เจ้าของกิจการหากค้างค่าไฟฟ้าการไฟฟ้าต้องฟ้องภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันผิดนัด|เจ้าของกิจการหากค้างค่าไฟฟ้าการไฟฟ้าต้องฟ้องภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันผิดนัด

เจ้าของกิจการหากค้างค่าไฟฟ้าการไฟฟ้าต้องฟ้องภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันผิดนัด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เจ้าของกิจการหากค้างค่าไฟฟ้าการไฟฟ้าต้องฟ้องภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันผิดนัด

  • Defalut Image

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8462/2542

บทความวันที่ 2 ม.ค. 2562, 13:43

มีผู้อ่านทั้งหมด 4571 ครั้ง


เจ้าของกิจการหากค้างค่าไฟฟ้าการไฟฟ้าต้องฟ้องภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันผิดนัด

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8462/2542
              พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มาตรา 6 บัญญัติว่า"ให้จัดตั้งการไฟฟ้าขึ้นเรียกว่า "การไฟฟ้านครหลวง" มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้(2) จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และ (3) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์แก่การไฟฟ้านครหลวง"จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการไฟฟ้านครหลวงหรือโจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" ตามมาตรา 165(1) เดิมเป็นคำว่า "ผู้ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้น โจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 193/34(1) การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปจากจำเลยจึงเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าการงานที่ได้ทำ ย่อมมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34(1)
            การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2531 ถึงเดือนมกราคม 2533 ซึ่งขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ยังไม่ได้ออกมาใช้บังคับ หากโจทก์จะฟ้องคดีตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าได้ซึ่งตามมาตรา 165(1) เดิม ไม่ถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้า จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165(1) ดังกล่าว แต่โจทก์อาจฟ้องได้ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งในกรณีเช่นนี้มีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 มาตรา 14 บัญญัติว่า "บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับวันที่ 8 มิถุนายน 2535)หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิมให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" เมื่อกำหนดอายุความตามมาตรา 164 เดิมแตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความตามมาตรา 193/34(1)ที่ได้ตรวจชำระใหม่ การฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องบังคับตามกำหนดอายุความ10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยังไม่สิ้นสุดลง คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
          แม้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 บกพร่องโดยเดินช้าผิดปกติเนื่องจากความผิดพลาดของพนักงานของโจทก์ผู้ติดตั้งโดยฝ่ายจำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เป็นเหตุให้แสดงค่าน้อยกว่าจำนวนกระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ไปจริงก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 สัญญาต่อโจทก์ว่าจะชำระค่าไฟฟ้าตามอัตราที่โจทก์กำหนดตลอดไป ซึ่งแปลความหมายได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริง จำเลยที่ 1 จึงยังคงมีหน้าที่ตามที่ได้สัญญาไว้ดังกล่าวที่ต้องชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริง
          ธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำนวนรวม 290,000 บาท หลังจากครบอายุหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้ว ได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันต่อมาตามลำดับ โดยมีข้อความอ้างถึงหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับเดิมวงเงินค้ำประกันก็เป็นไปตามข้อความและเงื่อนไขอื่น ๆ ในหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2ขอต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันส่วนที่ปรากฏว่าการต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ต้องปิดอากรแสตมป์ทุกฉบับและมีการเก็บค่าธรรมเนียมทุกครั้งด้วย ก็เป็นเรื่องของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่กำหนดให้กระทำ จะให้แปลงความหมายเลยไปถึงว่าจำเลยที่ 2ต้องรับผิดในวงเงินทุกฉบับรวมกันอันขัดต่อข้อความในหนังสือสัญญาไม่ได้
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6364/2541
             อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาเพียงแต่โต้แย้งในปัญหาข้อกฎหมายว่า จากข้อเท็จจริงที่ยุติดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย นอกจากโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจ เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2506 มาตรา 6 แล้ว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" ตามมาตรา 165(1) เดิม เป็นคำว่า"ผู้ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้น ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้า หนี้ค่ากระแสไฟฟ้าตามใบเสร็จรับเงินฉบับพิพาทได้มีการ จดหน่วยกระแสไฟฟ้าครั้งสุดท้ายวันที่ 12 เมษายน 2527 ซึ่งโจทก์อาจทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันดังกล่าว อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2527 เป็นต้นมา โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่ากระแสไฟฟ้าอันเป็น การเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2537 ย่อมเกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าตามเอกสารดังกล่าวจึงขาดอายุความ
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8887/2543
             การไฟฟ้านครหลวงโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(1) โจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าเป็นค่าสินค้าเกินกำหนด2 ปี จึงขาดอายุความ
4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2547
             โจทก์เป็นผู้ประกอบการกิจการสาธารณูปโภคตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้านครหลวงฯ โจทก์มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการดำเนินการตามวัตถุประสงค์จะได้รับเงินงบประมาณแผ่นดินเป็นเงินทุนตามมาตรา 12 (3) ด้วยหรือไม่ เป็นความสัมพันธ์ของโจทก์กับรัฐ ส่วนการที่ทรัพย์สินของโจทก์ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามมาตรา 14 เป็นนิติสัมพันธ์ของโจทก์ฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่อยู่เหนือเอกชนเฉพาะการบังคับคดีเอากับทรัพย์สินของโจทก์เท่านั้น สำหรับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการจัดหาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนของโจทก์นั้น เป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันโดยเฉพาะคดีนี้เป็นการฟ้องเรียกร้องหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าตามวัตถุประสงค์ โจทก์จึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) เมื่อจำเลยผิดนัดซึ่งโจทก์อาจทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2540 อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2540 คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้ชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้ผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าตามปกติ อันเป็นการเรียกร้องค่าการงานที่ได้ทำให้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2543 ย่อมเกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าตามฟ้องจึงขาดอายุความ
5. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6476/2547
            โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. การประปานครหลวง พ.ศ. 2510 ซึ่งตาม พ.ร.บ. การประปานครหลวง พ.ศ. 2510 มาตรา 6 บัญญัติว่า "ให้จัดตั้งการประปาขึ้นเรียกว่า "การประปานครหลวง" มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (2) ผลิต จัดส่งและจำหน่ายน้ำประปาในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ? (3) ดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับหรือเป็นประโยชน์แก่การประปา" จากบทบัญญัติดังกล่าว เห็นได้ว่าโจทก์มีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายน้ำประปา ทั้งดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการประปาด้วย ซึ่งคำว่า "ผู้ประกอบการค้า" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) เป็นถ้อยคำที่เปลี่ยนแปลงจากถ้อยคำใน ป.พ.พ. มาตรา 165 (1) เดิม ที่ใช้คำว่า "พ่อค้า" ดังนั้น คำว่า "ผู้ประกอบการค้า" จึงมีความหมายกว้างกว่าคำว่า "พ่อค้า" แม้โจทก์จะไม่ใช่พ่อค้าแต่ก็ถือว่าเป็นผู้ประกอบการค้าตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แล้ว เมื่อคดีนี้มีการจดหน่วยน้ำประปาหลายครั้ง โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าน้ำประปาได้ตั้งแต่วันที่ทำการจดหน่วยน้ำประปาในแต่ละครั้งตามที่ปรากฏใบเสร็จรับเงินแต่ละฉบับ แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าน้ำประปาอันเป็นการเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำเมื่อเกินกำหนด 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
6. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8397/2553
           โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า แต่คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยอันเป็นธุรกิจทางการค้าตามปกติของโจทก์ ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาการใช้ไฟฟ้า เป็นเหตุให้เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้งไว้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้จำเลยมีการสลับสายควบคุม ทำให้วัดกระแสไฟฟ้าน้อยลงกว่าปกติ การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้าที่ขาดหายไปเพิ่มอีกนั้น หาใช่เป็นการเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยค้างชำระไม่ แต่เป็นการฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการที่จำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โดยถือเอาค่ากระแสไฟฟ้าที่ขาดหายไปมาเป็นค่าสินไหมทดแทน จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ที่ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในอายุความ 2 ปี เพราะมิใช่กรณีโจทก์ผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเรียกเอาค่ากระแสไฟฟ้าแต่ต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตามมาตรา 193/30
7. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2553
             โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าไฟฟ้า เพราะเหตุเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเสียหายหรือแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริง จึงเป็นการฟ้องให้ชำระหนี้ให้ถูกต้องหาใช่ฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานลาภมิควรได้ เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นกิจการสาธารณูปโภค โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าที่จะต้องฟ้องคดีภายใน 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่เป็นการฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าส่วนที่ขาดเพราะเหตุเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าบกพร่องซึ่งมิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีจึงไม่อยู่ภายใต้กำหนดอายุความฐานลาภมิควรได้
            การที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเสียหายหรือแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริงเนื่องจากมีการตัดสายควบคุมกระแสไฟฟ้าเส้นสีเขียวที่คอสายในกล่องหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า แต่ไม่ได้ความว่าเป็นการกระทำของผู้ใด ทำให้การชำระค่าไฟฟ้าของจำเลยไม่ถูกต้อง เมื่อจำเลยเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าและได้ประโยชน์ในการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าตั้งแต่เริ่มแรกใช้ไฟฟ้าตลอดมา แม้โจทก์จะมิได้ตรวจสอบเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าในเวลาอันสมควรก็ตาม แต่จำเลยได้ให้สัญญาในแบบขอใช้ไฟฟ้าว่า จำเลยยินยอมชำระเงินค่าไฟฟ้า ค่าเสียหาย เบี้ยปรับตามที่การไฟฟ้านครหลวงเรียกเก็บในกรณีที่มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเสียหายหรือแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริงตามแบบขอใช้ไฟฟ้า จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าไฟฟ้าให้ถูกต้องตามข้อสัญญาดังกล่าว

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก