WebBoard :กฎหมาย|การจัดมรดกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม

การจัดมรดกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

การจัดมรดกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม

  • 103
  • 2
  • post on 10 ก.พ. 2567, 01:24

ผมได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก โดยมีคำสั่งศาลแต่งตั้งตอนนี้คดีถึงที่สุดแล้ว จากนั้นได้ไปสืบทรัพย์มา พบว่ามีที่ดินของพ่อชื่อร่วมกับอาหลายแปลง 


จากนั้นก็ได้ทักแชทหาอาเพื่อขอโฉนดที่ดินฉบับจริงมาเปลี่ยนผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อแบ่งให้ทายาท ซึ่งเมื่อทักไปอาค่อนข้างจะบ่ายเบี่ยงตอบข้ามวันบ้างอะไรบ้าง สุดท้ายบอกไม่ให้ 


จากนั้นผมเลยออกหนังสือเชิญประชุมผู้ถือกรรมสิทธิ์ ผู้มีส่วนได้เสีย เชิญแล้วอาที่มีชื่อร่วมไม่มาสักคน 


ผมเลยไปปรึกษาอัยการคุ้มครองสิทธิเพื่อขอไกล่เกลี่ย ซึ่งทางอัยการออกใบเชิญผู้มีถือกรรมสิทธ์ไป ผมก็ดูทรงแล้วอาคงไม่มาอีกตามเลย ผมเลยถามอัยการว่าถ้าอาไม่มาจะทำอย่างไร เขาบอกว่าต้องจ้างทนายฟ้อง ผมเลยลองไปปรึกษาทนายเอกชนดู เขาคิดเลทราคาหลายแสนอยู่ครับปัญหาคือผมไม่พอที่จะมีเงินจ้างทนายขนาดนั้นครับ เพราะพ่อมีที่ดินหลายแปลง และเงินเดือนแต่ละเดือนต้องใช้ในชีวิตประจำวันดูแลแม่แทนพ่อรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในบ้านทั้งหมด ถ้าจ่ายค่าธรรมเนียมอื่นๆพอได้ครับ 


ที่นี้ผมเลยอยากสอบถามครับว่า "ขั้นตอนการฟ้องต้องทำอย่างไรบ้างครับ รายละเอียดค่าใช้จ่าย และโอกาสที่จะได้โฉนดที่ดินฉบับจริง แล้วได้แบ่งให้ทายาทต่อไปจะมีไหมครับ" เพราะทางนั้นก็ตีมึนไม่สนใจอะไรเลย เป็นห่วงแม่คนเดียวครับ เพราะแกอาศัยอยู่ในที่กรรมสิทธิ์รวมด้วยทางแม่ก็ไม่สบายใจ ไม่รู้จะมีคนมาไล่ที่ตอนไหน ปัญหาของผมคืออยากได้โฉนดที่ดินฉบับจริงมาเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นจัดการมรดก แล้วนำไปแบ่งในทายาทต่อไปครับ 

โดยคุณ Kiattisak (xxx) 10 ก.พ. 2567, 01:24

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

ค่าใช้จ่ายก็ร้องเขาตามสมควร สอบถามทนายบางท่านบอกว่า คิดราคา ประมาณ 5,000 - 10,000  บาท  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 10 ก.พ. 2567, 12:40

ความคิดเห็นที่ 1

การจัดการมรดก

  เมื่อศาลตั้งให้เป็น ผจก.มรดก  ควรทำการในหน้าที่ให้ครบถ้วน  เพื่อไม่ให้มีการโต้แย้ง หรือร้องถอดถอนฯ ทำให้ต้องยุ่งยากเสียเวลา เสียความรู้สึก โดยไม่จำเป็น ได้แก่....จัดทำ...
    
-บัญชีทรัพย์มรดก กฎหมาย ไม่ได้กำหนดแบบไว้  ก็สามารถออกแบบได้เอง  ซึ่งก็เคยทำมาแล้ว เมื่อครั้งร้องขอเป็น ผจก.มรดก  แต่อาจจะไม่ครบถ้วน  ตัวอย่างเช่น
    บัญชีทรัพย์มรดกของ...................เจ้ามรดก
1.โฉนดที่ดินเลขที่....ตั้งอยู่ที่ ตำบล...อำเภอ...จังหวัด....เนื้อที่...ไร่....งาน...ตร.วา
2.  โฉนดที่ดินเลขที่...ฯ
3.  นส.3 เลขที่...ฯ
4. รถยนต์ยี่ห้อ....สี....หมายเลขทะเบียน....จอดอยู่ที่...
5. บัญชีธนาคาร.....ฯ
  รวบรวมจนครบถ้วนเท่าที่สามารถสืบค้นหาได้  ต้องทำบัญชีฯต่อหน้า ผู้มีส่วนได้เสีย เช่นทายาท อย่างน้อย 2 คน ต้องลงลายมือไว้ ในบัญชีฯ  และลายมือชื่อ ผจก.มรดก ด้วย โดยหลักต้องทำบัญชี ภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับแต่งตั้งฯ แต่ถ้าล่วงเลยมาบ้าง ก็ไม่น่าจะมีปัญหา  ก็ควรรีบทำให้เสร็จโดยเร็ว(ปพพ. ม.1729)
  -หลักฐานที่สำคัญอีกฉบับหนึ่ง คือ บัญชีเครือญาติ เฉพาะผู้ที่มีสิทธิรับมรดก เช่น มารดา  ลูกๆของเจ้ามรดกเป็นต้น ส่วน คุณอา ไม่มีสิทธิ์รับมรดก ของคุณพ่อ เพียงมีสิทธิ์ขอแบ่งทรัพย์สิน กรณีถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับคุณพ่อ เช่น ในโฉนดที่ดิน มีที่ดิน 10 ไร่ ถ้าไม่เงื่อนไขกำหนดไว้  ก็ถือว่า คุณพ่อและคุณอา จะมีส่วนในที่ดิน คนละ  5 ไร่ เป็นต้น....ซึ่งบัญชีเครือญาติก็เคยทำมาแล้ว เมื่อครั้งยื่นเรื่องขอเป็น ผจก. มรดก
-ขั้นตอนต่อไป ก็คือเรียกประชุมทายาท เพื่อตกลงกันแบ่งปันมรกดตามสิทธิ์ของแต่ละคน ...ถ้าทำการครบถ้วน ทายาทที่คิดจะก่อกวนคงยอมถอยไปเอง
--การเชิญทายาท มาประชุม ควรส่งเป็นจดหมายแบบไปรษณีย์ตอบรับ เพื่อมีหลักฐานมาเก็ยไว้ ว่า ผจก.มรดก ได้เชิญมาประชุมแล้ว  เพื่อขจัดมูลเหตุในการฟ้องร้องในภายหน้า
--เมื่อทายาทมาประชุม  การตกลงใดๆในการแบ่งปันมรดก ต้องทำบันทึกไว้ให้ครบถ้วน ทายาททุกคนลงชื่อรับรอง ข้อตกลงนั้นต้อง สามารถนำไปปฏิบัติได้
---ถ้าทายาทไม่มีประชุม หรือ คุณอาไม่ยอมมอบโฉนดที่ดิน ที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับคุณพ่อ  ถ้าเจรจาจากันไม่ได้ผล  ก็จำเป็นต้องฟ้องศาล...เบื้องต้น ขอแนะนำให้ไปที่ืศาล  แจ้งเจ้าหน้าที่ว่า ขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง จะมีการบันทึกข้อเท็จจริง และเชิญคู่กรณีมาเจรจากัน ถ้าตกลงกันได้ ก็ทำสัญญาประนีประนอม และขอให้ศาลพิพากษาตามยอมได้  โดยไม่มีค่าใชข้จ่ายใดๆทั้งสิ้น...แต่ปัญหาใหญ่คือ อีกฝ่ายไม่ยอมไปศาล ทั้งๆที่เขาได้รับประโยชน์เต็มๆ  แต่อาจจะได้รับข้อมูลที่ผิดๆจึงไม่ยอมไปศาล...ถ้าเป็นเช่นนั้น ขอแนะนำให้ไปศาล  ร้องขอให้นิติกรประจำศาล  ร่างคำฟ้องให้  โดยไม่ต้องมีทนายความ  คดีนี้ ไม่ได้ยุ่งยากอะไร  เพียงเป็นความเข้าใจผิดของบางคน  ถ้ามีการร่างฟ้องและส่งฟ้องไปตามกระบวนการ คงมีค่าใช้จ่ายบ้าง  แต่ก็ไม่มาก เมื่อส่งหมายไป ถ้าเขาไม่ไปตามหมาย  ก็มีขั้นตอนการพิจารณาลับหลัง (โดยการขาดนัด) เขาน่าจะแพ้คดี  ก็สามารถบังคับคดีไปตามคำพิพากษาได้  ซึ่งคงเป็นจุดจบของคนดื้อแพ่ง  เมื่อมีการบังคับคดี เขาต้องปฏิบัติตาม เช่นให้มอบโฉนดที่ดิน แก่ ผจก.มรดก ถ้าขัดขืน  อาจถูกจับไปกักข้งได้ ดังนั้นต้องใจเย็นค่อยๆแก้ไขไปทีละชั้นตอน...เรื่องการฟ้อง ขอความช่วยเหลือจากทนายอาสา ที่ประจำที่ศาลให้เขาช่วยเหลือก็ได้  ค่าใช้จ่ายก็ร้อง


โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 10 ก.พ. 2567, 12:35

ตอบความคิดเห็นที่ 1

ค่าใช้จ่ายก็ร้อง

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 10 ก.พ. 2567, 12:36

แสดงความเห็น