ปลอมสำเนาเอกสารราชการ ถือว่าปลอมเอกสารราชการ|ปลอมสำเนาเอกสารราชการ ถือว่าปลอมเอกสารราชการ

ปลอมสำเนาเอกสารราชการ ถือว่าปลอมเอกสารราชการ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ปลอมสำเนาเอกสารราชการ ถือว่าปลอมเอกสารราชการ

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340/2543

บทความวันที่ 5 ก.พ. 2564, 11:29

มีผู้อ่านทั้งหมด 959 ครั้ง


ปลอมสำเนาเอกสารราชการ ถือว่าปลอมเอกสารราชการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340/2543
            สำเนาหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินที่จำเลยนำไปใช้ เป็นภาพถ่ายจากต้นฉบับเอกสารราชการเพียงแต่แตกต่างกันในตัวเลขเกี่ยวกับราคาประเมินเท่านั้น กล่าวคือ เอกสารที่แท้จริงซึ่งเป็นต้นฉบับระบุราคาประเมินที่ดินจำนวน 28,000 บาท แต่ตามภาพถ่ายสำเนาหนังสือรับรองราคาประเมินระบุราคาประเมินที่ดินจำนวน 828,000 บาทดังนั้น สำเนาหนังสือรับรองราคาประเมินจึงเป็นการแก้ไขตัวเลขอันเป็นการทำปลอมขึ้นจากหนังสือรับรองราคาประเมินซึ่งเป็นเอกสารราชการที่แท้จริงแม้จะเป็นการทำปลอมในสำเนาเอกสารราชการก็ต้องถือว่าเป็นการปลอมเอกสารราชการ เมื่อจำเลยได้นำสำเนาหนังสือรับรองราคาประเมินไปใช้แสดงต่อโจทก์ร่วมเพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นภาพถ่ายจากเอกสารที่แท้จริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
           ตามฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265,268 ซึ่งมีโทษจำคุกหกเดือนถึงห้าปี จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วจะได้ความว่า การกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งมีอัตราโทษอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป ศาลชั้นต้นยังคงมีอำนาจที่จะพิพากษาคดีต่อไป

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก