WebBoard :กฎหมาย|ทายาทผู้ค้ำประกัน

ทายาทผู้ค้ำประกัน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ทายาทผู้ค้ำประกัน

  • 1380
  • 3
  • post on 17 ส.ค. 2560, 02:08

แม่ของผมได้ค้ำประกัน ชพค ให้กับเพื่อนที่ทำงานเดียวกัน แต่แล้วเค้าได้ผิดนัดชำระกับทางธนาคารออมสิน (ตั้งแต่วัน 10 ตุลาคม 2558) ซึ่งปัจจุบันแม่ได้เสียชีวิตมาเป็นเวลา 2ปีแล้ว(ตั้งแต่ 5 พค 2558)จึงอยากจะทราบว่าทางครอบครัวควรดำเนินการอย่างไรครับ


ปล.ปัจจุบันยังมีทรัพย์สินบ้างส่วนเป็นชื่อคุณแม่อยู่เนื่องจากยังไม่ได้แต่งตั้งผู้จัดการมรดก

ปล.2 ทางธนาคารแจ้งว่าจะทำเรียกคืนเงินกู้และสืบทรัพย์จากทายาทผู้ค้ำ(ข้อนี้ให้เพื่อนที่เป็นพนักงานออมสินสอบถามใ่ายกฎหมายให้ครับ)

ปล.3 ผมกับพ่อเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ หากโดนฟ้องมีผลต่องานหรือมั้ยครับ

โดยคุณ Wannie Hariruk (27.55.xxx.xxx) 17 ส.ค. 2560, 02:08

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

ผู้ค้ำประกัน


  ฎีกาที่อ้างถึง  ก็ว่าไปตามหลักการของกฎหมาย  คือผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิด และเมื่อผู้ค้ำประกันตาย  ทายาทก็ต้องรับผิด...  แต่ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ปี 2557  การค้ำประกัน  ต้องระบุหนี้ที่ต้องค้ำประกันไว้ชัดเจน และรับผิดเฉพาะที่ระบุไว้  ไม่ใช่ร่วมรับผิดทั้งหมด  และสามารถแจ้งให้เจ้าหนี้ ไปเรียกร้องจากผู้กู้ก่อนได้  เพราะไม่ใช่่ลูกหนี้ร่วม....และมี ปพพ. ม.1754 ระบุ...ให้ฟ้องเกี่ยวมรดกของผู้ตายต้องฟ้องภายใน หนึ่งปี  ก็เป็นข้อต่อสู้ที่สามารถยกมากล่าวอ้างได้ เมื่อทายาทของผู้ค้ำประกันถูกฟ้องให้ร่วมรับผิด...แต่ถ้าถูกฟ้อง  ไม่ยื่นคำการต่อสู้เป๋็นประเด็นไว้ ก็อาจอ้างในภายหลังไม่ได้  ก็แพ้คดีได้ง่ายๆ คือต้องรับผิดตามที่ถูกฟ้อง  ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 18 ส.ค. 2560, 01:15

ความคิดเห็นที่ 2

ตอนนี้คุณแม่เสียชีวิตมา2ปีแล้ว แสดงว่าเจ้าหนี้ไม่สามารถเรียกร้องจากทายาทผู้ค้ำได้ใช่มั้ยครับ เนื่องจากไม่มีการเรียกร้องภายใน1ปี

โดยคุณ Wannie Hariruk 17 ส.ค. 2560, 15:22

ความคิดเห็นที่ 1

ทายาทผู้ค้ำประกัน

 ก็ต้องรับผิดเพียง เท่าที่ได้รับมรดกจากแม่เท่านั้น  ส่วนทรัพย์สินของแม่  เจ้าหนี้ยึดได้  ถ้ามีการฟ้องร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิด  ทายาท ก็ควรยื่นคำให้การต่อสู้  เรื่องผู้ค้ำประกัน ไม่ต้องเป็นลูกหนี้ร่วม  คือต้องกำหนดจำนวนที่ค้ำประกันไว้ชัดเจน ไม่ใช่รับผิดทั้งหมด และให้เจ้าหนี้ ไปเรียกร้องจากผู้กู้ก่อนได้  และการไม่ฟ้องภ้ายใน 1 ปี ที่แม่เสียชีวิต อาจเรียกร้องไม่ได้ เป็นต้น...ถ้าฟ้องแม่หรือทายาท  ไม่น่าจะมีผลกระทบถึงพ่อ  เพราะเป็นเรื่องทางแพ่ง เท่านั้น ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 17 ส.ค. 2560, 04:49

ตอบความคิดเห็นที่ 1

ในกรณี ที่ทนายความบางท่านกล่าวว่า"ผู้ค้ำประกันตาย ก่อนที่ลูกหนี้จะผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ ถ้าต่อมาปรากฏว่าภายหลังจากผู้ค้ำประกันตายไปแล้วลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องร้องทายาทของผู้ค้ำประกันให้รับผิดได้ เนื่องจากสัญญาค้ำประกันมิใช่สัญญาเฉพาะตัวที่ทำขึ้นเพราะผู้ค้ำประกันมีคุณสมบัติหรือความสามารถเฉพาะตัวอันจะผูกพันเฉพาะตัวบุคคลที่ทำสัญญาเท่านั้น ดังนั้นเมื่อผู้ค้ำประกันเข้าผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ว่า หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ตนจะยอมเข้าชำระหนี้นั้นให้กับเจ้าหนี้แทนลูกหนี้ ความผูกพันดังกล่าวย่อมเป็นหนี้ตกทอดแก่ทายาทของผู้ค้ำประกันด้วย ดังนั้นเจ้าหนี้จึงสามารถฟ้องให้ทายาทของผู้ค้ำประกันรับผิดได้ (ฎีกาที่ 1268/2555)" แล้วผมควรยึดตามข้อกฎหมายอันไหนครับ

โดยคุณ Wannie Hariruk 17 ส.ค. 2560, 22:31

แสดงความเห็น