ถ้าผู้กู้ไม่ใส่ใจที่จะชำระหนี้ เพราะไม่มีทรัพย์ที่จะบังคับคดีได้ และรู้ว่าอย่างไรภาระหนี้จะตกอยู่กับผู้ค้ำประกัน อย่างนี้ ผู้ค้ำประกันสามารถเอาผิดทางอาญากับผู้กู้ได้หรือไม่
การกู้ยืมเงิน/การค้ำประกัน
ผู้ค้ำประกันที่ยินยอมทำสัญญาค้ำประกัน ในการกู้ยืมเงิน ก็มีสถานะเป็นลูกหนี้คนหนึ่ง ถ้าผู้กู้หรือลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ภาระผูกพันนั้นก็ย่อมตกแก่ผู้ค้ำประกัน...ก็ได้มีความพยายามในแก้ไขกฎหมายใหม่ เพื่อไม่ให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด เป็นลูกหนี้ร่วมดังเช่นในอดีต คือกู้เท่าไร ผู้ค้ำฯก็ต้องร่วมรับผิดทั้งหมด โดยแก้ไขใหม่ ให้ผู้ค้ำประกัน ต้องรับผิดเท่าจำนวนที่ระบุไว้เท่านั้น (ปพพ. ม.681 วรรคสาม) และถ้าให้ผู้ค้ำฯเป็นลูกหนี้ร่วม สัญญาค้ำฯเป็นโมฆะ (ปพพ. ม.681/1 วรรคหนึ่ง) และถ้าลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้ต้องแจ้งผู้ค้ำประกันต้องรับทราบภาบใน 60 วัน (ม.686 วรรคสอง) ถ้าไม่แจ้งฯผู้ค้ำฯจะหลุดพ้นความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมฯ ภายหลัง 60วันนั้น...แต่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันยังคงมีอยู่
ตอบคำถาม การค้ำประกันเป็นความรับผิดทางแพ่ง ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ และถ้าผู้ค้ำฯได้ชำระหนี้แทน ผู้ค้ำประกันก็เพียง มีสิทธิไปฟ้องไล่เบี้ยจากลูกหนี้คืน ตาม ปพพ. ม.693 เท่านั้น แต่...ลูกหนี้ไม่มีความผิดทางอาญาแต่อย่างใด และถ้าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ ให้ยึดขายทอดตลาด เพื่อใช้หนี้คืน ผู้ค้ำประกันก็ต้องฝึกทำใจให้ยอมรับสภาพนั้น ด้วยความปรารรถนาดี ครับ
ปรึกษากฎหมาย โทร.02-948-5700ในเวลาราชการ( วันจันทร์-วันศุกร์) และ 081-625-2161, 081-916-7810 (โทรได้ทุกวัน)
*********************************************
รับฟังการ Live สด ให้ความรู้ทางด้านกฎหมายและการเมือง (ได้ทุกวัน)
ทาง facebook : ทนายคลายทุกข์ และ YouTube : ทนายคลายทุกข์ tiktok : ทนายคลายทุกข์ ได้ทุกวันครับ
*************************