WebBoard :กฎหมาย|ครอบครองปรปักษ์และมรดก

ครอบครองปรปักษ์และมรดก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ครอบครองปรปักษ์และมรดก

  • 5281
  • 5
  • post on 15 ก.ค. 2554, 13:28

     ยายเสีย 2528 มีมรดกที่ดิน 2 แปลง และต่อมาน้าชายได้แต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก 2528 โดยมีมรดก 2 รายการ คือที่ดิน 2 แปลง ต่อมา อีก 5 ปีต่อมา 2532  น้าชายได้โอนที่ดินทั้ง 2 แปลงเป็นของตนเอง โดยไม่มีทายาทคนไหนทราบจนเวลาล่วงเลยมาเป็นเวลา 22 ปี แต่ปัจจุบันที่ดินทั้งหมด ทายาทยังคงถือครองและทำกินมาตลอดเวลาดังกล่าวตามส่วนที่เคยทำ (เคยแบ่งด้วยวาจา 2532 ) แต่ตอนนี้เริ่มมีปัญหาเพราะน้าชาย บอกว่าเป็นที่ดินของเค้าแต่เพียงผู้เดียวและตอนนี้จะไม่ได้ทำกินอีกต่อไปแล้วแล้ว

จะทำยังไงดีครับ

คำถามครับ

1.ฟ้องยักยอกได้ไหมหมดอายุความหรือยัง

2. ฟ้องครอปครองปรปกษ้ได้หรือไม่

3. ถือว่าการจัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้วหรือยัง

โดยคุณ อุทัย (125.27.xxx.xxx) 15 ก.ค. 2554, 13:28

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 5

เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งน้าชายเป็นผู้จัดการมรดกของคุณยายเจ้ามรดก น้าชายผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่และทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการ ต้องจัดการและแบ่งปันมรดกที่ดินทั้งแปลงแก่ทายาทให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลตั้งนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1732 และการที่น้าชายจัดการโอนที่ดินมรดกทั้งสองแปลงเป็นของตนเอง อันเป็นการจัดการมรดกโดยมิชอบ จึงไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 1733 ที่ทายาทจะต้องฟ้องผู้จัดการมรดกเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกภายในการจัดการมรดกสิ้นสุด ทายาทจึงมีสิทธิฟ้องเพิกถอนการโอนที่ดินมรดกทั้งสองแปลงของน้าชายนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ดังนั้น การที่ทายาทคนใดครอบครองที่ดินทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน ทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 19 ก.ค. 2554, 14:57

ความคิดเห็นที่ 4

ตามข้อเท็จจริง  น้าในฐานะผู้จัดการมรดก  โอนที่ดินให้แก่ตนเอง  ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก   และมีหน้าที่ต้องนำทรัพย์มรดกไปแบ่งปันทายาท  เมื่อยังไม่มีการแบ่งปันและทายาทอื่นๆครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว  อายุความมรดกน่าจะยังไม่เริ่มนับ.เพราะถือครองแทนทายาท.........ความเห็น ที่ 2-3 ว่าไว้ก็มีเหตุผลน่ารับฟัง  ที่แสดงความเห็นเพิ่มเติมไม่ใช่จะมาหักล้างความเห็นของท่าน  เพียงเสนอความเห็นที่น่าเป็นไปได้เท่านั้น  อย่างไรก็ตามปัญหานี้ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย   คงต้องให้ศาลวินิจฉัยครับ  ขอนำแนวคำพิพากษาฎีกาเทียบเคียงมาให้พิจารณาดูครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7968/2544

ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้มีการแบ่งปัน การที่จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินต้องถือว่าได้ถือไว้แทนทายาทอื่นด้วย เมื่อโจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งจึงเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งกันให้เสร็จสิ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งมรดกนี้ได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 กรณีต้องตามมาตรา 1748 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
 

โดยคุณ เสน่ห์ เจษฎาสาธุชน (สมาชิก) 16 ก.ค. 2554, 11:42

ความคิดเห็นที่ 3

 การจัดการมรดกจะถือว่าสิ้นสุดลงเมื่อใดนั้น ต้องพิจารณาว่า ผู้จัดการมรดกได้โอนมรดกทั้งหมดของเจ้ามรดกให้แก่ทายาทไปเมื่อใด และกฎหมายกำหนดว่า "คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง" ในคดีนี้เจ้ามรดกมีที่ดิน 1 แปลงและเงินฝากในธนาคารจำนวนหนึ่งซึ่งผู้จัดการมรดกในได้โอนที่ดินให้ตนเองในฐานะทายาทโดยธรรมและเบิกถอนเงินที่อยู่ในบัญชีของเจ้ามรดกทั้งหมดในปี 2528 โจทก์มาฟ้องผู้จัดการมรดกเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จคดีจึงขาดอายุความ
 

โดยคุณ uthai 15 ก.ค. 2554, 19:01

ความคิดเห็นที่ 2

  แต่ผมเคยอ่านฎีกา ที่ว่าด้วยการจัดการมรดกสิ้นสุดลง เมื่อมีการโอนมรดกทั้งหมดให้กับทายาทแล้ว ถือว่าสิ้นสุแล้ว

รู้สึกว่ามันขัดแย้งกัยนะครับ

ขอความคิดเห็นครับ

โดยคุณ อุทัย 15 ก.ค. 2554, 18:48

ความคิดเห็นที่ 1

ในเมื่อทายาทครอบครองมรดกเป็นสัดส่วน ตามที่แบ่งปันกันด้วยวาจา ก็สามารถร้องให้ผู้จัดการมรดก โอนทรัพย์มรดกให้ตามส่วนที่ครอบครองได้ แม้จะล่วงเลยอายุความมาตรา 1754 ( อายุความสิบปี)แล้วก็ตาม...การที่น้าโอนที่ดินเป็นของเขา ถือว่าโอนในฐานะผู้จัดการมรดก ที่มีหน้าที่ต้องนำทรัพย์มรดกไปแบ่งปันทายาทตามสิทธิต่อไป ถ้าเขาไม่ยอมแบ่งปันให้ ก็ฟ้องศาลให้เขาแบ่งปันตามสิทธิได้ครับ... กฎหมายที่เกี่ยวข้อง....ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1748 ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน ทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้น กำหนดอายุความตาม มาตรา 1754 แล้วก็ดี
สิทธิจะเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกตามวรรคก่อน จะตัดโดยนิติกรรมเกิน คราวละสิบปีไม่ได้


มาตรา 1750 การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่าง เข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด หรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้ว เอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท


แนวคำพิพากษาใกล้เคียง....

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6671/2551 แจ้งแก้ไขข้อมูล

เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย ทายาทของ ส. ตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินของ ส. ว่า บุคคลใดได้รับยกให้ที่ดินแปลงใดก่อน ส. ถึงแก่ความตาย และทำประโยชน์ในที่ดินแปลงนั้นก็ให้ตกเป็นของบุคคลนั้น จำเลยได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ ส. ถึงแก่ความตายแต่ผู้เดียว กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสามจะเรียกร้องเอาส่วนแบ่งให้ผิดไปจากที่ได้แบ่งปันกันไปแล้วอีกไม่ได้ แม้ภายหลังจำเลยไปยื่นขอจัดการมรดกก็ไม่ทำให้ที่ดินพิพาทกลับกลายเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปันกันระหว่างทายาท เพราะจำเลยประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงหลักฐานทางทะเบียนให้ได้สิทธิโดยสมบูรณ์ในที่ดินพิพาทเท่านั้น ........

ตอบคำถาม.....

1.ก็เข้าข่ายยักยอกมรดก เพราะเพิกเฉยไม่แบ่งปันมรดกมากว่า 20 ปี

2.เมื่อทายาทครอบครองที่ดินตามสิทธิของตนเอง คงอ้างการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เพราะการครอบครองปรปักษ์ต้องครอบครองที่ดินผู้อื่น แต่ทายาทมีสิทธิขอแบ่งทรัพย์ในฐานะทายาท ตามเหตุผลข้างต้นครับ

3.การจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น อายุความ ห้าปี ตามมาตรา 1733 ยังไม่เริ่มนับครับ (ม.1733 วรรคสอง.... คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง)


 

โดยคุณ เสน่ห์ เจษฎาสาธุชน (สมาชิก) 15 ก.ค. 2554, 15:35

แสดงความเห็น