WebBoard :กฎหมาย|ทำงานควบกะ

ทำงานควบกะ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ทำงานควบกะ

  • 4914
  • 4
  • post on 20 ก.พ. 2555, 10:33

ที่ทำงานแบ่งเป็น 3 กะ 8 ชั่วโมงต่อกะ

เช้า 7:00 - 13:00

บ่าย 13:00 - 23:00

ดึก 23:00 - 07:00 

ถ้าทำงานควบกะต่อเนื่อง เช้า-บ่าย หรือ บ่าย-ดึก จะคิดค่าล่วงเวลาอย่างไร

กรณี เช้า-ดึก คิดค่าล่วงเวลาอย่างไร ( ภายใน24ชั่วโมงเหมือนกัน แต่มีเวลาหยุด 8 ชั่วโมง)

ขอบคุณครับ

โดยคุณ วิโรจน์ (223.207.xxx.xxx) 20 ก.พ. 2555, 10:33

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 4

ที่ทำงานแบ่งเป็น 2 กะ 8 ชั่วโมงต่อกะ

เช้า 7:00 - 13:00

บ่าย 13:00 - 23:00

ถ้าทำงานควบกะต่อเนื่อง เช้า-บ่าย จะคิดค่าล่วงเวลาอย่างไร

กรณี เช้า-ดึก คิดค่าล่วงเวลาอย่างไร ( ภายใน24ชั่วโมงเหมือนกัน แต่ไม่มีเวลาหยุด 8 ชั่วโมง)

ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ ศศิธร แก้วพวง 2 ก.ค. 2564, 12:16

ความคิดเห็นที่ 3

ทำงานเป็นกะ 8 ชั่วโมง คือ

เช้า. 8:00-16:00

บ่าย 16:00-24:00

ดึก. 24:00-08:00


ถ้าต้องการควง 3 กะ  เช่น วันที่1  เช้า ต่อ บ่าย  ต่อดึก แต่ดึกเป็นของวันที่ 2 แล้วลงไปพัก 08:00 ถึง 08:00 ของวันที่ 3 แล้วมาขึ้นเวรเช้า ต่อ ผิด กฎหมายหรือไม่

โดยคุณ Juthamas 31 พ.ค. 2561, 20:19

ความคิดเห็นที่ 2

ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 5 ได้กำหนดความหมายของบทนิยามคำว่า การทำงานล่วงเวลา หมายความว่า การทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติหรือเกินชั่วโมงทำงานในแต่ละวันที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกันตามมาตรา 23 ในวันทำงาน หรือวันหยุด แล้วแต่กรณีและ ค่าล่วงเวลา หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครั้งของอัตราค่าจ้างต่อชั่งโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ตามมาตรา 61 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 27 ก.พ. 2555, 14:31

ความคิดเห็นที่ 1

 ตาม  พรบ.คุ้มครองแรงงาน   พ.ศ.2541  มาตรา 23  วรรคสาม  ให้ทำงานวันละไม่เกิน 8 ชั่วโมง สัปดาห์ละไม่เกิน 48 ชม....เมื่อทำงานทั้งสาม กะ  ก็ถือว่าทำงานล่วงเวลา 16 ชั่วโมง  ก็ได้รับค่าล่วงเวลาตาม  มาตรา 61  

มาตรา ๒๓  วรรคสาม

ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจประกาศกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันได้ เนื่องจากลักษณะหรือสภาพของงาน ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดชั่วโมงทำงานแต่ละวันไม่เกินแปดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง

มาตรา ๖๑  ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

 

 

 

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน (สมาชิก) 20 ก.พ. 2555, 12:22

แสดงความเห็น