ทนายวิ่งเต้นอัยการ ศาลจำคุก 3 ปี ไม่รอการลงโทษ|ทนายวิ่งเต้นอัยการ ศาลจำคุก 3 ปี ไม่รอการลงโทษ

ทนายวิ่งเต้นอัยการ ศาลจำคุก 3 ปี ไม่รอการลงโทษ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ทนายวิ่งเต้นอัยการ ศาลจำคุก 3 ปี ไม่รอการลงโทษ

  • Defalut Image

 แม้จะได้ความว่าจำเลยประกอบวิชาชีพทนายความมาแล้วหลายปี ไม่มีประวัติเสื่อมเสีย จำเลยยิ่งจะต้องระมัดระวัง

บทความวันที่ 11 ต.ค. 2562, 09:45

มีผู้อ่านทั้งหมด 1693 ครั้ง


ทนายวิ่งเต้นอัยการ ศาลจำคุก 3 ปี ไม่รอการลงโทษ

           แม้จะได้ความว่าจำเลยประกอบวิชาชีพทนายความมาแล้วหลายปี ไม่มีประวัติเสื่อมเสีย จำเลยยิ่งจะต้องระมัดระวัง ประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างแก่วิชาชีพเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  14171/2557
           จำเลยเรียกเงินจาก น. กับ ส. โดยแอบอ้างว่าจะนำเงินไปให้พนักงานอัยการเจ้าของสำนวนทำความเห็นไม่คัดค้านการขอปล่อยตัวชั่วคราวของ น. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นคุณแก่ น. ซึ่งเป็นจำเลยในคดีอาญา แม้จำเลยจะยังไม่ได้รับเงินหรือนำเงินไปให้อัยการเจ้าของสำนวนตามที่จูงใจก็ตาม การกระทำของจำเลยย่อมย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143
            ส. เป็นผู้ทราบข้อเท็จจริงต่าง ๆ จากจำเลยและอัยการเจ้าของสำนวนโดยตรง ส. จึงรู้ว่าจำเลยเรียกร้องเงินโดยแอบอ้างว่าจะนำไปให้อัยการเจ้าของสำนวนช่วยเหลือไม่คัดค้านการขอปล่อยตัวชั่วคราวของ น. ส. จึงสามารถกล่าวหาต่อพนักงานสอบสวนถึงความผิดที่เกิดขึ้นอันมีลักษณะเป็นคำกล่าวโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (8) แม้ขณะ ส.ให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวนจะมี อ. อัยการเจ้าของสำนวนร่วมรับฟังรับรู้ด้วยก็ตาม แต่ในการถามปากคำพนักงานสอบสวนก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพยานบุคคล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 วรรคสอง ส่วน อ. จะมาแจ้งคำร้องทุกข์ในภายหลัง พนักงานสอบสวนก็ต้องถามปากคำตามบทกฎหมายเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ ในอันจะพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 เมื่อ ส.กับ อ. ไปให้ถ้อยคำด้วยความเต็มใจ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย (ย่อฎีกาโดยหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา ของเนติบัณฑิตยสภา ตอนที่ 9)
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก