WebBoard :กฎหมาย|พินัยกรรม

พินัยกรรม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

พินัยกรรม

  • 53
  • 1
  • post on 19 มี.ค. 2567, 08:44

ผู้ที่มีชื่อในพินัยกรรม เป็นผู้รับมรดก หรือ ผู้จัดการมรดก สามารถเป็นคนเดียวกับผู้เก็บรักษาพินัยกรรมหรือไม่

โดยคุณ ppum007 (xxx) 19 มี.ค. 2567, 08:44

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

พินัยกรรม

   ผู้รับมรดก หรือ ผจก.มรดก ก็ไมีกฎหมายห้ามไม่ให้เป็นผู้เก็บรักษาพินัยกรรมไว้ ดังนั้นจากคำถาม ผู้รับมรดก หรือ ผจก.มรดก จึงสามารถเก็บรักษาพินัยกรรมไว้ได้... เพียงแต่มีข้อห้าม คนที่จะเป็นพยาน ในการทำพินัยกรรมพินัยกรรม ได้แก่ ผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ  บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ และ บุคคลหูหนวก เป็นใบ้ ตาบอดทั้งสองข้าง เป็นต้น ตาม ปพพ. ม. 1670

    ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการทำพินัยกรรม  จากประสบการณ์จริง...การทำพินัยกรรมไว้  ก็ถือว่า เจ้าของทรัพย์สินมีความรอบคอบในการจัดการทรัพย์สิน หลังจากที่ตนเสียชีวิตแล้ว การแบ่งปันทรัพย์มรดก ไม่ต้องมามีปัญหาว่า ใครจะได้ทรัพย์สินส่วนใดบ้าง....แต่ในความเป็นจริง  เรื่องอาจจะไม่ได้ง่ายๆดังที่ท่านคิด เพราะทรัพย์มรดก เป็นของบาดตาบาดใจ  ถ้าทายาท ไม่มีความปรองดองกัน  มีการโต้แย้งว่า พินัยกรรมที่ผู้ตายทำไว้นั้น ไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุผลมากมาย  การแบ่งปันมรดกคงไม่ง่ายอย่างที่คิด  ถ้ามีการร้องศาล เรื่องคงบานปลายใหญ่โต  เป็นคดีรกศาล  ที่ทายาท ต้องมาต่อสู้หักล้างกันเป็นแรมปี สูญเสียเงินทองนับไม่ถ้วน อาจจะมากว่า มรดกที่ตนจะได้รับ  แต่ด้วยทิฐิ ไม่ยอมรับกัน ซึ่งพบเห็นอยู่เสมอในสังคมปัจจุบัน   และถ้าผู้รับมรดก หรือผู้รับมรดกตามพินัยกรรม เป็นผู้เก็บรักษาพินัยกรรมไว้  ทายาทคนอื่นอาจจะเกิดความหวาดระแวงสงสัยว่า พินัยกรรมนั้นมีจริงหรือไม่ หรือสมบูรณ์บังคับได้หรือไม่...คงไม่เหมือนนิยาย ที่เราได้ดูได้ชมกัน  เมื่อทนายความเปิดพินัยกรรม  นางเอกหรือพระเอกได้รับมรดกก้อนโต คนดูก็พลอยชื่นมื่นกันถ้วนหน้า  แต่ในชีวิตจาิง อาจจะไม่ง่ายเช่นนั้นก็ได้

  ทางแก้ไข...ขอแนะนำให้ทำพินัยกรรม แบบเอกสารฝ่ายเมือง คือไป ที่อำเภอหรือเขต แจ้งความประสงค์ในการทำพินัยกรรม  จะมีเจ้าหน้าที่ ที่มีความรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดีคอยแนะนำ ตลอดจนมีวิธีการเก็บรักษาที่ปลอดภัย  เจ้าหน้าที่เขาจะแนะนำเอง  ถ้าไม่เข้าใจก็ควรสอบถามให้ชัดเจน  เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้จริง...พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง น่าจะถูกทายาท โต้แย้งน้อยที่สุด เพราะมีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหบือแนะนำ...

  หรือ...ให้เจ้าของทรัพย์สิน  โอนทรัพย์สินให้แก่ทายาทที่เขาต้องการ โดยสงวน  "สิทธิเก็บกิน"ไว้ ตลอดชีวิต โดยไปที่ สนง.ที่ดิน  เจ้าหน้าที่ เขาจะแจ้งรายละเอียดเอง  เมื่อ เจ้าของทรัพย์สิน ตายลง มรดกนั้ก็เป็นตกเป็นของผู้ทรงสิทธิเก็บกิน ไม่ต้องทำพินัยกรรม ให้ต้องยุ่งยาก.....ด้วยความปรารถนาดีครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 19 มี.ค. 2567, 09:40

แสดงความเห็น