WebBoard :กฎหมาย|ค้ำประกัน

ค้ำประกัน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ค้ำประกัน

  • 323
  • 2
  • post on 27 ก.ค. 2565, 07:51

สวัสดีครับ มีเรื่องอยากขอคำปรึกษาข้อกฎหมายครับ ผมอายุ19 ปีเศษ ค้ำประกันซื้อมอไซต์ให้ลุง เเม่เซ็นยินยอม เเล้วต่อมาลุงขาดส่ง อยากทราบว่า

1.สัญญาค้ำประกันที่ผมทำสมบูรณ์ไหมครับ เเม่ให้ความยินยอมเเล้ว เเต่ปรึกษาหลายๆที่ ว่า มันต้องขออนุญาตต่อศาลด้วย

2.กรณีเเบบนี้ ไฟเเนนซ์สามารถฟ้องผมได้โดยตรงเลยไหมครับ 

3.มีข้อต่อสู้ใดที่สามารถกระทำได้บ้างครับ

โดยคุณ นาวิน (xxx) 27 ก.ค. 2565, 07:51

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

แนวคำพิพากษาศาลฎีกาเทียบเคียง


 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2558

"

 


โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 27 ก.ค. 2565, 08:24

ตอบความคิดเห็นที่ 2

จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันสองฉบับ เพื่อค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร. เจ้าหนี้เดิม เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2540 และ 19 กุมภาพันธ์ 2540 ตามลำดับ ในขณะที่จำเลยที่ 3 อายุยังไม่ครบยี่สิบปีบริบูรณ์ จึงยังไม่บรรลุนิติภาวะตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 เพราะจำเลยที่ 3 เกิดวันที่ 11 มีนาคม 2520 การทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นการประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่น (จำเลยที่ 1) หรือแทนบุคคลอื่น (จำเลยที่ 1) จึงเป็นการทำนิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ ซึ่งตามมาตรา 1574 (10) แห่ง ป.พ.พ. ได้บัญญัติว่า ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต เมื่อโจทก์ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานให้เห็นว่าในขณะที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน ผู้ใช้อำนาจปกครองของจำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตจากศาลให้จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันได้ การทำสัญญาค้ำประกัน จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ตกเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
 
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 27 ก.ค. 2565, 08:25

ความคิดเห็นที่ 1

การค้ำประกัน


1.สัญญาค้ำประกันที่ผมทำสมบูรณ์ไหมครับ เเม่ให้ความยินยอมเเล้ว เเต่ปรึกษาหลายๆที่ ว่า มันต้องขออนุญาตต่อศาลด้วย

ตอบ...การแนะนำนั้นถูกต้องแล้ว เพราะ ปพพ. ม.1574(10) ห้ามไว้ชัดเจน  คือต้องได้รับอนุญาตจากศาล  สัญญาค้ำประกันจึงจะมีผลบังคับ  แม้ แม่จะยินยอมก็ไม่ทำสัญญานั้นมีผลบังคับได้

2.กรณีเเบบนี้ ไฟเเนนซ์สามารถฟ้องผมได้โดยตรงเลยไหมครับ 

ตอบ...ก็ฟ้องได้  เราก็ต้องยื่นคำให้การต่อสู้ว่า สัญญาไม่มีผลบังคับ แต่สัญญาแบบนี้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และขัดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน  ศาลอาจจะยกฟ้องได้เอง  แม้จำเลยไม่ยื่นคำให้การต่อสู้ไว้    แต่การยื่นคำให้การเผื่อไว้ ก็ไม่เสียหายอะไร และไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย น่าจะปลอดภัยที่สุด..

3.มีข้อต่อสู้ใดที่สามารถกระทำได้บ้างครับ

ตอบ..ก็ดูคำตอบข้อ 1-2  ก็คือแนวทางแก้ปัญหา...

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 27 ก.ค. 2565, 08:21

แสดงความเห็น