษร้าย 3 รายการเท่านั้น ส่วนความผิดที่ ท. กับพวกให้การรับสารภาพว่าก่อนเกิดเหตุในคดีดังกล่าว ท. กับพวกเคยลักทรัพย์ของโจทก์ร่วมมาแล้วหลายครั้งและได้นำไปขายที่ร้านของจำเลยนั้น ร้อยตำรวจเอก ป. ยังมิได้ทำการสอบสวน ฉะนั้น แม้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในบันทึกการจับกุม ท. กับพวก กับบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนในสำนวนการสอบสวนคดีแรกจะมีรายละเอียดพาดพิงถึงการลักทรัพย์ 17 ครั้ง ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม 2534 ถึงวันที่ 24 กันยายน 2534 อยู่ด้วยดังที่จำเลยอ้างก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ได้จากการสอบสวนเมื่อพนักงานสอบสวนยังมิได้ตั้งข้อหาและทำการสอบสวนในรายละเอียดดังกล่าว จึงยังถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในเรื่องดังกล่าวแล้ว อีกทั้งการลักทรัพย์ในแต่ละครั้งและการนำไปจำหน่ายให้แก่ผู้รับซื้อของโจรในแต่ละครั้งนั้นก็เป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน การที่พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนในความผิดเฉพาะกรรมใดวาระใดจะถือว่าได้สอบสวนในความผิดในกรรมอื่นและวาระอื่นด้วยหาได้ไม่ เมื่อคดีที่ร้อยตำรวจเอก ป. สอบสวนจำเลยในความผิดฐานรับของโจรเพื่อค้ากำไรและต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลยนั้นเป็นการสอบสวนเฉพาะความผิดที่เหตุเกิดในวันที่ 24 กันยายน 2534 และทรัพย์ที่ถูกประทุษร้ายในคดีดังกล่าวก็มีเพียงทรัพย์ถูกประทุษร้าย 3 รายการเท่านั้น ส่วนความผิดคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2534 ถึงวันที่ 23 กันยายน 2534 และทรัพย์ที่ถูกประทุษร้ายเป็นทรัพย์ต่างรายกัน การสอบสวนในคดีนี้จึงเป็นการสอบสวนโดยชอบ พนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
            หากสำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นว่าคำสั่งของอัยการที่ออกคำสั่งไม่ฟ้องไม่ถูกต้อง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ช่วยผู้บัญชาตำรวจแห่งชาติ  หรือผู้บัญชาตำรวจภูธรภาคก็มีสิทธิที่จะโต้แย้งได้ แต่เป็นดุลพินิจว่าจะโต้แย้งหรือไม่ หากเห็นด้วยกับคำสั่งไม่ฟ้องก็ไม่ต้องโต้แย้ง เหมือนกับคดีของนายบอส อยู่วิทยา

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก