WebBoard :เร่งรัดหนี้|เอาฉโนดที่ดินไปค้ำประกันเงินกู้

เอาฉโนดที่ดินไปค้ำประกันเงินกู้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

เอาฉโนดที่ดินไปค้ำประกันเงินกู้

  • 489
  • 3
  • post on 14 ก.ค. 2561, 21:19

ดิฉันและสามีเอาที่ดินไปค้ำประกันเเงินกู้ โดยเซ็นสัญญาเงินกู้เพียงอย่างเดียวมิได้ไปที่ดินแต่อย่างไร กู้เงินมา60,000฿ ดอกร้อยละ6% เท่ากับเดือนละ3,000 บาท  เมื่อได้เงินมาแล้วสามีก้ไม่ได้จ่ายดอกตามเพราะคุกเป็นเวลา2ปี ฉันก็ไม่ได้จ่ายให้เจ้าหนี้ และตอนนีี้ี้จ้าหนี้จะทำการฟ้องร้อง ดิฉันอยากทราบว่าที่ดินจะโดนยึดหรือไม่หรือสามีจะติดคุกอีกหรือไม่ ถ้าเราเจรจาขอผ่อนชำระเราจะปล่อยให้ฟ้องเพื่อชำระดอก1.5% หรือว่าไม่ปล่อยให้เค้าฟ้องดีคะ  ตอนนี้2ปีไม่ได้จ่ายดอกเลย ต้นรวมดอกก๋แสนกว่าบาทคะ เราจะเจรจายังไงกับเจ้าหนี้ดีคะ ตอนนี้สามีออกจากคุกแล้วเพิ่งได้ทำงานพร้อมจะจ่ายหนี้คะ

โดยคุณ Rastafari (61.19.xxx.xxx) 14 ก.ค. 2561, 21:19

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

เพิ่มเติม

  ถ้าสามารถเจรจากันได้  โดยไม่ต้องไปศาลดีที่สุด....  แต่เมื่อตกลงกันอย่างไร ควรทำสัญญาประนีประนอมไว้ให้ชัดเจน....แต่การไปศาล ก็มีประโยชน์  คือเมื่อตกลงกันอย่างไร  จะมีเจ้าหน้าที่ช่วยตรวจสอบสัญญาหรือเขียนสัญญาให้ และ ศาลจะช่วยคัดกรองอีกชั้นหนึ่ง โอกาสพลาดจึงมีน้อย...

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 15 ก.ค. 2561, 13:21

ความคิดเห็นที่ 2

เคยเห็นว่าถ้าเจ้าหนี้ฟ้องศาลแล่ว เราแจ้งว่าดอกเบี้ยที่เค้าคิดเกินจากกฎหมายกำหนดจะถือว่าดอกเบี้ยนั้้โมฆะและใก้ชำระต่นและดอกตามที่กฎหมายกำหนด ในกรณีนี้เราควรขึ้นศาลมั้ยคะ ทางออกไหนดีที่สุดคะ หรือควรไปเจรจาขอชำระเบี้ยเช่นเดิมคะ

โดยคุณ Rastafari 15 ก.ค. 2561, 10:31

ตอบความคิดเห็นที่ 2

การเรียกดอกเบี้ยเกินฯ


       ถือว่าการเรียกดอกเบี้ยเกินนั้นเป็นโมฆะ  ใช้บังคับไม่ได้   แต่การที่ลูกหนี้  ยินยอมจ่ายดอกเบี้ยที่สูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด  เป็นการใช้หนี้ตามอำเภอใจ  จึงเรียกคืนไม่ได้ ตาม ปพพ. ม.407  และ  ม.411  คือจะให้นำเงินค่าดอกเบี้ยที่จ่ายเกิน  มาหักเป็นเงินต้น คงไม่ได้  ต้องจ่ายเงินต้นคืน ทั้ง 60,000  บาท   ต้องร้องให้อัยการ ดำเนินคดีกับเจ้าหนี้  ฐานเรียกดอกเบี้ยเกินฯ   แต่ลูกหนี้  ไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงฟ้องร้องเองไม่ได้... แนวคำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง...


ฎีกาที่   4738/2552



จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 20,000 บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน แต่ได้รับเงินกู้จากโจทก์เพียง 16,000 บาท เพราะโจทก์หักไว้เป็นค่าดอกเบี้ยล่วงหน้า 2 เดือน และโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เขียนสัญญากู้ยืมเงินว่ากู้เงินโจทก์จำนวน 160,000 บาท อันผิดไปจากความจริง อย่างไรก็ตามที่สัญญากู้ระบุจำนวนเงินกู้ไว้จำนวน 160,000 บาท แต่จำเลยต่อสู้และนำสืบหักล้างฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์เพียงจำนวน 20,000 บาท ก็เป็นเพียงการทำให้จำนวนหนี้ในสัญญากู้ไม่สมบูรณ์เท่านั้นหาใช่ทำให้เป็นสัญญากู้ปลอมแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงอาศัยสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวมาฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมที่แท้จริงจำนวน 20,000 บาท ได้ จำเลยที่ 1 ผู้กู้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมจึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ต้นเงินจำนวน 20,000 บาท ให้แก่โจทก์ ทั้งนี้โดยจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธินำเงินจำนวน 4,000 บาท ซึ่งเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน รวม 2 เดือน ที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์หักไว้ขณะทำสัญญากู้ยืมเงินมาหักชำระหนี้ต้นเงินได้ เพราะเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจและฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 และมาตรา 411 สำหรับข้อตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงินนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะทำสัญญาคู่สัญญามิได้มีเจตนาจะคิดดอกเบี้ยกันในอัตราดังกล่าวแต่ตกลงให้โจทก์คิดในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน อันเป็นการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 654 มีผลให้ดอกเบี้ยดังกล่าวตกเป็นโมฆะเสียแล้ว โจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้ แต่เนื่องจากกรณีเป็นหนี้เงิน โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งคดีนี้สัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงให้ชำระเงินที่กู้ยืมคืนภายในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 อันเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 20,000 บาท นับแต่วันผิดนัดคือวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และเมื่อความรับผิดของจำเลยทั้งสองเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
 
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 15 ก.ค. 2561, 13:15

ความคิดเห็นที่ 1

การกู้ยืมเงิน


  ควรใช้วิธีเจรจาขอผ่อนใช้หนี้กับเจ้าหนี้ การผิดนัดการชำระหนี้  ไม่มีโทษต้องถูกจำคุก   แต่อาจถูกยึดบ้านไปขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้ได้...แม้ไม่จดจำนอง  ก็ยึดบ้านได้...

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 15 ก.ค. 2561, 01:52

แสดงความเห็น