เทคนิคการสังเกตลูกค้าว่าเป็นลูกค้าหรือมิจฉาชีพ|เทคนิคการสังเกตลูกค้าว่าเป็นลูกค้าหรือมิจฉาชีพ

เทคนิคการสังเกตลูกค้าว่าเป็นลูกค้าหรือมิจฉาชีพ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เทคนิคการสังเกตลูกค้าว่าเป็นลูกค้าหรือมิจฉาชีพ

ปัจจุบันมีพวกมิจฉาชีพแฝงตัวเป็นลูกค้ามาซื้อสินค้าและใช้บริการรวมทั้งการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินหรือจากเจ้าหนี้

บทความวันที่ 16 ต.ค. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3171 ครั้ง


 เทคนิคการสังเกตลูกค้าว่าเป็นลูกค้าหรือมิจฉาชีพ

 
ปัจจุบันมีพวกมิจฉาชีพแฝงตัวเป็นลูกค้ามาซื้อสินค้าและใช้บริการรวมทั้งการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินหรือจากเจ้าหนี้ หลังจากนั้นก็คดโกงและหลบหนีหายหน้าไป ทำให้เจ้าหนี้ไม่สามารถติดตามทวงถามได้ ทนายคลายทุกข์จึงขอให้ข้อสังเกตสำหรับพนักงานขายหรือพนักงานสินเชื่อ ที่มีหน้าที่ในการปล่อยสินเชื่อในการสังเกตพฤติกรรมผู้ที่จะมาขอสินเชื่อว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย ให้สังเกตพฤติกรรมดังต่อไปนี้
1.พวกที่แต่งตัวหรือใส่เครื่องประดับเกินฐานะ กลุ่มบุคคลเหล่านี้มักจะแต่งตัวดี ขับรถยนต์หรู ใช้กระเป๋าแบรนด์เนมราคาแพง เครื่องประดับเช่น แหวน สร้อยคอ จำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นของปลอมก็ได้ การแต่งตัวของกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้มักจะทำให้ผู้ขายสินค้าหรือเจ้าหนี้รู้สึกอุ่นใจ ดูมีฐานะ ไว้วางใจได้ จึงทำให้มีโอกาสถูกหลอกถูกโกงได้ ลูกค้าที่ดีควรจะแต่งตัวหรือใส่เครื่องประดับไม่เวอร์เกินจริง 
2.พวกที่พูดจาเวอร์มากหรือเวอร์เกินจริง เช่น อ้างว่าเป็นผู้รับเหมาโครงการใหญ่โตมูลค่าหลายพันล้าน รับงานไว้หลายที่ ถ้าให้สินเชื่อมีโอกาสที่จะใช้บริการกันอีกนาน บางรายมีเอกสารประกอบด้วยแต่ส่วนใหญ่มักเป็นสำเนาเอกสารซึ่งทำปลอมขึ้นมา ทำให้เจ้าหนี้หรือผู้ขายสินค้ารู้สึกสบายใจและอยากทำธุรกิจด้วยเพราะมองว่าเป็นผู้ที่มีศักยภาพและความสามารถในการชำระหนี้สูง แท้ที่จริงแล้วพวกเหล่านี้มักเป็นพวกที่ชอบหลอกลวงเสียเป็นส่วนใหญ่ 
3.พวกที่อ้างอิงคนใหญ่คนโต เพื่อให้คนขายสินค้าหรือเจ้าหนี้มีความเชื่อถือและมั่นใจมากขึ้น  เนื่องจากตัวเองไม่มีอะไรดีเลย ก็มักจะพูดถึงคนอื่นคนใหญ่คนโต นักการเมืองหรือนักธุรกิจ เพื่อให้น่าเกรงขาม บางรายมีภาพประกอบด้วย ถ่ายรูปร่วมกันในเฟซบุ๊ค บางรายนำมาเป็นอัลบั้มเพื่อโอ้อวด กลัวคู่ค้าไม่เชื่อถือ กลุ่มคนเหล่านี้เป็นกลุ่มที่ต้องระมัดระวังสูง เพราะมักจะเป็นพวก 18 มงกุฎเสียเป็นส่วนใหญ่ 
4.พวกที่ชอบสนิทกับคนง่าย เมื่อมาขอซื้อสินค้าหรือขอกู้เงิน ทำตัวเหมือนเป็นกันเอง ชอบเรียกชื่อเล่นไม่ชอบเรียกชื่อจริง คุ้นเคยกับบุคคลอื่นที่ไม่เคยรู้จักในเวลาอันสั้น มักจะสอบถามรายละเอียดของผู้ขายสินค้าหรือเจ้าหนี้ว่ารู้จักคนนี้ไหม เป็นเพื่อนกัน เรียนรุ่นเดียวกัน เป็นญาติกันหรือเป็นรุ่นพี่ โดยมักเตรียมการมาอย่างดีว่าคู่ค้าน่าจะรู้จักใครบ้างในวงการเดียวกัน แล้วนำมาอ้างสวมรอย พวกเหล่านี้จะทำให้คู่ค้าหรือผู้ขายสินค้าตายใจยอมให้สินเชื่อไป สุดท้ายก็เบี้ยวหนี้ 
5.พวกที่ซื้อขายสินค้ากับผู้ขายสินค้าแบบตกลงง่ายๆ ไม่สนใจรายละเอียด เช่น มาซื้อรถจักรยานยนต์ก็ไม่สนใจว่า รุ่นนี้เมื่อเทียบกับยี่ห้ออื่นที่มีขนาดเท่ากัน จะกินน้ำมันมากน้อยเพียงใด อัตราเร่งเป็นอย่างไร ความเร็วเท่าไหร่ อะไหล่แพงไหม ของแถมมีหรือไม่ รับประกันสินค้ากี่ปี ไม่สอบถามเลย มักตกลงง่ายๆยอมจ่ายเงินดาวน์สูงๆ จะได้รีบเอารถจักรยานยนต์ไป เพื่อนำไปขายต่อแล้วก็หนีเลย พวกนี้ก็พบมากในวงการซื้อขายรถจักรยานยนต์ ดังนั้น ผู้ให้สินเชื่อจะต้องระมัดระวังพวกซื้อสินค้าง่ายเกินไปในลักษณะเงินเชื่อหรือเงินผ่อน
6.พวกที่หลอกหรืออ้างตัวเป็นบุคคลอื่น เช่น อ้างว่าเป็นลูกนักการเมืองใหญ่ หรือเป็นหลานนักธุรกิจชื่อดังหรือหลานนายธนาคาร มีภาพมาแสดงประกอบ หรือทำเอกสารปลอม พวกนี้ก็เป็นอีกพวกหนึ่งที่ผู้ขายสินค้าหรือเจ้าหนี้ต้องระมัดระวังเพราะปัจจุบันพบเห็นบ่อยมาก
ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีฉ้อโกง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 341  ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 342  ถ้าในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทำ
      (1) แสดงตนเป็นคนอื่น หรือ
       (2) อาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกลวงซึ่งเป็นเด็ก หรืออาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอกลวง
        ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 343  ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
        ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา 342 อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ปัจจุบันหลายบริษัทก่อนให้สินเชื่อต้องพึ่งการดูดวง ดูโหงวเฮ้งของลูกค้าก่อนปล่อยสินเชื่อเพื่อความสบายใจ
 
 
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก