ย้ายสถานประกอบกิจการ|ย้ายสถานประกอบกิจการ

ย้ายสถานประกอบกิจการ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ย้ายสถานประกอบกิจการ

อยากถามว่าถ้าหากว่าบริษัทย้ายให้พนักงานไปปฏิบัติงานที่อื่น

บทความวันที่ 30 ธ.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2653 ครั้ง


ย้ายสถานประกอบกิจการ

 

           อยากถามว่าถ้าหากว่าบริษัทย้ายให้พนักงานไปปฏิบัติงานที่อื่น เช่น ทำงานที่สนามบินสุวรรณภูมิ ได้ 2 ปี แล้วทางบริษัทแจ้งว่าจะย้ายพนักงานบางส่วนกลับไปทำงานที่ดอนเมือง กรณีนี้บริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยให้พนักงานไหมครับ และการโยกย้ายพนักงานถ้าพนักงานไม่เต็มใจที่จะไป บริษัทก็ไม่ยอม คือ ถ้าไม่ไปต้องลาออกไป กรณีนี้พนักงานสามารถเรียกร้องได้หรือเปล่าครับ
***เป็นพนักงานประจำทั้งหมดครับอายุงาน 5-10 ปี

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
          ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 120 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น อันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ ในการนี้ ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย ให้ลูกมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ โดยลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยพิเศษ ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิตามมาตรา 118
          ดังนั้น หากการย้ายงานมีผลกระทบต่อการดำรงชีพและครอบครัวของคุณ คุณมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยพิเศษได้ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของอัตราค่าชดเชย ตามมาตรา 118 แต่คุณต้องลาออก

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ. 2541
มาตรา 120
ในกรณีที่นายจ้างจะย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นอันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ ในการนี้ ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วยให้ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้าง หรือวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา118
           ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกจ้างบอกเลิกสัญญา
           ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสาม ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนดการจ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาและมีคำสั่งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง
            เมื่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาแล้ว ปรากฏว่า ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานมีคำสั่งเป็นหนังสือ ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วแต่กรณี ให้แก่ลูกจ้าง ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบ หรือถือว่าทราบคำสั่ง
           ในกรณีที่คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาแล้วปรากฏว่า ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานมีคำสั่งเป็นหนังสือและแจ้งให้นายจ้างและลูกจ้างทราบคำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้เป็นที่สุด เว้นแต่นายจ้างหรือลูกจ้างจะอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาลนายจ้างต้องวางหลักประกันต่อศาลตามจำนวนที่ต้องจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้

มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
           การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
           ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
และเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
           การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้
ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 4

สอบถามเกี่ยวกับร้านค้าย้ายสถานที่ ทำให้เสียสิทธิ์ในการส่งเคลมประกันสินค้า แบบนี้จะต้องทำอย่างไร เพราะมาทราบภายหลังว่าย้ายไปที่ใดได้หลังหมดประกันไปเกือบเดือน และบริษัทไม่รับผิดชอบค่าใช้จ่าย เราได้ส่งผซ่อมและบริษัทตีคืนและปฏิเสธการซ่อมโดยกล่าวว่าแจ้งค่าซ่อมแล้วลูกค้าปฏิเสธค่าผซ่อมทั้งที่เราแจ้งเขาไปแล้วว่าคุณย้ายสถานที่เราไม่ทราบแบบนี้เราจะดำเนินอย่างไรได้บ้าง

โดยคุณ รพีพง 30 มี.ค. 2562, 02:26

ความคิดเห็นที่ 3

ย้ายสถานประกอบการในพื้นที่ ,ต่างพื้นที่ และต่างจังหวัด ทำเหมือนกันหรือเปล่า ต้องแจ้งออกไม่น้อยกว่า15 วันก่อนแจ้งออก กับสรรพากร และทำย้ายที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วถึงแจ้งเข้าสรรพากรใช่หรือไม่

โดยคุณ น.ส.พัชราภรณ์ ต๊ะวิโล 19 ก.ค. 2553, 16:15

ความคิดเห็นที่ 2

คือว่าบริษัท จะย้ายสถานประกอบการเนื่องจากโดนเทคโอเวอร์คะ  บริษัทฯ มีทั้งที่เป็นพนักงานประจำและพนักงานสัญญาจ้าง (ต่อสัญญาทุก 6 เดือน) 

1.สำหรับพนักงานประจำ ถ้าบริษัทเลิกจ้าง จะได้เงิน 2 ส่วนใช่หรือไม่ (เงินชดเชยกรณีเลิกจ้างและเงินชดเชยพิเศษกรณีย้ายสถานประกอบการ) 

2.แล้วที่เป็นพนักงานสัญญาจ้างถ้ายังไม่หมดสัญญา (อายุงาน ประมาณ 1 ปีครึ่ง) แล้วไม่ตามไปทำงานด้วยจะได้เงินชดเชยกรณีไหนบ้างคะ  แล้วถ้าหมดสัญญาช่วงที่ย้ายสถานประกอบการพอดีจะได้รับเงินชดเชยหรือไม่

รบกวนอาจารย์ช่วยตอบให้ด้วยคะ (ตอนนี้กำลังมีปัญหามาก)

โดยคุณ ชยกร (สมาชิก) 28 มิ.ย. 2553, 22:19

ความคิดเห็นที่ 1

ถามว่า   สปส   ปฎิเสธ   การจ่ายเงินสงเคราะบุตรคนเดิม  โดยอ้างว่า   บุตรเป็นลูกนายจ้าง  

แต่เดิมเคยขอใช้สิทธิ์   คลอดบุตร   และสงเคราะบุตรและจ่ายเงินมาแล้ว

ขอคำแนะนำในการแกไขปัญหาด้วยครับ   ลูกจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเจ้าหน้าที่สปส

ได้ไหมครับเพราะว่าเคยทักท้วงไปแล้วแต่เจ้าหน้าที่ไม่รับฟัง   (ไม่ได้จดทะเบียนสมรส)

โดยคุณ เทพ ถิรไตรทิพย์ 25 ก.พ. 2553, 11:40

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก