งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
ความระงับแห่งหนี้
มีหลายท่านที่เป็นแฟนคลับคอลัมน์ทนายคลายทุกข์ สอบถามมาเกี่ยวกับหนี้สินว่า เหตุที่ทำให้หนี้สินระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ระงับมีอะไรบ้าง และวิธีการที่จะทำให้หนี้ระงับต้องทำอย่างไรบ้าง ทนายคลายทุกข์จึงขออธิบายข้อกฎหมายว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป หมวดที่ 5 ได้มีการบัญญัติเกี่ยวกับความระงับแห่งหนี้ไว้เป็น 5 ส่วนด้วยกัน ดังนี้
1.การชำระหนี้
ถ้าลูกหนี้ชำระต้นเงิน ดอกเบี้ย และค่าสินไหมทดแทนอื่นๆ ให้กับเจ้าหนี้จนครบถ้วน การชำระหนี้ไม่ว่าจะชำระหนี้ด้วยตนเองหรือบุคคลภายนอก เช่น ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงชำระแทนให้ก็ทำให้หนี้นั้นระงับ นอกจากนี้การชำระหนี้บางส่วนให้กับเจ้าหนี้ ถ้าเจ้าหนี้พอใจหนี้ก็เป็นอันระงับ การชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่เป็นตัวเงิน เช่น โอนที่ดินตีใช้หนี้ตามราคาท้องตลาด ถ้าเจ้าหนี้พอใจหนี้ก็เป็นอันระงับ การชำระหนี้ด้วยออก-ด้วยโอนหรือด้วยสลักหลังตั๋วเงิน ถ้าเรียกเก็บเงินได้ หมายถึง เช็คผ่าน ธนาคารไม่ได้ปฏิเสธการจ่ายเงินก็ทำให้หนี้ระงับ
ลูกหนี้ไม่อาจบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้แต่บางส่วนหรือบังคับให้รับชำระหนี้เป็นอย่างอื่น (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 6157/2544) ถ้าลูกหนี้ชำระหนี้บางส่วนเจ้าหนี้ไม่พอใจ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ นอกจากนี้ในทางกลับกันเจ้าหนี้ก็ไม่มีสิทธิบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้บางส่วนหรือบังคับให้ชำระด้วยอย่างอื่นผิดไปจากที่ตกลงกัน (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1701/2538)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 314 อันการชำระหนี้นั้น ท่านว่าบุคคลภายนอกจะเป็นผู้ชำระก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้บุคคลภายนอกชำระ หรือจะขัดกับเจตนาอันคู่กรณีได้แสดงไว้
บุคคลผู้ไม่มีส่วนได้เสียด้วยในการชำระหนี้นั้น จะเข้าชำระหนี้โดยขืนใจลูกหนี้หาได้ไม่
มาตรา 320 อันจะบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน หรือให้รับชำระหนี้เป็นอย่างอื่นผิดไปจากที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้นั้น ท่านว่าหาอาจจะบังคับได้ไม่
มาตรา 321 ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป
ถ้าเพื่อที่จะทำให้พอแก่ใจเจ้าหนี้นั้น ลูกหนี้รับภาระเป็นหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นใหม่ต่อเจ้าหนี้ไซร้ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านมิให้สันนิษฐานว่าลูกหนี้ได้ก่อหนี้นั้นขึ้นแทนการชำระหนี้
2. ปลดหนี้
เป็นการกระทำของเจ้าหนี้เพียงฝ่ายเดียว ถ้าเจ้าหนี้เห็นใจลูกหนี้ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะแสดงเจตนาต่อลูกหนี้สละสิทธิ์ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตลอดไป เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ถึงแม้ลูกหนี้จะไม่ยินยอม การปลดหนี้ก็สมบูรณ์ ถ้าหนี้มีหนังสือเป็นหลักฐานเป็นสัญญาเงินกู้ สัญญาเช่าซื้อ สัญญาค้ำประกัน สัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นใดที่มีหนังสือเป็นหลักฐาน การที่เจ้าหนี้จะปลดหนี้ต้องทำเป็นหนังสือขึ้นมาหรือไม่ก็ต้องเวนคืนเอกสารแห่งหนี้คืนให้กับลูกหนี้ หรือขีดฆ่าเอกสารซึ่งเป็นหลักฐานแห่งหนี้นั้นจึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย
การปลดหนี้ต้องมิใช่เกิดจากการผิดหลงหรือสำคัญผิด เช่น คืนต้นฉบับสัญญากู้ให้ลูกหนี้ไปทั้งที่ยังมีหนี้กันอยู่ กรณีดังกล่าวไม่ใช่การปลดหนี้ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 434/2536, 965/2537) การที่เจ้าหนี้นั่งอยู่เฉยๆ ไม่ฟ้องศาล หรือไม่ทวงหนี้ลูกหนี้เป็นเวลานาน ไม่ถือว่าเป็นการปลดหนี้ หนี้ที่ไม่มีหลักฐานถ้าเจ้าหนี้จะปลดหนี้ทำได้โดย
ปลดหนี้ด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือก็ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 340 ถ้าเจ้าหนี้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป
ถ้าหนี้มีหนังสือเป็นหลักฐาน การปลดหนี้ก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย หรือต้องเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ให้แก่ลูกหนี้ หรือขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย
3. หักกลบลบหนี้
มาตรา 341 ถ้าบุคคลสองคนต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน และหนี้ทั้งสองรายนั้นถึงกำหนดจะชำระไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมจะหลุดพ้นจากหนี้ของตนด้วยหักกลบลบกันได้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้ทั้งสองฝ่ายนั้น เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ฝ่ายหนึ่งจะไม่เปิดช่องให้หักกลบลบกันได้
บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ หากเป็นการขัดกับเจตนาอันคู่กรณีได้แสดงไว้ แต่เจตนาเช่นนี้ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต
มาตรา 342 หักกลบลบหนี้นั้น ทำได้ด้วยคู่กรณีฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง การแสดงเจตนาเช่นนี้ท่านว่าจะมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเวลาสิ้นสุดอีกด้วยหาได้ไม่
การแสดงเจตนาดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านว่ามีผลย้อนหลังขึ้นไปจนถึงเวลาซึ่งหนี้ทั้งสองฝ่ายนั้นจะอาจหักกลบลบกันได้เป็นครั้งแรก
4. แปลงหนี้ใหม่
มาตรา 349 เมื่อคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ไซร้ ท่านว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่
ถ้าทำหนี้มีเงื่อนไขให้กลายเป็นหนี้ปราศจากเงื่อนไขก็ดี เพิ่มเติมเงื่อนไขเข้าในหนี้อันปราศจากเงื่อนไขก็ดี เปลี่ยนเงื่อนไขก็ดี ท่านถือว่าเป็นอันเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้นั้น
ถ้าแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยโอนสิทธิเรียกร้อง
มาตรา 350 แปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้น จะทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมหาได้ไม่
5. หนี้เกลื่อนกลืนกัน
มาตรา 353 ถ้าสิทธิและความรับผิดในหนี้รายใดตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกัน ท่านว่าหนี้รายนั้นเป็นอันระงับสิ้นไป เว้นแต่เมื่อหนี้นั้นตกไปอยู่ในบังคับแห่งสิทธิของบุคคลภายนอก หรือเมื่อสลักหลังตั๋วเงินกลับคืนตามความในมาตรา 917 วรรค 3
ทางแก้ของหนี้ที่ดีที่สุดคือ หันหน้าเข้าหากันและเจรจาต่อรองหนี้เพื่อให้ได้ข้อยุติที่ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกัน