พิษเศรษฐกิจดันรายย่อย ติด\'บัญชีดำ\' 1 ล้านราย|พิษเศรษฐกิจดันรายย่อย ติด\'บัญชีดำ\' 1 ล้านราย

พิษเศรษฐกิจดันรายย่อย ติด\'บัญชีดำ\' 1 ล้านราย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

พิษเศรษฐกิจดันรายย่อย ติด\'บัญชีดำ\' 1 ล้านราย

วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส

บทความวันที่ 27 ส.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 11407 ครั้ง


พิษเศรษฐกิจดันรายย่อย ติด'บัญชีดำ' 1 ล้านราย

 

          วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส ไม่น้อยหน้านานาประเทศ และความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นส่งผลเป็นระลอกคลื่น เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมชะลอการผลิต บรรดาพนักงาน ลูกจ้างต่างถูกลดเวลาทำงาน ถูกเลิกจ้าง ตกอับชักหน้าไม่ถึงหลัง หนี้สินล้นพ้นตัว ที่พนักงาน ลูกจ้าง มนุษย์เงินเดือน ไปก่อไว้ยามที่มีรายได้อู้ฟู่ ต่างกลายเป็นหนี้ผิดนัดชำระ และสุดท้ายก็เป็นหนี้เน่า สร้างปัญหาให้บรรดาสถาบันการเงินเจ้าหนี้ปวดหัวไปตาม ๆ กัน
    
“นิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์”  ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร อธิบายว่า จำนวนลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลของบริษัทมีทั้งหมด 17.52 ล้านราย คิดเป็นจำนวนบัญชีสินเชื่อ 58.61 ล้านบัญชี เฉลี่ยแล้ว 1 คนจะมีบัญชีสินเชื่อ 3-4 บัญชี แบ่งเป็นสินเชื่อบ้าน สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ บัตรเครดิต เป็นหลัก  
    
ในจำนวนลูกค้าสินเชื่อ 17.52  ล้านรายนี้ แบ่งเป็นบัญชีสินเชื่อที่ค้างชำระจำนวน 1 ล้านราย หรือคิดเป็นประมาณ 6%  ซึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการติดตามหนี้ของบริษัทรับติดตามหนี้ โดยหนี้ที่ค้างชำระจะแบ่งเป็นหนี้ที่ค้างตั้งแต่ 0-30 วัน, 31-60 วัน, 61-90 วัน, 91-120 วัน และ 121-180 วัน นับเป็นหนี้เกรดเอ บี ซี ดี อี ตามลำดับ ซึ่งหนี้ที่ไม่เกิน 60 วันนั้น หากสถาบันการเงินเจ้าหนี้เข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด ก็มีโอกาสกลับมาเป็นหนี้ปกติได้ง่าย หากเกินไปกว่า 60 วันแล้ว ขั้นตอน    ต่าง ๆ ก็ยากขึ้นไปอีกรวมทั้งมีแนวโน้มเป็นหนี้เสียได้ง่าย
    
 สำหรับบัญชีสินเชื่อเครดิตบูโร จะถูกเก็บรักษาข้อมูลไว้เป็นระยะเวลา 3 ปี หรือ 36 เดือนต่อเนื่อง ถ้าเกิน 3 ปีไปแล้ว ข้อมูลก็จะถูกลบโดยอัตโนมัติ  หากลูกค้าผิดนัดชำระใน 12 เดือนแรกของการบันทึกข้อมูล และหลังจากนั้นมีประวัติชำระดีโดย ข้อมูลเครดิตบูโรก็จะโชว์ให้เห็นตามพฤติกรรมการชำระหนี้รวมทั้ง 36 เดือน 
   
แต่ที่เป็นปัญหาในบางครั้งสถาบันการเงินปฏิเสธการให้สินเชื่อ แม้ว่าลูกหนี้ได้ชำระหนี้เรียบร้อยแล้ว บางครั้งข้อมูลล่าสุดของลูกหนี้ในส่วนนี้อาจจะยังไม่ส่งมายังเครดิตบูโร หรือเกิดความล่าช้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ลูกหนี้สามารถนำใบเสร็จที่ชำระเงินทั้งหมด หรือหนังสือรับรองจากสถาบันการเงินเจ้าหนี้เดิม ไปใช้แสดงยืนยันสถานะเครดิตของตน หากต้องการขอกู้เงินจากสถาบันการเงินแห่งใหม่   
    
“ปัจจุบันนี้ยังมีความเข้าใจผิดว่าการที่สถาบันการเงินปฏิเสธปล่อยกู้ให้เพราะติดปัญหาเรื่องเครดิตบูโรหรือติดแบล็กลิสต์นั้น เรื่องดังกล่าวเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง โดยข้อมูลที่เครดิตบูโรมีอยู่ เป็นการเก็บประวัติตามข้อเท็จจริงว่า เจ้าของข้อมูลนั้นมีสินเชื่ออะไรบ้าง กับสถาบันการเงินประเภทใด เป็นวงเงินและภาระคงเหลือเท่าใด ประวัติการชำระที่ผ่านมาเป็นอย่างไร  ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาสินเชื่อ ซึ่งต้องดูประกอบกับข้อมูลบุคคลด้านอื่น เช่น แหล่งที่มาของรายได้ ความสามารถในการชำระหนี้ ตลอดจนหลักประกัน เหล่านี้คือองค์ประกอบที่จะทำให้สถาบันการเงินตัดสินใจได้ว่าจะอนุมัติสินเชื่อให้หรือไม่ ที่ผ่านมามักมีความเข้าใจผิดในจุดนี้อย่างมากจนเป็นที่มาของคำว่าแบล็ก ลิสต์”
    
อย่างไรก็ตาม บัญชีสินเชื่อที่ค้างชำระในไตรมาสที่ 2 ไม่ได้มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นมากนัก เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 อัตราการผิดนัดชำระสินเชื่อโดยรวมเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% เท่านั้น และกลุ่มสินเชื่อที่ผิดนัดชำระมากที่สุดคือ สินเชื่อบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 0.3% ซึ่งถือว่าไม่ได้เป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วงเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนบัญชีสินเชื่อ 58.61 ล้านบัญชี และคาดว่าตัวเลขลูกค้าหนี้ที่ค้างชำระ 1 ล้านราย จะเริ่มทรงตัว เพราะสัญญาณเศรษฐกิจในประเทศเริ่มฟื้นตัว จะให้แน่ต้องรอดูปัจจัยหลัก คือ สถานการณ์ทางการเมือง การสร้างความเชื่อมั่น เพื่อเพิ่มบรรยากาศน่าลงทุนให้เกิดการจ้างงาน รวมไปถึงการเบิกจ่ายเงินโครงการไทยเข้มแข็ง ถ้าสามารถเดินหน้าไปได้ ก็จะเป็นปัจจัยบวกและส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ
    
เครดิตบูโรมีสมาชิกที่เป็นผู้ให้สินเชื่อ 79 ราย มีฐานบัญชีสินเชื่อสูงถึง 62 ล้านบัญชี แบ่งเป็นบัญชีบุคคลธรรมดา 58.6 ล้านบัญชี และนิติบุคคลอีก 3.3 ล้านบัญชี มีจำนวนการสืบค้นข้อมูลเครดิตเฉลี่ยในไตรมาสแรกของปี 700,000 รายการต่อเดือน และผู้ที่เป็นเจ้าของบัญชี และต้องการขอสินเชื่อได้เข้ามาขอข้อมูลด้วยตนเองเฉลี่ยเดือนละ 14,000-15,000 ราย   ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ต้องการสินเชื่อได้ให้ความสำคัญต่อประวัติการชำระเงิน ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ส่วนสถาบันการเงินที่เข้ามาขอข้อมูลเครดิตล่าสุดนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเริ่มมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นด้วย
     
ส่วนทางด้านธนาคารพาณิชย์ “รุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์” ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า โดยปกติแล้วธนาคารจะพิจารณาประวัติทางการเงินของลูกค้าที่เข้ามาขอสินเชื่อย้อนหลัง 6 เดือน หากลูกค้าที่มีประวัติค้างชำระเงิน จากสถาบันการเงินแห่งอื่นเข้ามา แบงก์ก็จะเข้มงวดในการตรวจสอบเพิ่มมากขึ้น โดยเบื้องต้นจะเช็กข้อมูลสินเชื่อจาก เครดิตบูโร  เพื่อถือว่าเป็นศูนย์กลางแหล่งข้อมูลของลูกค้าสินเชื่อ  ซึ่งแบงก์จะใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาว่าจะอนุมัติสินเชื่อให้ หรือไม่  ซึ่งแบงก์ก็จะมีวิธีการพิจารณารายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มอีก ในส่วนนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร ที่มีความแตกต่างกันไป
    
“ผู้ที่รู้ดีที่สุดว่าตัวเอง มีประวัติผิดนัดชำระหนี้ หรือเป็นหนี้เสียอยู่หรือไม่นั้น คือตัวลูกค้าเอง หากเขาต้องการจะกู้เงินจากสถาบันการเงิน หรือธนาคารพาณิชย์ ก็ต้องพยายามปรับสถานภาพ หรือรักษาเครดิตของตนเองไว้ เพื่อไม่ให้มีปัญหาเวลาที่จะขอกู้เงินจากธนาคาร”
    
“ชาติชาย พยุหนาวีชัย” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย บอกว่า กรณีที่ลูกค้าเข้ามาขอสินเชื่อกับธนาคาร หากเป็นลูกค้าเดิมของธนาคารที่เป็นหนี้เสียมาก่อน และต้องการขอกู้เราจะพิจารณาได้ง่ายกว่า ลูกค้าที่มีประวัติค้างชำระจากสถาบันการเงินอื่น โดยรวมแล้วลูกค้าที่มีประวัติดังกล่าว แบงก์จะพิจารณาสินเชื่อเข้มงวดมากขึ้น หากปล่อยกู้ให้ เงื่อนไขสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ ย่อมแตกต่างจากลูกค้าที่มีบัญชีปกติ    
    
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสัญญาณหนี้ค้างชำระเริ่มจะแผ่วลง แต่เพื่อป้องกันหนี้เน่าที่อาจจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ประชาชนต้องพิจารณาศักยภาพทางการเงินของตัวเอง เมื่อเราก่อหนี้แล้วจะมีความสามารถเพียงพอที่จะชำระหนี้คืนได้หรือไม่ ในความเป็นจริงประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้คิดวางแผนทางการเงิน หาเช้ากินค่ำหาเงินมาได้ก็เพื่อใช้จ่ายไปวัน ๆ ใช้หนี้ไม่เหลือเก็บออม ไม่มีใช้ยามจำเป็นฉุกเฉิน โดยธรรมชาติตามหลักการแล้วทุกคนต้องวางแผนการใช้เงิน แบ่งเงินออกเป็น 3 ส่วน คือ เพื่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ใช้ยามฉุกเฉิน และเพื่อการออม  พร้อมน้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นธงนำทางในการดำเนินชีวิต ก็จะเห็นแสงสว่างนำไปสู่หนทางดับทุกข์จากการเป็นหนี้.

ขอขอบคุณรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์

แสดงความเห็น