ข้อกฎหมายแรงงานที่ควรรู้|ข้อกฎหมายแรงงานที่ควรรู้

ข้อกฎหมายแรงงานที่ควรรู้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ข้อกฎหมายแรงงานที่ควรรู้

  • Defalut Image

กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

บทความวันที่ 4 มี.ค. 2561, 11:15

มีผู้อ่านทั้งหมด 4159 ครั้ง


ข้อกฎหมายแรงงานที่ควรรู้/ทนายคลายทุกข์/ทนายความ

            กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถ้านายจ้างมีข้อกำหนดที่ขัดแย้งกับกฎหมายแรงงานและทำให้ลูกจ้างเสียเปรียบ ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 
            1. ตกลงให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเมื่อใดก็ได้เป็นโมฆะฎีกาที่ 3671/2526
            2. นายจ้างไม่ จ่ายค่าล่วงเวลาจะให้หยุดงานแทนในวันรุ่งขึ้นขัดต่อกฎหมายความสงบ ฎีกาที่ 2656/2527
           3. ข้อตกลงรวมค่าล่วงเวลาในค่าจ้างแต่ไม่ได้กำหนดค่าจ้างปกติขัดกฎหมายฎีกาที่ 846/2540
           4. ข้อตกลงที่ไม่ยอมคืนเงินประกันให้แก่ลูกจ้างฎีกาที่ 8029/2544

คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2540 
          การกำหนดค่าล่วงเวลาต้องคำนวณจากค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3,11,29,34และ42เมื่อสัญญาจ้างมิได้กำหนดอัตราค่าจ้างปกติไว้ย่อมทำให้ไม่อาจคำนวณค่าล่วงเวลาได้การรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างจึงเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150ดังนั้นเมื่อจำเลยให้โจทก์ทำงานล่วงเวลาวันละ5ชั่วโมงนับแต่แรกเข้าทำงานจนถึงวันฟ้องและจำเลยประกอบกิจการผลิตสายไฟฟ้าซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรมตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3วรรคสอง(1)(ข)โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาจากการทำงานล่วงเวลาจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์อีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8029/2544
          พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 10 วรรคสอง หมายความว่า เมื่อนายจ้างเลิกจ้างหรือลูกจ้างลาออกหรือสัญญาประกันสิ้นอายุ และลูกจ้างไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างจะต้องคืนเงินประกันทั้งหมด แก่ลูกจ้าง ข้อตกลงในสัญญาจ้างในข้อที่โจทก์(ลูกจ้าง) ไม่ขอรับเงินประกันทั้งหมดคืนขัดต่อมาตรา 10 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะ เมื่อการผิดสัญญาของโจทก์(ลูกจ้าง) ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ แก่จำเลย(นายจ้าง) จำเลย(นายจ้าง)จะต้องคืนเงินประกันการทำงานทั้งหมดแก่โจทก์
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ซื้อหนังสือกฏหมายใน iprice ดีไหมค่ะ เห็นราคาไม่แพง
โดยคุณ Affnun 17 พ.ย. 2561, 19:55

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก