ลูกจ้างใช้คอมพิวเตอร์ของนายจ้างส่งรูปโป๊ ไม่ได้กระทำในนามบริษัท |ลูกจ้างใช้คอมพิวเตอร์ของนายจ้างส่งรูปโป๊ ไม่ได้กระทำในนามบริษัท

ลูกจ้างใช้คอมพิวเตอร์ของนายจ้างส่งรูปโป๊ ไม่ได้กระทำในนามบริษัท

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ลูกจ้างใช้คอมพิวเตอร์ของนายจ้างส่งรูปโป๊ ไม่ได้กระทำในนามบริษัท

  • Defalut Image

ลูกจ้างใช้คอมพิวเตอร์ของนายจ้างส่งรูปโป๊ ไม่ได้กระทำในนามบริษัท จึงยังไม่ใช่กรณีร้ายแรงที่จะเลิกจ้าง โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

บทความวันที่ 4 พ.ย. 2562, 10:25

มีผู้อ่านทั้งหมด 846 ครั้ง


ลูกจ้างใช้คอมพิวเตอร์ของนายจ้างส่งรูปโป๊ ไม่ได้กระทำในนามบริษัท จึงยังไม่ใช่กรณีร้ายแรงที่จะเลิกจ้าง โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาฎีกาที่ 11613/2554

    แม้ ส. จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของโจทก์เพื่อการส่วนตัวแจกจ่ายไปยังเพื่อนร่วมงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของโจทก์และรูปถ่ายที่จัดส่งไปเป็นภาพโป๊ลามกอนาจารซึ่งไม่เหมาะสม แต่เมื่อผู้รับก็ทราบว่าผู้ที่ส่งมาคือ ส. กระทำในนามส่วนตัว มิใช่กระทำในนามบริษัทโจทก์ ความเสื่อมเสียโดยตรงก็น่าจะตกแก่ ส. เอง ไม่เกิดผลกระทบต่อโจทก์มากนัก พฤติการณ์แห่งการกระทำของ ส. จึงยังไม่ถึงกับเป็นกรณีร้ายแรง โจทก์จะเลิกจ้าง ส. โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ทั้งยังถือไม่ได้ว่า ส. ตั้งใจก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงไม่เป็นการจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันจะทำให้โจทก์เลิกจ้าง ส. ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีกเช่นกัน
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก