ลูกจ้างถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม|ลูกจ้างถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

ลูกจ้างถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ลูกจ้างถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

เมื่อศาลสั่งให้กลับเข้าทำงาน ในตำแหน่งเดิม (Seniority rights)

บทความวันที่ 30 ม.ค. 2558, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3057 ครั้ง


ลูกจ้างถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

            เมื่อศาลสั่งให้กลับเข้าทำงาน ในตำแหน่งเดิม (Seniority rights) หลังจากถูกเลิกจ้างมีสิทธิได้รับเงินเดือนย้อนหลัง (Backwage) ในช่วงที่ไม่ได้ทำงานทุกเดือนจนกว่าจะรับกลับเข้าทำงาน ใครเป็นลูกจ้างเอาฎีกาและคำพิพากษานี้ไปใช้นะครับ  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9832-3936/2555 (ผมเป็นทนายเจ้าของสำนวน), คดีหมายเลขแดงที่ สป.242-246/2557 ศาลแรงงานกลาง(สมุทรปราการ) (ผมเป็นทนายเจ้าของสำนวน) นอกจากนี้ยังมี ฎ.2758/2526,ฎ.3974/2545 สนับสนุนอีก
ด้วยรักและห่วงใยกับทนายคลายทุกข์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3974/2545

           พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 ให้ศาลแรงงานมีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้
          โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงานซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ตั้งประเด็นข้อพิพาทมาว่าจำเลยเป็นนายจ้างได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานกลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในกรณีดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้โจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าจ้าง แต่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายได้
           ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 บัญญัติให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ โจทก์สามารถทำงานให้นายจ้างตลอดมา แต่จำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยได้เลิกจ้างโจทก์อย่างไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากจำเลยแม้โจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
           โจทก์บรรยายฟ้องไว้ตอนหนึ่งว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อทำลายและกำจัดโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน อีกทั้งจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับซึ่งเป็นการกล่าวอ้างว่าการเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121(2) และมาตรา 123 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ประสบภาวะการขาดทุน ทั้งเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้มีหลักเกณฑ์และไม่ได้มีการประเมินผลตัวโจทก์ หลังจากเลิกจ้างโจทก์แล้วยังรับคนอื่นเข้ามาทำงานแทนโจทก์ เป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดและไม่มีเหตุผลเพียงพอ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์ อันเป็นการกล่าวหาว่าการเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยเหตุที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วย ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนดังนั้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในกรณีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อศาลแรงงานได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนตามมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ก่อน กรณีไม่เป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8วรรคท้าย

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2526

           แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 จะมิได้กล่าวถึงค่าจ้างหรือค่าเสียหายในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างของลูกจ้างที่ศาลสั่งให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงานก็ตามแต่ก็มิได้มีกฎหมายห้ามไว้ ดังนั้นเมื่อศาลสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน ศาลมีอำนาจที่จะให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างให้แก่ลูกจ้างผู้ต้องเสียหายได้
            คำฟ้องที่เสนอศาลโจทก์ได้ขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยด้วย แต่มิได้ทำสำเนาคำฟ้องให้ตรงกับต้นฉบับ คำขอเรื่องดอกเบี้ยจึงขาดไปในสำเนาคำฟ้อง กรณีนี้พึงถือได้ว่าโจทก์มีคำขอเรื่องดอกเบี้ยแล้ว การทำสำเนาคำฟ้องขาดตกบกพร่องไม่ทำให้ต้นฉบับคำฟ้องเสียไป
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก