ปัญหาการจ้างผู้รับเหมาในการก่อสร้างบ้านหรืออาคาร|ปัญหาการจ้างผู้รับเหมาในการก่อสร้างบ้านหรืออาคาร

ปัญหาการจ้างผู้รับเหมาในการก่อสร้างบ้านหรืออาคาร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ปัญหาการจ้างผู้รับเหมาในการก่อสร้างบ้านหรืออาคาร

ปัจจุบันเศรษฐกิจตกต่ำ มีกรณีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องหนี้สินเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการขาดสภาพคล่องของนักธุรกิจ

บทความวันที่ 15 มี.ค. 2560, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 8630 ครั้ง


 ปัญหาการจ้างผู้รับเหมาในการก่อสร้างบ้านหรืออาคาร

 

ปัจจุบันเศรษฐกิจตกต่ำ มีกรณีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องหนี้สินเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการขาดสภาพคล่องของนักธุรกิจ แรงงานขาดแคลนต้องใช้แรงงานต่างด้าว แต่ก็ยังมีความจำเป็นในการที่จะต้องใช้แรงงานต่างด้าว เนื่องจากคนไทยไม่ยอมทำงานที่ลำบาก ได้เงินน้อย การจ้างผู้รับเหมาสร้างบ้านหรือสร้างโรงงานหรืออาคารมีปัญหาในทางปฏิบัติเป็นอย่างมาก ท่านผู้อ่านได้สอบถามมาเกี่ยวกับเรื่องปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาในการจ้างผู้รับเหมา ผมจึงได้รวบรวมประสบการณ์เกี่ยวกับคดีรับเหมาก่อสร้างของผมเองมาเป็นข้อคิดและข้อควรระวังในการจ้างผู้เหมาเป็นรายประเด็น ดังนี้
1.สัญญาจ้างผู้รับเหมา ควรว่าจ้างให้ทนายความเป็นผู้ดำเนินการร่างสัญญาเพื่อความรอบคอบ มิให้มีการก่อสร้างผิดแบบ ข้ามงวดงาน หรือผิดสัญญา หรือทิ้งงาน เพราะทนายความจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างเป็นอย่างดี ในสัญญาจ้างเหมาควรจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่หน้าที่ของผู้รับเหมาก่อน ส่วนสิทธิของผู้รับเหมาในการที่จะได้รับค่าจ้างนั้นต้องเกิดขึ้นหลังจากที่ได้ทำหน้าที่ของตนเองก่อนจึงจะเกิดสิทธิในการรับเงินค่าจ้าง ยกตัวอย่างเช่น ต้องเริ่มทำงานทันทีนับแต่ลงนามในสัญญา และจะต้องนำคนงานเข้าสถานที่ก่อสร้างพร้อมทั้งอุปกรณ์และสัมภาระที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงาน ผู้ว่าจ้างจึงจะมีหน้าที่ในการชำระค่าจ้าง เป็นต้น เพราะถ้าในสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมากำหนดให้ผู้ว่าจ้างจ่ายเงินก่อนทันทีเมื่อลงนามในสัญญา ผู้รับเหมาบางรายเมื่อได้รับเงินแล้วก็ทิ้งงานหลบหนีไปเลย ทำให้ผู้ว่าจ้างเสียเปรียบ 
2.ในสัญญารับเหมาก่อสร้างควรระบุปัญหาต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการทำงานให้ชัดแจ้งและกำหนดหน้าที่และความรับผิดของผู้รับเหมากรณีกระทำการฝ่าฝืนในสิ่งที่ผู้ว่าจ้างมีความรู้สึกวิตกกังวล เช่น การใช้คนงานจะต้องเป็นคนงานที่มีการศึกษาพอสมควร มีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับงานช่างเป็นอย่างดีไม่ใช่เอาคนงานที่เป็นชาวบ้านไม่มีความรู้ด้านงานช่างมาทำงาน ทำให้ก่อสร้างผิดแบบหรือผลงานออกมาต่ำกว่ามาตรฐานอันกระทบต่อความไม่ปลอดภัยในการอยู่อาศัยรวมทั้งทำให้การก่อสร้างล่าช้าและเกิดการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ 
3.การบอกเลิกสัญญาหรือการกำหนดให้สัญญาสิ้นสุดโดยอัตโนมัติไม่ต้องแจ้งผู้รับเหมาล่วงหน้า ในกรณีผิดสัญญาที่เป็นสาระสำคัญ ควรเขียนในสัญญาให้ชัดแจ้งว่าผู้ว่าจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้ทันทีหรือให้สัญญาเป็นอันสิ้นสุดทันที เช่น ผู้รับเหมานำคนงานต่างด้าวที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศเข้ามาในสถานที่ก่อสร้างและถูกตำรวจจับ เป็นต้น ควรกำหนดในสัญญาให้สัญญาสิ้นสุดโดยทันทีเพราะถือเป็นเรื่องร้ายแรง เพราะอาจทำให้ผู้ว่าจ้างต้องได้รับโทษทางอาญา หากรู้เห็นเป็นใจหรือในกรณีทำงานก่อสร้างช้ามากพิจารณาแล้วไม่น่าจะเสร็จทันกำหนด ก็ควรจะกำหนดให้ผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาได้ทันทีโดยไม่ต้องให้เวลาพอสมควร
4.กรณีทิ้งงาน ซึ่งปัจจุบันผู้รับเหมาทิ้งงานมีเป็นจำนวนมาก ปัญหาส่วนใหญ่มาจากขาดสภาพคล่องทางการเงิน เอาเงินค่าจ้างไปใช้อย่างอื่น ไม่ได้เอาเงินไปใช้ในการซื้อวัสดุก่อสร้าง ดังนั้น สัญญาในการว่าจ้างผู้รับเหมาควรแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่เป็นค่าจ้างหรือส่วนที่เป็นสัมภาระหรือวัสดุก่อสร้าง ถ้าผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาเองก็จะช่วยป้องกันมิให้ผู้รับเหมาเอาเงินไปใช้นอกวัตถุประสงค์ นอกจากนี้การที่ผู้รับเหมาไม่เข้ามาทำงานในบริเวณสถานที่ก่อสร้าง เช่น 7 วัน หรือ 15 วัน  ปล่อยสถานที่ก่อสร้างทิ้งร้างไว้ ก็ควรจะกำหนดในสัญญาให้ถือว่าเป็นการทิ้งงาน ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างจัดหาผู้รับเหมารายอื่นเข้ามาทำงานต่อและชดใช้ค่าเสียหาย เพราะในทางปฏิบัติเมื่อผู้รับเหมาทิ้งงานผู้ว่าจ้างต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้รับเหมาอื่นมาสำรวจมูลค่างานที่ทำแล้วว่ามีมูลค่าเท่าใดและมีการก่อสร้างผิดแบบหรือไม่ถ้าจะสร้างต่อไปต้องใช้เงินเท่าใด เพื่อกำหนดค่าเสียหายในอนาคตต่อไป ถ้าสัญญารับเหมาก่อสร้างมีการกำหนดไว้ชัดแจ้งก็ไม่ต้องไปทะเลาะกันในชั้นศาล
5.การว่าจ้างก่อสร้างอาคารที่มีมูลค่าสูง ควรว่าจ้างวิศวกรโยธาที่มีจรรยาบรรณ ควบคุมการตรวจรับมอบงาน เพราะผู้ว่าจ้างไม่ได้มีความรู้ทางด้านงานสถาปัตยกรรม และงานวิศวกรรม หากรับมอบงานไปโดยมิได้อิดเอื้อนหรือโต้แย้งคัดค้านก็เท่ากับว่ายอมรับงานที่ชำรุดบกพร่องไป จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้รับเหมา เพราะถือเป็นความสมัครใจของผู้ว่าจ้างเองที่ไม่ปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง
6.ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับเหมาก่อสร้างซึ่งถือว่าเป็นสัญญาจ้างทำของ ให้ท่านผู้อ่านไปศึกษาจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ถึง มาตรา 607 
สุดท้ายนี้หวังว่าบทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างนะครับ เพราะผมได้นำประสบการณ์จริงมาถ่ายทอดผ่านบทความนี้ ไม่อยากให้ผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาต้องเป็นศัตรูกันและไม่อยากให้ผู้ว่าจ้างต้องเสียเงินหรือเสียรู้โดยไม่จำเป็น
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

หนูมีปัญหาเรื่อง สัญญาสิ้นสุด ผู้รับเหมาทิ้งงานแถมยังเตรียมทนายยื่นฟ้องเพื่อเรียกว่าค่าเสียหายส่วนที่ลงไปแล้ว ว่าเราไม่จ่ายค่างวด

หนูรบกวนขอเบอร์การติดต่อด้วยนะคะ  เพราะหนูไม่มีความรู้เรื่องกฏหมายและการก่อสร้าง  กลัวว่าจะถูกเอาเปรียบซ้ำแล้วซ้ำอีก

ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ กานต์ 21 เม.ย. 2560, 15:34

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก