การเยียวยาลูกจ้างในกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม|ทนายคลายทุกข์,ทนาย

การเยียวยาลูกจ้างในกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การเยียวยาลูกจ้างในกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

  • Defalut Image

ทนายคลายทุกข์ขอนำสิทธิประโยชน์ต่างๆของลูกจ้างในกรณีถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมมานำเสนอครับ

บทความวันที่ 28 มิ.ย. 2560, 10:11

มีผู้อ่านทั้งหมด 5793 ครั้ง


การเยียวยาลูกจ้างในกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

            ทนายคลายทุกข์ขอนำสิทธิประโยชน์ต่างๆของลูกจ้างในกรณีถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมมานำเสนอครับ
1. ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไปหน้าตาจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง อ้างอิงฎีกาที่ 2578/2537
2. ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้ลูกจ้างแทน  อ้างอิงฎีกาที่ 5324/2538 ฎีกาที่ 4635/2541 ฎีกาที่ 8706/2543 ฎีกาที่ 5025/2548 ฎีกาที่ 4362/2549 ฎีกาที่ 3240-3247/2553
มีข้อสงสัยอยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือแสดงความคิดเห็น โทร.081-6161425

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2537 

เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์นำคดีไปสู่ศาลแรงงาน ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้างคำขออื่นให้ยก คำพิพากษาของศาลแรงงานดังกล่าวแม้มิได้กำหนดให้นับอายุงานต่อเนื่องไว้แต่ตามผลและรูปคดีที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานดังกล่าว ย่อมแสดงว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนการเลิกจ้าง การนับอายุงานจึงต้องนับต่อเนื่องจากอายุงานเดิม มิใช่เริ่มนับอายุงานใหม่หลังจากที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน เมื่อจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์อีกครั้งด้วยเหตุละทิ้งหน้าที่ตามรายงานลับของพนักงานของจำเลยคนหนึ่ง ซึ่งกล่าวว่าโจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานแต่ปรากฏว่าเวลาส่วนใหญ่ที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานนั้นเป็นระหว่างเวลา 11 นาฬิกาเศษ และ 13 นาฬิกา และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่า "ให้พนักงานหยุดพักได้วันละ1 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 11.30-13.30 น." การที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานจึงเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เมื่อพิจารณาประกอบกับวินัยพนักงานที่เกี่ยวกับการละทิ้งหน้าที่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งระบุว่า "พนักงานต้องไม่ละทิ้งหน้าที่ของตน หรือขาดงานหรือไม่ปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 วัน ทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร" แล้ว โจทก์มิได้กระทำผิดวินัยพนักงานตามข้อดังกล่าว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุเพียงเท่าที่ปรากฏในรายงานลับจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานย่อมถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งการงานไปเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า คดีเดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2533โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหากศาลเห็นว่าโจทก์ไม่อาจทำงานร่วมกับจำเลยได้ขอให้ศาลกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายและเงินต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างรวมทั้งเงินสะสมจำนวน 68,312.24 บาท ด้วย ศาลแรงงานวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับข้อหาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม และพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง โดยมิได้วินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับเงินสะสมแต่อย่างใด โจทก์มาฟ้องคดีใหม่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2534 โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายและจ่ายเงินต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างรวมทั้งเงินสะสมจำนวน 125,274.33 บาท ด้วยคำฟ้องในส่วนของเงินสะสมคดีหลังจึงอาศัยเหตุเลิกจ้างคนละคราวกับคดีก่อน และยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดที่ศาลได้วินิจฉัยไว้โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

2. คำพิพากษาฎีกาที่ 5324/2538
         ลูกจ้างเป็นพนักงานช่างภาคพื้นดินได้ลงนามรับรองความสมควรการเดินอากาศไป ทั้งๆ ที่ใบอนุญาตขาดต่ออายุ ซึ่งพนักงานคนอื่นก็เคยกระทำเช่นเดียวกัน แต่ไม่ถูกเลิกจ้าง กรณีของลูกจ้างเป็นเพราะได้ทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรม จึงได้ถูกนายจ้างตั้งกรรมการสอบสวนและมีคำสั่งเลิกจ้าง การที่นายจ้างเลิกจ้างกรณีนี้เป็นการเลือกปฏิบัติต่อพนักงานโดยไม่เท่าเทียมกัน การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง 

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2541
           ประเด็นต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่าหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์ได้รับเงินต่าง ๆจากจำเลยและโจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงิน หรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยเมื่อเป็นข้อที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แม้ศาลแรงงานมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นโดยตรงว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ หรือการที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามบันทึกดังกล่าวแล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีกหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่หากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สมควรที่จะให้จำเลย รับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใด ดังนั้น ประเด็นที่ว่าให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใดจึงเป็นประเด็น ซึ่งครอบคลุมถึงข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยไว้ด้วยแล้ว จำเลยอุทธรณ์เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลแรงงานมิได้นำมาวินิจฉัย แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาพอแก่ การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายแล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิพากษาใหม่ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาเป็นยุติว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์และจำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 7 เดือนเป็นเงิน 560,000 บาท เงินช่วยเหลือจำนวน 300,000 บาทและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 872,374 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว และโจทก์ได้ทำหนังสือรับเงินชดเชย ค่าตอบแทนในการเลิกจ้างให้ไว้แก่จำเลยระบุว่า โจทก์ขอสละสิทธิ์ในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น เมื่อค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ มิใช่เป็นเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโจทก์ย่อมสละเงินดังกล่าวได้การที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยอีก

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8706/2543
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอาจเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 หรือมาตรา 123 และอาจเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วยก็ได้
              โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมโดยให้โจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิมทุกประการ เป็นการฟ้องเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์มิได้มุ่งประสงค์ที่จะกล่าวหาว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 หรือ มาตรา 123 แม้โจทก์มิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนตามมาตรา 124 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
            แม้คำขอบังคับท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมและโจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิมทุกประการ โดยมิได้ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายก็ตาม แต่ศาลแรงงานมีความเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ หากโจทก์กลับไปทำงานกับจำเลยย่อมจะก่อให้เกิดปัญหาในการทำงานอย่างแน่นอน ศาลแรงงานจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ไม่ถือว่าเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2548
            บทบัญญัติ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ที่ห้ามศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เป็นบทบัญญัติที่ใช้ในคดีแรงงานกรณีทั่วไป แต่บทบัญญัติในมาตรา 49 เป็นกรณีให้อำนาจศาลแรงงานเป็นพิเศษเฉพาะคดีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง โดยหากศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานจะสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานก็ได้ แต่หากเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานจะกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้แทนก็ได้ โดยให้ศาลแรงงานพิพากษาไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากทางพิจารณาว่านายจ้างกับลูกจ้างจะทำงานร่วมกันต่อไปได้หรือไม่ บทบัญญัติในมาตรานี้เห็นได้ว่า ศาลแรงงานไม่จำต้องมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ แม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้มีคำขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน คงขอค่าเสียหายจากการเลิกจ้างมาเพียงอย่างเดียว ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าโจทก์กับจำเลยยังสามารถทำงานร่วมกันได้ ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแทนได้ กรณีกลับกันแม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้มีคำขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ คงขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานเพียงอย่างเดียว ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แทนได้เช่นกัน ที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์มิได้กระทำผิดวินัยใด ๆ มาก่อน ทั้งจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงเห็นสมควรให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานต่อไป แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอให้รับโจทก์เข้าทำงาน ก็เป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยมาตรา 49 แล้ว

6. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2549
              จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างออกจากงาน ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว การที่โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการ ฯ ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ ก็ไม่เป็นข้อจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาล
              ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างลูกจ้างถูกพักงานและถูกเลิกจ้างจนถึงเวลาที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยแม้โจทก์จะไม่ได้ทำงานให้เลย

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ถ้าเรามีโรถประจำตัวที่ต้องกินยาตลอด (ภูมิคุ้มกันผิดปกติ)  แต่ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม อายุงาน 25 ปีแล้ว เราสามารถฟ้องร้องเรียกค่าใช้จ่ายอะไรได้บ้างมั๊ยคะ  และเราอายุมากแล้ว ไปสมัครงานใหม่คงลำบากแล้ว

โดยคุณ 21 มิ.ย. 2560, 13:36

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก