WebBoard :กฎหมาย|การทำพินัยกรรม

การทำพินัยกรรม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

การทำพินัยกรรม

  • 71
  • 1
  • post on 7 มี.ค. 2567, 08:56

การทำพินัยกรรม ให้มีผลตามกฎหมาย ต้องทำอย่างไรบ้างครับ

โดยคุณ ppum007 (xxx) 7 มี.ค. 2567, 08:56

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การทำพินัยกรรม (ได้เคยตอบไว้ ค่อนข้างชักดเจน ในเว็บหนึ่ง จึงคัดลอกมา เพราะเป็นคำถามในเรื่องเดียวกัน)ครับ

พินัยกรรม มีหลายรูปแบบ ต้องทำให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ถ้าไม่ถูกต้องตามแบบ อาจจะไม่มีผลบังคับ พินัยกรรมมีหลายรูปแบบ เช่น
1. พินัยกรรม ตาม ปพพ. ม.1656 คือต้องทำเป้นหนังสือ ลง วันเดือนปี ที่ทำฯ ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน พร้อมกัน และพยานสองคน ต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมในขณะนั้น(พินัยกรรม แบบนี้ ใช้แบบพิมพ์ก็ได้ เพียงแต่ผู้ทำพินัยกรรม ต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานสองคน)...ส่วนรายละเอียดของทรัพย์สินก็ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า คืออะไร อยู่ที่ไหน เป็นต้น เช่น 1.โฉนดที่ เลขที่....ตั้งอยู่ที่....เนื้อที่....ไร่...งาน ตร.วา โฉนดฯเก็บไว้ที่.... หรือ จำนองเป็นประกันการการกู้ยืมเงิน ธนาคาร....ก็ระบุให้ชัดเจน ดังนั้นแม้โฉนดที่ดินติดจำนองที่ธนาคาร ก็สามารถทำพินัยกรรม มอบให้ใครก็ได้ 2. รถยนต์.....สี....ทะเบียน....จอดอยู่ที่.... เป็นต้น และต้องระบุให้ชัดเจนว่า ทรัพย์สินแต่ละรายการนั้น มอบให้ใคร ระบุชื่อของเขาให้ชัดเจน ถ้ามีเลข 13 หลักประกอบด้วยจะดีที่สุด...ในเน็ตมีแบบพินัยกรรม ให้ดูตัวอย่างมากมาย
2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ตาม ปพพ. ม.1657 รูปแบบก็ดังข้อ 1 แต่ผู้ทำพนิยกรรมต้องเขียนเองทั้งฉบับ และลงลายมือชื่อไว้ พินัยกรรมแบบนี้ไม่ต้องมีพยานรับรอง
3. พินัยกรรม แบบเอกสารฝ่ายเมือง ตาม ปพพ. ม.1658 ต้องไปที่ เขต หรืออำเภอ แจ้งความประสงค์ นายอำเภอ หรือผู้ได้รับมอบหมาย จะอำนวยความสะดวก และแนะนำให้ การผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้น้อย ดังนั้น พินัยกรรมแบบที่ 3 น่าจะปลอดภัยที่สุด ก็ยังมีพินัยกรรมอีกหลายรูปแบบ แต่ขอยกมาเพียง 3 แบบก็น่าจะเพียงพอ
....ข้อคิดจากประสบการณ์จริง
การ ทำพินัยกรรมไว้ ก็ค่อนข้างปลอดภัย ในการจัดการมรดกของผู้ตาย ที่ได้ทำพินัยกรรมไว้ การแบ่งปันมรดก ก็แบ่งปันตามที่พินัยกรรมกำหนด แต่....จิตมนุษย์นี่ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง แม้จะมีพินัยกรรม ในการจัดการมรดก แต่...ถ้าทายาทบางท่าน ไม่พอใจ อาจจะกล่าวอ้างพินัยกรรม นั้นไม่สมบูรณ์ หรือทำในขณะที่ผู้ทำมีสติสัมปชัญญะที่ไม่สมบูรณ์ ยื่นร้องคัดค้านขึ้นมา คงต้องมีการตรวจสอบ หรือฟ้องเป็นประเด็น ให้ต้องปวดหัว อาจมีคดียาวนาน ต้องที่พบเห็นอยู่เสมอ (ถ้าทายาทมีความสามมัคคีปรองดองกัน ก็ไม่มีปัญหา)....ขอแนะนำว่า ควรให้คุณแม่ หรือเจ้าของทรัพย์สิน โอนทรัพย์สินหรือที่ดิน ให้ คนที่ท่านต้องการจะมอบให้ โดยสงวน "สิทธิเก็บเงิน" ไว้ตลอดชีวิต คือแม้หรือเจ้าของมทรัพย์ฯ โอนที่ดินไป   เจ้าของก็ยังสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในทรัพยฺ์สิน ตลอดชีวิต ไม่ต้องวิตกว่าผู้รับโอนจะไม่เลี้ยงดู เมื่อท่านเสียชีวิตลง ที่ดินจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับโอน ไม่ต้องมาจัดการมรดกกันให้ยุ่งยาก...ไปที่ สนง.ที่ แจ้งความจำนงแก่เจ้าพนักงานที่ดิน ว่าต้องการโอนที่ดินให้ใคร โดยสงวนสิทธิเก็บกินไว่ เจ้าหน้าที่เขาจะทราบเรื่องนี้ดี และจัดการให้จนสมบูรณ์ ด้วยความปรารถนาดี ครับ
#2 โดย: พนิทตานันทน์ [IP: 49.48.227.xxx]
เมื่อ: 2024-03-01 22:14:28
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 7 มี.ค. 2567, 11:41

แสดงความเห็น