WebBoard :กฎหมาย|เซ็นชื่อแทนกัน

เซ็นชื่อแทนกัน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

เซ็นชื่อแทนกัน

  • 395
  • 1
  • post on 26 ก.ย. 2565, 00:44

คดีผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์ ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนไกล่เกลี่ยกันที่สำนักงานทนายความ โดยทนายโจทก์เรียกโจทก์และจำเลยมาทำสัญญายุติข้อพิพาทกัน โจทก์มี 4 คน แต่มาแค่ 3 คน ตอนเซ็นสัญญาทนายโจทก์บอกให้โจทก์คนหนึ่งเซ็นชื่อแทนโจทก์ที่ไม่มาก็ได้ โดยที่ไม่มีหนังสือมอบอำนาจอะไรเลย แบบนี้ผลของสัญญาจะใช้ได้ไหมครับ ความรู้สึกจริงๆ รู้สึกว่าทนายความฝั่งเราเหมือนจะอยากให้จบเรื่อง และเข้าข้างฝ่ายจำเลยมาก ติดต่ออยากให้ทำสัญญาไกล่เกลี่ยใหม่ก็บ่ายเบี่ยง ถ้าถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้องจะขอแถลงต่อศาลได้ไหมว่าสัญญานั้นมีการเซ็นชื่อแทนกัน หรือจะขอเลื่อนคดี ขอถอนทนาย ขอไกล่เกลี่ยใหม่ อะไรพวกนี้ได้ไหม เพราะเนื้อหาสัญญาไม่ตรงตามความต้องการของโจทก์บางส่วน

โดยคุณ เจษฎา (xxx) 26 ก.ย. 2565, 00:44

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การปลอมแปลงเอกสาร

  การลงลายมือชื่อแทนกันไม่สามมารถทำได้ในทุกกรณี  ถ้ามีการมอบอำนาจถูกต้อง  ผู้รับมอบอำนาจก็ต้องลงลายมือของตนเองเท่านั้น  แต่ลงนามในฐานะได้รับการมอบอำนาจ  การลงชื่อแทนกันจึงทำไม่ได้  เป็นการปลอมแปลงเอกสารชัดเจน  ถ้าแจ้งความก็เป็นเรื่องแน่  การใช้วิธีเจรจาให้มีการตกลงกันใหม่  เพราะการเจรจาไกล่เกลี่ย หลักการสำคัญคือ คู่กรณีทุกๆคนต้องยินยอมสมัครใจเท่านั้น   ก็สงสัยว่าทำไมทนายความจึงกล้าทำในที่ขัดต่อกฎหมายชัดแจ้งเช่นนี้   เบื้องต้นก็ควรเจรจากันก่อน   ถ้าเขายอมล้างไพ่ใหม่ คือเจรจากันใหม่ ให้คู่กรณีทุกๆคนรับรู้และสมัครใจ  ก็ปล่อยไปเถอะเรื่องการปลอมแปลงเอกสาร   แต่ถ้าการเจรจาไม่มีข้อยุติ  ก็คงต้องใช้วิจารณญาณเอาเองว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป....ก็มีประเด็นหนึ่งที่ควรทราบไว้   ถ้าคนที่ถูกลงลายมือชื่อแทนนั้น เขามายืนยันว่า เป็นลายมือของเขาเอง  การจะดำเนินคดีข้อหาปลอมแปลงเอกสาร  ก็คงลำบาก  ต้องระมัดระวังในประเด็นนี้ไว้ด้วย   ด้วยความปรารถนาดี ครับ
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 26 ก.ย. 2565, 13:11

ตอบความคิดเห็นที่ 1

แนวคำพิพากษาศาลฎีกาเทียบเคียง


 ฎีกาที่ 658/2513


    ผู้เสียหายได้รู้เห็นยินยอมให้ผู้อื่นเซ็นชื่อแทนในใบแต่งทนาย เมื่อมีผู้นำใบแต่งทนายนั้นไปให้ทนายทำคำร้องยื่นต่อศาล ความเสียหายที่จะมีแก่ผู้เสียหาย จึงไม่มีผู้เสียหาย จึงไม่เป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยนำคำร้องที่มีลายเซ็นชื่อผู้เสียหายปลอมโดยให้ผู้อื่นเซ็นชื่อแทนมายื่นต่อศาล ย่อมจะเห็นได้ว่าน่าจะเสียหายแก่ศาลในการรับคำร้องนั้นไว้พิจารณา จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 264


หมายเหตุ  
 ความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ปอ. ม.264 โทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกิน หกหมื่นบาท....ปอ. ม.268  การใช้เอกสารปลอม  มีโทษเช่นเดียวกับ ม.264  ----ถ้าปลอมเอกสารเองและนำไปใช้ รับผิดกระทงเดียว...
 
 
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 26 ก.ย. 2565, 13:19

แสดงความเห็น