WebBoard :บัตรเครดิต-บัตรเงินด่วน|จ่ายหนี้ไม่ไหว

จ่ายหนี้ไม่ไหว

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

จ่ายหนี้ไม่ไหว

  • 1131
  • 1
  • post on 6 มิ.ย. 2560, 15:34
สวัสดีค่ะ

   ขอคำปรึกษาค่ะ พลาดไปทำประนอมหนี้ แต่จ่ายไม่ไหวแล้ว

บัตรกดเงินสด ซิตี้แบงค์  ยอดเกือบ 40,000 บาท จ่าย 1,600 บาทต่อเดือน  ยอดลง

บัตรกดเงินสด เคทีซี  ยอดรวมดอก 70,000 บาท  จ่าย 725 บาทต่อเดือน ยอดไม่ลงเลย

บัตรกดเงินสด เทสโก้ โลตัส ยอดรวม 31,000 บาท จ่าย 823 บาทต่อเดือน ยอดลง

สินเชื่อเงินก้อน ซีไอเอ็มบี  ยอดรวมดอก 70,000 บาท  จ่าย 900 บาทต่อเดือน
ยอดไม่ลงเลย

ไม่ได้ทำประนอมหนี้

บัตรกดเงินสด ธนชาติ ยอดเกือบ 25,000 บาท จ่าย 745 บาทต่อเดือน  กดมาจ่ายบัตรอื่นบ้าง

บัตรกดเงินสด เฟิร์สช้อยส์ ยอดเกือบ 42,000 บาท จ่าย 2250 บาทต่อเดือน
กดมาจ่ายบัตรอื่นบ้าง

หยุดจ่ายทั้งหมด

แต่มีจ่ายอยู่ 3 ใบ เพราะเอาไว้หมุนได้ ไทยพาณิชย์เป็นธนาคารที่บริษัทจ่ายเงินเดือน


บัตรกดเงินสด ไทยพาณิชย์ ยอดรวม 22,000 บาท จ่าย 670 บาทต่อเดือน

บัตรกดกรุงศรี  ยอดรวม 29,000 บาท จ่าย 1450 บาทต่อเดือน กดได้ 800 บ.

บัตรกดเครดิต ไทยพาณิชย์ ยอดรวม 34,000 บาท จ่าย 6000 บาทต่อเดือน
เป็นหนี้เพิ่มเพราะเอาเงินสดมาจ่ายบัตรอื่น

มีอีก 1 ที่ ยืมพี่ ไปปิดบัตรแล้ว 3 ยอด
บัตรกดเงินสด กสิกรไทย 28,000 บาท
สินเชื่อเงินก้อน สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ 26,000 บาท ขอลดยอดจาก 35,000 บาท
สินเชื่อเงินก้อน กรุงศรี  57,000 บาท
ผ่อนจ่าย 1,500 บาท


จะมีทางไหนหมดหนี้ได้บ้างคะ

แล้วถ้าโดนฟ้อง 4 ใบตัวที่ทำประนอนหนี้ เราจะรับมือยังไงดี

หากโดนใบแรกเพราะเพิ่งหยุดจ่าย เดือน 5/60 นี่เอง

แต่พอหยุดจ่ายก็ไม่เครียดเลย เพราะก่อนหน้า เครียดมาก เพราะหาหมุนมาจ่ายให้ครบ

ยอดหนี้ พยายามเป็นลูกหนี้ที่ดี แต่ตอนนี้ไม่ไหวจริงๆ

ขอคำแนะนำหน่อยนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ
โดยคุณ oatoat1983 (58.8.xxx.xxx) 6 มิ.ย. 2560, 15:34

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

กรณีตามปัญหา  หากตอนนี้ท่านไม่สามารถชำระหนี้ตามสัญญาประนอมหนี้ดังกล่าวได้  ก็อาจจะรอให้เจ้าหนี้ดังกล่าวฟ้องคดีต่อศาล และหากท่านได้รับหมายศาลแล้ว แนะนำให้ท่านไปศาลในกำหนดนัดแรก ซึ่งศาลจะให้เจ้าหนี้ลูกหนี้ได้เจรจาไกล่เกลี่ย โดยท่านอาจจะขอลดดอกเบี้ยและขอผ่อนชำระรายเดือน โดยจะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ตามปพพ.มาตรา 850 มาตรา 852 ปวิพ.มาตรา 138 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อลูกหนี้มากกกว่าการไม่ไปศาลแล้วถูกเจ้าหนี้บังคับคดีอายัดเงินเดือนหรือยึดทรัพย์สินได้ ทั้งนี้ตามปวิพ.มาตรา 271 มาตรา 275 มาตรา 285 มาตรา 286

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 19 มิ.ย. 2560, 15:54

แสดงความเห็น