งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
คำนิยามของคำว่า ลูกจ้าง ในคำพิพากษาฎีกา
ถ้าลูกจ้างไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาหรือข้อบังคับการทำงาน ลากิจ ลาป่วย ไม่ต้องลา ไม่ต้องฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา แบบนี้ไม่ใช่ลูกจ้าง ตามคำพิพากษาฎีกา ดังต่อไปนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 812/2548
ผู้ถือหุ้นเข้าบริหารงานโดยอิสระไม่อยู่ภายใต้บังคับของผู้ใด ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แม้จะได้รับเงินเดือนและหักส่งเป็นเงินสมทบกองทุนประกันสังคมก็ไม่มีผลทำให้มีฐานะเป็นลูกจ้าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 2548/2548
แม้โจทก์จะมาทำงานทุกวัน และได้รับเงินเดือนจากจำเลย แต่โจทก์ก็กระทำไปในฐานะกรรมการและผู้ถือหุ้นที่ต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของบริษัทที่โจทก์ร่วมก่อตั้งมา ไม่มีผู้บังคับบัญชา โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 2970/2548
โจทก์ทำงานโดยปรากฎว่าต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของจำเลย จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย
คำพิพากษาฎีกาที่ 5345/2549
แพทย์จะไปทำงานที่สถานพยาบาลตามสะดวกเป็นผู้กำหนดค่าตรวจรักษาเอง สถานพยาบาลจะเป็นผู้เก็บ เมื่อหักไว้ส่วนหนึ่งแล้วก็จะจ่ายให้แก่แพทย์นั้นตามสัญญาการให้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอิสระมิใช่ค่าจ้างความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับสถานพยาบาลในส่วนเงินค่าตรวจรักษา มิใช่ลูกจ้างกับนายจ้าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 8750/2550
โจทก์เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย การบริหารงานโจทก์ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลยอันเป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย
ขอขอบคุณหนังสือ รวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 64 ปีการศึกษา 2554 เล่มที่ 1 จัดพิมพ์โดย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา