งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
คำพิพากษาศาลฎีกา/คดีแรงงาน/เลิกจ้าง
ลูกจ้างนายจ้างไม่มีความเข้าใจอันดีต่อกัน จึงไม่อาจทำงานร่วมกันได้
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8629/2550
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ได้กำหนดขั้นตอนให้ศาลแรงงานสั่งเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง แต่ถ้าศาลแรงงานเห็นว่า ลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ก็ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทน ซึ่งการที่นายจ้างจะรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปนั้นมิใช่พิจารณาเพียงความสามารถของนายจ้างที่จะรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปเท่านั้นจะต้องพิจารณาด้วยว่า นายจ้างกับลูกจ้างนั้นมีความเข้าใจอันดีต่อกัน และจะสามารถกลับไปทำงานร่วมกันได้โดยไม่เป็นปัญหาแก่ทั้งสองฝ่าย หากพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้จึงจะกำหนดค่าเสียหายให้แทน ซึ่งการกำหนดค่าเสียหายนี้ศาลแรงงานจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอย่างอื่นเกี่ยวกับลูกจ้างดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ประกอบการพิจารณาด้วย เมื่อศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า ในระหว่างการพิจารณาคดีโจทก์ได้ทำงานกับนายจ้างอื่นแล้วจึงไม่พิจารณาข้อที่โจทก์ขอกลับเข้าทำงานอีก เป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า ลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งศาลแรงงานจะต้องดำเนินการตามที่ พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้โดยให้ศาลแรงงานกลางกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทนการที่ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัยว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้วไม่กำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยเห็นว่าจำเลยยินยอมจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และดอกเบี้ยแก่โจทก์แล้วประกอบกับที่โจทก์ได้งานใหม่ทำแล้วภายหลังถูกเลิกจ้างเพียงหนึ่งเดือนจึงไม่ได้รับความเสียหายนั้นเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
ของหาย สงสัยลูกจ้างแต่ไม่มีหลักฐาน
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8212/2550
การที่เครื่องประดับส่วนตัวของพนักงานจำเลยสูญหายซึ่งยังไม่ปรากฏชัดว่ามีบุคคลใดลักไปหรือไม่ และการที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์กับพนักงานอื่นจะเป็นคำสั่งที่ชอบหรือไม่ก็ตาม แต่ก็เป็นการสั่งโดยใช้อำนาจในการบริหารงานบุคคลของจำเลยซึ่งโจทก์มีสิทธิจะโต้แย้งได้หากเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ การที่สามีโจทก์โทรศัพท์ถึง ป. และจะขอเข้าพบเพื่อสอบถามและขอให้โจทก์กลับเข้าทำงานแม้จะไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องและอาจสร้างความวุ่นวายแก่จำเลยบ้าง แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุอันสมควรที่ถึงขนาดจะเลิกจ้างได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยปราศจากเหตุอันสมควรและเพียงพอ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 49
เรียกค่าเสียหายในช่วงพักงานและช่วงถูกเลิกจ้าง จนถึงเวลาที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงาน
3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2549
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างออกจากงาน ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว การที่โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการ ฯ ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ ก็ไม่เป็นข้อจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาล
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างลูกจ้างถูกพักงานและถูกเลิกจ้างจนถึงเวลาที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยแม้โจทก์จะไม่ได้ทำงานให้เลย
หัวหน้าฝ่ายสินเชื่อ ปล่อยสินเชื่อไม่ถูกต้องตามระเบียบ
4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2548
โจทก์เป็นหัวหน้าสินเชื่อมีหน้าที่ในการพิจารณา กลั่นกรอง ตรวจสอบ ควบคุมการปล่อยสินเชื่อให้ถูกต้องเป็นไปตามระเบียบ แบบแผน คำสั่ง และวิธีปฏิบัติของธนาคารจำเลยอย่างเคร่งครัด แต่โจทก์กลับปล่อยปละละเลยให้มีการปล่อยสินเชื่อไปอย่างเร่งรีบ ไม่ตรวจสอบการวิเคราะห์สินเชื่อและผ่านงานเสนอขออนุมัติสินเชื่อไปโดยไม่พิจารณากลั่นกรองตรวจสอบให้รอบคอบ การปล่อยสินเชื่อโครงการมีการตีราคาประเมินสูงกว่าความเป็นจริง งดเว้น ละเลย ไม่ตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องตรงตามระเบียบของธนาคารจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จนทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเกิดหนี้ค้างชำระเป็นจำนวนมาก แม้จะไม่มีพฤติการณ์ว่าโจทก์ตั้งใจหรือเจตนาเอื้อประโยชน์ให้บุคคลเป็นพิเศษ แต่การทำงานที่ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่และทำงานผิดพลาดของโจทก์เช่นนี้ ย่อมมีเหตุที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไป จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายหรือรับโจทก์กลับเข้าทำงานกับจำเลย
การบรรยายฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6642/2545
แม้บันทึกที่บริษัทจำเลยที่ 1 มีถึงพนักงานทุกคนให้ละเว้นการออกเงินกู้ด้วยดอกเบี้ยสูงจะมิใช่ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับทำงาน แต่บันทึกดังกล่าวมีสภาพเป็นคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์นำเงินมาให้เพื่อนพนักงานซึ่งมีหน้าที่เก็บเงินจากลูกค้ากู้ยืมและเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงจึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยที่ 1แต่มิใช่เป็นกรณีที่ร้ายแรง เพราะมิได้ทำให้มีผลกระทบต่อกิจการของจำเลยที่ 1 ให้เสียหายอย่างชัดแจ้ง เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าได้มีการตักเตือนเป็นหนังสือและโจทก์กระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ แต่การที่โจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ทั้งเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 มีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ จึงไม่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ เพราะโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์ที่มีบทบาทในการต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมในบริษัทจำเลยที่ 1 อันเป็นการบรรยายว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโดยฝ่าฝืนมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องมาด้วยว่า การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาการกระทำอันไม่เป็นธรรม แต่โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องในข้อหาว่า จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมได้
แม้โจทก์จะขอให้จำเลยที่ 1 จ่ายดอกเบี้ยสำหรับค่าชดเชยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กำหนดถึงกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาที่ผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมศาลจึงเห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 เสียดอกเบี้ยในค่าชดเชยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันฟ้องให้แก่โจทก์ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าก่อนฟ้องต้องร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่
6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5326/2545
จำเลยมีมติเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์ยินยอมรับไว้แล้ว โจทก์ฟ้องอ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างของจำเลยฯ ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 และระเบียบว่าด้วยพนักงานของจำเลยฯ ซึ่งการฟ้องคดีเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและเรียกเงินบำเหน็จดังกล่าวนั้นไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนว่าก่อนฟ้องคดีโจทก์จะต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดและเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกทั้งสองจำนวนไม่ใช่เงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง