ตามคดี\'ราเกซ\'เล่นกล สร้างนาร้างเป็นเงิน |ตามคดี\'ราเกซ\'เล่นกล สร้างนาร้างเป็นเงิน

ตามคดี\'ราเกซ\'เล่นกล สร้างนาร้างเป็นเงิน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตามคดี\'ราเกซ\'เล่นกล สร้างนาร้างเป็นเงิน

ความคืบหน้าคดียักยอกธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ (บีบีซี) ของนายราเกซ ศักเสนา

บทความวันที่ 4 พ.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 11665 ครั้ง


ตามคดี'ราเกซ'เล่นกล สร้างนาร้างเป็นเงิน 

 

          ทนายคลายทุกข์ขอนำรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์  ที่นำเสนอเกี่ยวกับความคืบหน้าคดียักยอกธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ (บีบีซี)  ของนายราเกซ  ศักเสนา  ที่ยังไม่กล้าออกมาเปิดเผยผู้อยู่ใจขบวนการทุจริตดังกล่าว

รายละเอียดรายงานข่าว
คดีฉ้อโกงและยักยอกธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ (บีบีซี) ของนายราเกซ สักเสนา ที่กำลังครึกโครมอยู่ในทุกวันนี้  กำลังจะเข้าสู่จุดไคลแมกซ์ที่อาจจะเปิดเผยถึงตัวการร่วมอีกหลายๆ คน แม้ว่าหน่วยงานต่างๆ จะออกมาบอกว่า “สาวไม่ถึง”  เพราะกรณีการปล่อยกู้และยุทธวิธีดูดเงินออกไปจากแบงก์บีบีซี เป็นการฉ้อโกงอย่างครบวงจรที่เกี่ยวพันตั้งแต่การนำที่นารกร้างว่างเปล่าในชนบท แบงก์ห้องแถวในรัสเซีย ไปจนถึงการตั้งบริษัทกระดาษบนเกาะฟอกเงินมากู้เงินออกไปหน้าตาเฉย

หนึ่งในคดีสำคัญที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของศาลอีกรอบคือ คดีบริษัท ซิตี้เทรดดิ้ง ซึ่งศาลประทับรับฟ้องไปตั้งแต่ 10 ต.ค. 2539 คราวนี้จะมีนายราเกซเป็นจำเลยเดี่ยว คดีซิตี้เทรดดิ้งนี้น่าจะเป็นหนังตัวอย่างของการลากไส้ กรณีการสร้างราคาประเมินเทียมให้สาธารณชนเห็นถึงความไม่ชอบมาพากลในวงจรของ “โจรเสื้อสูท” ซิตี้เทรดดิ้ง เป็นบริษัทที่จดทะเบียนด้วยทุน 1,000 เหรียญสหรัฐ หากใช้อัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น (25 บาทต่อเหรียญสหรัฐ) ก็ตกราวๆ 2.5 หมื่นบาท ณ ประเทศอารูบา  เกาะเล็กๆ ในทะเลแคริบเบียน อาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ และมีชื่อว่าเป็นสวรรค์ของนักฟอกเงินเช่นเดียวกับ เกาะบริติชเวอร์จิน หรือเคย์แมน ผู้ถือหุ้นหลักคือ ราเกซ สักเสนา

ราเกซจัดตั้งซิตี้เทรดดิ้งได้ 2 เดือน ก็ยื่นกู้เงินจากแบงก์บีบีซีวงเงิน 1,650 ล้านบาท และได้รับการอนุมัติอย่างสะดวกโยธิน การยื่นขอเงินกู้นั้นผู้บริหารธนาคารแจ้งว่ามีโครงการและหลักประกันตามเกณฑ์ปฏิบัติทั่วไป   ทว่า ข้อมูลที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคณะผู้บริหารที่ติดตามทวงหนี้ ตรวจสอบล้วงลึกลงไป พบความไม่ชอบมาพากลมากมาย

เริ่มจากมีการพบว่า ที่ดินซึ่งนำมาเป็นหลักทรัพย์จำนองเงินกู้นั้น ซิตี้เทรดดิ้งประเมินมูลค่าไว้สูงลิ่วถึง 1,350 ล้านบาท แต่เมื่อธปท. ที่เป็นเจ้าทุกข์ของคดีนี้ตรวจสอบ พบว่า ที่ดิน ที่นา ที่นายราเกซนำมาจำนองเพื่อเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการขอกู้นั้น เป็นที่นาร้างมีมูลค่าจริงแค่ 22.9 ล้านบาทเท่านั้น ที่ไม่ชอบมาพากลอีกประการคือ เมื่อซิตี้เทรดดิ้งได้รับอนุมัติเงินกู้ 1,658 ล้านบาทไป เงินก้อนนั้นกลับถูกนำไปซื้อกิจการในต่างประเทศ 3 แห่ง ซึ่งเป็นกิจการที่มีผลประกอบการดี แต่ปรากฏว่านายราเกซไม่ได้นำใบหุ้นของกิจการดังกล่าวมาเป็นหลักทรัพย์จำนองกับบีบีซี เท่ากับว่าแบงก์บีบีซีมีหลักทรัพย์เน่าๆ ที่ไม่คุ้มมูลหนี้ไว้ครอบครอง จากการปล่อยกู้ไป

คดีนี้ศาลชั้นต้นตัดสินไปเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2548 จำคุกนายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ รวม 30 ปี ส่วนนายพิเศษ พานิชสมบัติ จำเลยที่ 1 ศาลยกฟ้อง ขณะที่บริษัท ซิตี้เทรดดิ้ง คอร์ปอเรชั่น, น.ส.สุนันทา หาญวรเกียรติ กรรมการบริษัท ซิตี้ฯ นายเอกชัย อธิคมนันทะ และนายเทอร์รี่ อีสเตอร์ กรรมการบริษัท ซิตี้ฯ เป็นจำเลย 3-6 ตามคดีหมายเลขดำที่ 4714/2539, 5449/2539, 1604/2540 ฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์  จำนวน 1,650 ล้านบาท และเป็นกรรมการกระทำผิดหน้าที่หรือรับของโจร สืบเนื่องจากจำเลยที่ 1 ประเมินราคาที่ดินที่เป็นหลักทรัพย์ขอค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยที่ 3-5 สูงเกินจริง โดยจำเลยที่ 2 ใช้โอกาสที่มีอนุมัติสินเชื่อ ได้อนุมัติสินเชื่อแก่จำเลยที่ 3 จำนวน 1,650 ล้านบาท ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งธปท. ที่อนุมัติวงเงินสินเชื่อเพียง 30 ล้านบาทเท่านั้น

คดีนี้ศาลเห็นว่าพยานโจทก์รับฟังโดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 2 ขณะดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่แบงก์บีบีซี ได้อนุมัติสินเชื่อ ซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งธปท. ให้กับจำเลยที่ 3 จริง ให้จำคุกจำเลยที่ 2 เป็นเวลา 10 ปี และปรับ 2,264 ล้านบาท และให้ปรับจำเลยที่ 3 เป็นเงิน 1 ล้านบาท สำหรับจำเลยที่ 4 และที่ 6 ให้จำคุกคนละ 7 ปี ปรับคนละ 1 ล้านบาท ส่วนจำเลยที่ 5 ให้จำคุก 8 ปี ปรับ 1 ล้านบาท และให้จำเลยที่ 2, 3, 4 และ 6 ร่วมกันชดใช้เงินต้นคืนให้ในจำนวน 1,132 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 17.25% ต่อปี ส่วนจำเลยที่ 5 ให้ชำระเงินต้นเป็นเงิน 75 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 17.25% ต่อปี ส่วนจำเลยที่ 1 ยกฟ้อง คดีนี้นายเกริกเกียรติอยู่ระหว่างการอุทธรณ์

แต่ขณะเดียวกันนั้นก็จะเป็นยกแรกของการลากตัวราเกซเข้าคุก เมื่ออัยการสรุปสำนวนส่งฟ้องเฉพาะนายราเกซ... นอกจากกรณีซิตี้เทรดดิ้งแล้ว ยังมีคดีบริษัท สมประสงค์ อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น หรือ สมประสงค์ อินเตอร์ ซึ่งเป็นของราเกซเช่นกัน ขอกู้บีบีซี 660 ล้านบาท อ้างว่าเอาไปซื้อกิจการที่เกิดจากการควบรวมกิจการ คราวนี้มีการใช้ที่นาร้างใน จ.สระแก้ว มาเป็นหลักทรัพย์จำนอง ราเกซและคณะประเมินราคาดินที่ใช้เป็นหลักทรัพย์ขอกู้กับบีบีซีไว้ 626 ล้านบาท แต่ธปท. ประเมินแล้วราคาไม่น่าเกิน 55 ล้านบาท พนักงานอัยการและธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายเกริกเกียรติ จำเลยที่ 1, น.ส.สุนันทา หาญวรเกียรติ กรรมการผู้มีอำนาจ บริษัท สมประสงค์ อินเตอร์คอมมิวนิ เคชั่น เป็นจำเลยที่ 2 บริษัท อเมริกันสแตนดาร์ด แอ๊พเพรซัล จำเลยที่ 3, นายไพโรจน์ ซึ่งศิลป์ จำเลยที่ 4, กรรมการผู้มีอำนาจบริษัท อเมริกันสแตนดาร์ดฯ, นาย วีระชัย คงแก้ว เจ้าหน้าที่ประเมิน บริษัท อเมริกันสแตนดาร์ดฯ จำเลยที่ 5, บริษัท สมประสงค์ อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำเลยที่ 6 ในความผิดฐานฝ่าฝืนร่วมกันยักยอกทรัพย์ ให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย 353 ล้านบาท

เหตุเกิดระหว่างวันที่ 12 ก.ย.-ก.ค. 2539 จำเลยที่ 1 และ 6 ร่วมกับนายจรัญ โพธิเรืองรอง กรรมการบริษัท สมประสงค์ฯ และนายราเกซ ที่ปรึกษาของจำเลยที่ 1 ร่วมกันยักยอกเงิน 647.9 ล้านบาทของบีบีซีไป โดยวางแผนแบ่งหน้าที่กันทำ ทั้งๆ ที่จำเลยที่ 6 คือบริษัท สมประสงค์ฯ ไม่ได้ประกอบกิจการใด แต่จำเลยที่ 2 นายราเกซและนายจรัญซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ได้ยื่นคำขอสินเชื่อต่อบีบีซี 660 ล้านบาท อ้างว่าจะนำไปซื้อหุ้นครอบกิจการของบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนลคอนโซลิเดเต็ด เอ็นยิเนียริ่ง จำนวน 6,670,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 75 บาท รวมมูลค่า 500 ล้านบาท และได้นำที่ดิน จ.สระแก้ว ที่จำเลยที่ 1-2 และ 6 ให้จำเลยที่ 3 และที่ 5 เป็นผู้ประเมินหลักทรัพย์ ทำหลักฐานว่าที่ดินดังกล่าวมีราคาประเมินถึง 826 ล้านบาท ทั้งที่จริงแล้วมีราคาไม่เกิน 55 ล้านบาท แล้วนำมาเป็นหลักประกันขอสินเชื่อ

ขณะที่นายราเกซและจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการติดต่อและสั่งงานให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารเงินและวิเทศกิจของแบงก์บีบีซีจัดทำเอกสาร และนายเกริกเกียรติจำเลยที่ 1 อาศัยโอกาสตำแหน่งหน้าที่อนุมัติเงินกู้ดังกล่าวไป อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งธนาคารแห่งประเทศไทย ศาลพิพากษาให้จำคุกนายเกริกเกียรติจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 10 ปี และสั่งปรับเป็นเงินกว่า 706 ล้านบาท ศาลสั่งจำคุก น.ส.สุนันทา หาญวรเกียรติ กรรมการผู้มีอำนาจบริษัท สมประสงค์ อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น เป็นเวลา 7 ปี และปรับ 1 ล้านบาท ส่วนจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัท อเมริกันสแตนดาร์ด แอ๊พเพรซัล ชดใช้ค่าปรับ 1 ล้านบาท ส่วนข้อหาอื่นสั่งพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3, 4, 5 และให้จำเลยที่ 1, 2 และ 6 คือบริษัท สมประสงค์ อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนกว่า 353 ล้านบาท โดยให้จำเลยที่ 1 และ 2 ในคดีนี้ซึ่งถูกพิพากษาจำคุกในคดีที่ 2 บวกโทษจำคุกรวมในคดีนี้ไปด้วย

คดีที่ 2 นี้ศาลสั่งจำคุกเกริกเกียรติ 10 ปี ปรับ 706 ล้านบาท ในขณะที่ราเกซกำลังจะเดินตามรอย... การยักยอกเงินจากแบงก์บีบีซีด้วยธุรกรรมข้างต้น ถือเป็นการสมรู้ร่วมคิดกันตั้งแต่ผู้กู้ ที่สร้างโครงการเทียม ประเมินมูลค่าหลักทรัพย์จำนองเกินกว่าความเป็นจริง นี่คือคดีที่กำลังจะประเดิม...ลากตัวราเกซเข้าห้องขัง ในขณะที่บุคคลที่เกี่ยวข้องก็ร้อนๆ หนาวๆ... หนาวเพราะกลัวว่า ราเกซจะซัดทอดถึงตัว เพราะเส้นทางของเงินนั้นน่ากลัวว่าจะพัวพันกับ ขาใหญ่ที่มากด้วยบารมีในปัจจุบัน....

ขอขอบคุณรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ชาติไทยผ่านพ้นวิกฤตมาหลายคราด้วยพระบารมีของล้นเกล้า

โดยคุณ วินัย 27 พ.ย. 2552, 07:45

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก