WebBoard :กฎหมาย|การเพิกเฉยของผู้ค้ำประกันต่อหมายศาล

การเพิกเฉยของผู้ค้ำประกันต่อหมายศาล

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

การเพิกเฉยของผู้ค้ำประกันต่อหมายศาล

  • 75
  • 1
  • post on 28 ก.ค. 2567, 19:18

ผู้ค้ำประกัน ได้รับหมายศาล แต่เพิกเฉย ไม่ไปศาล จะมีความผิด หรือผลทางกฎหมายอย่างไร

โดยคุณ ppum007 (xxx) 28 ก.ค. 2567, 19:18

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

  ผู้ค้ำประกัน

      ผู้ค้ำประกันก็มีสถานะเป็นลูกหนี้คนหนึ่ง  ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้  ผู้ค้ำประกัน  ก็ต้องรับผิดตามสัญญาฯ ตามที่ตนค้ำประกันไว้  แต่ก็มีการแก้กฎหมายใหม่ ให้ ผู้ค้ำประกันรับผิดเฉพาะ ตามระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น(เช่นในสัญญากู้ยืม มีการกู้เงิน  1 ล้านบาท ผู้ค้ำประกัน สามารถระบุได้ว่า ตนขอรับผิดเพียง 1 แสนบาทก็ได้)  ไม่ต้องเป็นลูกหนี้ร่วมดังเดิม คือไม่ต้องรับผิดหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้...ถ้าให้ผู้ค้ำฯเป็นลูกหนี้ร่วม   สัญญาฯเป็นโมฆะ...

   จากคำถาม  เมื่อมีการผิดนัดชำระหนี้  และโจทก์ฟ้องร้องต่อศาล...  เมื่อผู้ค้ำประกัน ไม่ยอมไปศาลตามนัด เขาก็สามารถทำได้  และเขาก็ไม่มีความผิดอะไร  แต่ก็ถือว่าเขาขาดนัด (ขาดนัดยื่นคำให้การต่อสู้  และขาดนัดการพิจารณาคดี) ก็มีกระบวนการที่ สามารถการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้   ผลก็คือ จำเลย  ทั้งผู้กู้และผู้ค้ำฯที่ไม่ศาล น่าจะแพ้คดี  ค่อนข้างแน่   เพราะถือว่า สละการต่อสู้  คือไม่มีการให้การต่อสู้ว่า  การค้ำประกันไม่ชอบอย่างไร ผลก็คือก็ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น  และมีขั้นตอนคือ  ส่งหมายบังคับให้ ผู้ค้ำฯทราบ  เพื่อชำระหนี้ ตามคำพิพากษา ถ้าไม่ชำระหนี้ฯ  ก็มีการบังคับคดี  คือติดตามยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้ตามคำพิพากษา....จึงมักมีข่าวเสมอว่า มีคนโวยวายว่า  ตนไม่เคยไปศาลเลย ทำไมมีหมายบังคับคดีมาปิดที่บ้าน  เพื่อยึดบ้านไปขายทอดตลาด...ก็มีที่มาที่ไปดังกล่าวมา  ดังนั้นแม้ผู้ค้ำประกันเพิกเฉยไม่ไปศาล ก็ปล่อยเขาไป   เพราะมีช่องทางของกฎหมาย ที่บังคับให้เขาต้องรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันอยู่แล้ว  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 29 ก.ค. 2567, 07:26

แสดงความเห็น

กระทู้ที่มีผู้ตอบมากที่สุดในหมวด