ผลิตสินค้าซ้ำเพื่อขาย โดนปรับ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร|ผลิตสินค้าซ้ำเพื่อขาย โดนปรับ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร

ผลิตสินค้าซ้ำเพื่อขาย โดนปรับ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผลิตสินค้าซ้ำเพื่อขาย โดนปรับ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร

  • Defalut Image

ผลิตสินค้าซ้ำเพื่อขาย ผิด พ.ร.บ.สิทธิบัตร

บทความวันที่ 12 ก.ย. 2565, 10:49

มีผู้อ่านทั้งหมด 509 ครั้ง


ผลิตสินค้าซ้ำเพื่อขาย ผิด พ.ร.บ.สิทธิบัตร
           ลองอ่านฎีกาใหม่และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  เอาไปใช้ประโยชน์ได้นะครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2563 
             จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ขณะเกิดเหตุมีกรรมการบริษัทเพียง 2 คน คือจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เท่านั้น กรรมการซึ่งลงลายมือผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ คือ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท จำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายหมวกนิรภัยทุกชนิด การผลิต การออกแบบหมวกกันน็อกและชิ้นส่วนประกอบของหมวก  รวมไปถึงการมีไว้เพื่อขาย  และขายสินค้าดังกล่าวย่อมอยู่ในความรับผิดชอบและการสั่งการของจำเลยที่ 25 และที่ 3 โดยตรง หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อนุมัติหรือสั่งการแล้วย่อมไม่สามารถผลิตมีไว้เพื่อขาย  และขายในนามของจำเลยที่ 1 ได้ เมื่อของกลางที่ยึดได้ทั้งหมดตามบัญชีของกลางคดีอาญาเป็นหมวกกันน็อก ซึ่งจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการผลิตและจำหน่าย และวัตถุพยานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของของกลางที่ยึดได้มีสติกเกอร์ติดอยู่ด้านหลังระบุว่าผลิตโดยจำเลยที่ 1 ทั้งของกลางดังกล่าวก็ยึดได้จากที่ทำงานของจำเลยที่ 1  สอดคล้องกับบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสาม  ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3  ต่างให้ถ้อยคำไปในทำนองเดียวกันว่าในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 ได้แบ่งหน้าที่กันโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้บริหาร ส่วนจำเลยที่ 3 มีหน้าที่เขียนและสั่งจ่ายเช็คในบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 3 เห็นหมวกกันน็อกแบบของโจทก์ร่วมมีขายตามท้องตลาดอยู่แล้วทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ จึงให้พนักงานซื้อแบบมาแล้วนำมาเทียบดูกับหมวกที่จำเลยที่ 1 ผลิต ปรากฏว่าแบบเข้ากันได้พอดี จึงทำการผลิตตั้งแต่ปี 2551 นอกจากนี้ตามสัญญาเช่าสถานที่ทำการของจำเลยที่ 1 ซึ่งใช้เป็นที่ทำการและเก็บสินค้าของกลางในคดี ก็ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าในนามของจำเลยที่ 1 ดังนี้ พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมที่นำสืบมาดังกล่าวเมื่อรับฟังประกอบกันย่อมรับฟังได้ว่าการกระทำความผิดของบริษัทจำเลยที่ 1 นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการด้วย
#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-6161425, 081-8217470, 081-6252161 
#ทนายคลายทุกข์ #นิติบุคคล #บริษัทจำกัด #สัญญาเช่า

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก