ความผิดพลาดบกพร่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของคู่ความหรือทนายความ ไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะนำมาเป็นเหตุอ้างขอขยายระยะเวลาไม่ได้|ความผิดพลาดบกพร่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของคู่ความหรือทนายความ ไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะนำมาเป็นเหตุอ้างขอขยายระยะเวลาไม่ได้

ความผิดพลาดบกพร่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของคู่ความหรือทนายความ ไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะนำมาเป็นเหตุอ้างขอขยายระยะเวลาไม่ได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ความผิดพลาดบกพร่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของคู่ความหรือทนายความ ไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะนำมาเป็นเหตุอ้างขอขยายระยะเวลาไม่ได้

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2563

บทความวันที่ 7 ก.ค. 2565, 11:34

มีผู้อ่านทั้งหมด 340 ครั้ง


ความผิดพลาดบกพร่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของคู่ความหรือทนายความ ไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะนำมาเป็นเหตุอ้างขอขยายระยะเวลาไม่ได้
ลองอ่านฎีกาใหม่และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  เอาไปใช้ประโยชน์ได้นะครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2563
           ศาลชั้นต้นเคยมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 1 ออกไปถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ต่อมาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นครั้งที่ 2 อ้างเหตุผลว่า ทนายความโจทก์จัดทำร่างอุทธรณ์และส่งร่างอุทธรณ์ให้โจทก์พิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบและให้ความเห็น แต่เนื่องจากโจทก์ต้องไปติดต่องานที่ต่างจังหวัดเป็นเวลาหลายวัน ทำให้ไม่สามารถพิจารณาร่างอุทธรณ์ที่ทนายความโจทก์จัดทำและส่งไปให้พิจารณาได้ทัน เป็นความผิดพลาดบกพร่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์และทนายความโจทก์เองที่จะต้องติดต่อประสานงานในการจัดทำอุทธรณ์เพื่อยื่นต่อศาลให้ทันภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์เป็นครั้งที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 23
 เมื่อศาลเห็นสมควรหรือมีคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือตามที่ศาลได้กำหนดไว้ หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ในกฎหมายอื่น เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้นแต่การขยายหรือย่นเวลาเช่นว่านี้ให้พึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 15
 วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้
#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-6161425, 081-8217470,081-6252161 
#ขยายระยะเวลา #อุทธรณ์ #ฎีกา #พฤติการณ์พิเศษ #ทนายคลายทุกข์

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก