งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
การเจรจาประนอมหนี้
ผมได้ค้ำประกันเงินกู้ธนาคารออมสินกับเพื่อน 7 คน ต่อมามีคนลาออก 2 คน และไม่ยอมใช้หนี้ ผมและคนที่เหลือทั้งหมด 5 คนโดนหักเงินเดือนจากหนี้ทั้ง 2 คนประมาณ 3 พันกว่าบาท ต่อมามีเพื่อนในกลุ่มเสียชีวิต ทำให้ยอดการหักเพิ่มเป็น 5 พันกว่าบาท จนแต่ละคนแทบไม่มีเงินเหลือ แถมต้องนำเงินไปให้ฝ่ายการเงินให้ครบอีกต่างหาก พวกผมยินดีที่จะชดใช้ให้เพราะค้ำประกันไปแล้ว แต่ผมอยากทราบว่า มันมีทางออกใดบ้างที่จะทำให้จำนวนเงินมันลดลงกว่านี้บ้าง ทางหน่วยงานก็จะหักเงินอย่างเดียวเพราะเงินเดือนมันผ่านทางธนาคารนี้ด้วย
1. ถ้าผมจะขอเจรจาปรับลดหนี้จากธนาคารได้หรือไม่ครับ
2. ถ้าโดยฟ้องขอต่อศาลปรับลดการผ่อนลงได้หรือไม่เพราะแต่ละคนก็มีหนี้สหกรณ์อยู่บางคนมีหนี้บัตรเครดิตด้วย
3. ถ้าจะแบ่งหนี้ของเพื่อน 2 คนให้เท่ากันไปเลยเช่น 2 คนรวมกัน 1ล้านก็หาร 4 แล้วก็รับผิดชอบในส่วนของใครของมันได้หรือไม่ครับ
คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
1.เมื่อท่านกับพวกได้เข้าผูกพันตนต่อเจ้าหนี้โดยค้ำประกันการชำระหนี้กู้ยืม ท่านกับพวกจึงเป็น ลูกหนี้อุปกรณ์ของหนี้กู้ยืมดังกล่าวชอบที่จะเจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอมหนี้ด้วยการลดหย่อนผ่อนหนี้กับธนาคารเจ้าหนี้ได้ไม่มีกฎหมายห้ามไว้
2.มูลหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ธนาคารเจ้าหนี้สามารถบังคับเอาแต่ลูกหนี้ได้โดยชอบด้วยกฎหมายศาลไม่มีอำนาจใดที่จะไปปรับลดหนี้ดังกล่าวให้แก่ลูกหนี้นั้น
3.ธนาคารชอบที่จะได้รับชำระหนี้เอาจากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนที่แต่ละคนต้องรับผิดก็ได้ เป็นเรื่องระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 297 แต่ในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันต่างคนต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 296