ห้ามศาลพิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้อง|ห้ามศาลพิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้อง

ห้ามศาลพิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้อง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ห้ามศาลพิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้อง

  • Defalut Image

คำพิพากษาฎีกาที่ 2513/2557

บทความวันที่ 15 ม.ค. 2563, 09:39

มีผู้อ่านทั้งหมด 1696 ครั้ง


ห้ามศาลพิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้อง

คำพิพากษาฎีกาที่ 2513/2557
              โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง จากเดิมที่ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย 38,555.59 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 36,051.72 บาท นับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เป็นว่าขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย 32,639.48 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 30,519.82 บาท นับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นยังคงพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหาย 38,555.59 บาทพร้อมอัตราดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 36,051.72 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดเกินกว่าคำขอท้ายฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 หรือไม่นั้น
            เห็นว่า ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเป็นว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1  เป็นเงิน 30,519.82 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2550 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่โจทก์ได้จ่ายค่าซ่อมรถยนต์ไปคิดดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน 2,119.62 บาท รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 32,639.48 บาท และขอแก้ไขคำขอทายฟ้องเป็นว่า ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย 32,639.48 บาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 30,519.82 บาท นับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ว่า “สำเนาให้จำเลย รอสั่งวันนัด” หลังจากนั้นศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อมาจนเสร็จสำนวนโดยมิได้มีคำสั่งคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์แต่ปะการใด ถือว่าศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามคำขอท้ายฟ้องเดิมจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ แต่อย่างไรก็ตาม โจทก์นำสืบว่า โจทก์เสียค่าแรงและค่าอะไหล่เป็นเงิน 30,519.82 บาท จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ 30,519.82 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2550 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่โจทก์ได้จ่ายเงินค่าซ่อมรถยนต์ไป คิดดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน 2,119.62 บาท รวมเป็นค่าเสียหายที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสิ้น 32,6390.48 บาท การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ 38,555.59 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 36,051.72 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทำให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเกินกว่าที่โจทก์มีสิทธิเป็นการไม่ชอบ และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก