WebBoard :บังคับคดี|วิธีการคิดดอกเบี้ยโดยจำเลยขาดนัดคำให้การ

วิธีการคิดดอกเบี้ยโดยจำเลยขาดนัดคำให้การ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

วิธีการคิดดอกเบี้ยโดยจำเลยขาดนัดคำให้การ

  • 343
  • 1
  • post on 26 เม.ย. 2562, 12:27

ศาลมีคำสังให้จำเลยชำระเงิน  100000  บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15  ต่อปี ของเงินต้น 70000 บาท นับตั้งแต่วันฟ้อง  ( 1 กันยายน 2560 ) เป็นต้นไป  วิธีคิการชำระเงินอย่างไรครับ

โดยคุณ TEERAWUT (172.68.xxx.xxx) 26 เม.ย. 2562, 12:27

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การคิดดอกเบี้ย

  ก็คิดตามคำพิพากษา  คือ ตั้งแต่ 1  กันยายน 2560 เป้นต้นไป...อย่างไรก็ตาม  แม้จะมีคำพิพากษาให้ใช้หนี้   และชำระดอกเบี้ย   แต่ก็มีช่องทางเจรจากับเจ้าหนี้ได้อีก ซึ่ง เรียกกันว่า การไกล่เกลี่ยหลังมีคำพิพากษา  เช่นในการเจรจา  ลูกหนี้เสนอขอใช้หนี้  เฉพาะเงินต้น 1 แสนบาท  โดยขอไม่ชำระดอกเบี้ย หรือขอชำระก้อนเดียว 5-8 หมื่นบาท ก็มีตัวอย่างมากมายที่เจ้าหนี้มักยินยอม  เพียงทำหลักฐานไว้ให้ชัดเจนเท่านั้น...ทำไม เจ้าหนี้จึงยินยอม  ทั้งที่เจ้าหนี้ได้เปรียบ  คือชนะคดี ศาลให้จำเลยใช้หนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย.... แต่ในความเป็นจริง  แม้เจ้าหนี้จะชนะคดี  แต่ยังมีด่านหิน คือยุ่งยากในทางปฏิบัติ คือการบังคับคดี  ถ้าลูกหนี้ไม่ยินยอมใช้หนี้  เจ้าหนี้ต้อง ขอหมายบังคับคดี  และต้องไปสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ว่ามีที่ไหนบ้าง  ซึ่งในช่วงนี้ อยู่ในอำนาจของ สนง.บังคับคดี  ต้องยึดทรัพย์มาประกาศทอดตลาด  ซึ่งทางปฏิบัติขายได้ค่อนข้างลำบาก  ถ้าทรัพย์สินนั้นไม่อยู่ในทำเลที่ดีพอ  มีตัวอย่างมากมาย  ที่ประกาศขาย 4-5 นัด ก็ไม่มีผู้มาซื้อ  ซึ่งการดำเนินการในการบังคับคดี จะมีค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายอื่้นๆมากมายพอสมควร  ดังนั้นการเจรจาหลังมีคำพิพากษา  จึงมีทางเป็นไปได้ที่ลูกหนี้อาจได้รับการลดหนี้ลง จึงไม่ต้องไปพะวงว่าจะต้องจ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่วันไหน  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 27 เม.ย. 2562, 08:21

แสดงความเห็น

กระทู้ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในหมวด

กระทู้ที่มีผู้ตอบมากที่สุดในหมวด