WebBoard :กฎหมาย|ขับรถโดนประมาท เฉี่ยวกัน

ขับรถโดนประมาท เฉี่ยวกัน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ขับรถโดนประมาท เฉี่ยวกัน

  • 443
  • 1
  • post on 10 พ.ค. 2565, 14:04

สวัสดีครับขอปรึกษา ผมขับรถแล้วแซงขวาเส้นทึบแล้วไปเฉี่ยวรถคู่กรณี คู่กรณีได้ตัดนิ้วก้อย ส่วนทางผมเย็บนิ้วเท้า กับยิงเหล็กดามกระดูกนิ้วมือกลาง ซึ่งผมยอมรับว่าผิด พรบของผมจ่ายค่ารักษาทั้งสองฝ่ายแล้วก็ค่านิ้ว170,000 ของเขา แต่คู่กรณีเรียกเพิ่มสินไหมส่วนต่าง 100,000 ซึ่งผมไม่มีกำลังมากพอในขนาดนี้ ทางคู่กรณีบอกจะส่งเรื่องฟ้องศาล ไม่ทราบว่าในกรณีนี้ จะคุกกี่เดือน ค่าประกันหรือปรับเท่าไรครับ ผมไม่เคยมีคดีติดตัวใดๆ.

โดยคุณ KITSANA1996 (49.237.xxx.xxx) 10 พ.ค. 2565, 14:04

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การขับรถโดยประมาท


  ตามข้อเท็จจริง  ก็เป็นการขับรถโดยประมาท  ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส (นิ้วขาด) ตาม ปอม.297 (3) มีโทษจำคุกหกเดือนถึง 10 ปี...ในเมื่อมีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสมควร  แต่คู่กรณีต้องการเรียกร้องเพิ่ม  ซึ่งเขาก็สามารถเรียกร้องได้ตามสิทธิ ฐานละเมิด  ตาม ปพพ. ม.420  ซึ่งตามกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดค่าเสียหายไว้ชัดเจนว่าเป็นจำนวนเท่าไร  ตาม ปพพ. ม.443  ก็ได้วางกรอบของการเรียกร้องค่าเสียหายไว้คือ     ถ้าไม่ถึงตาย ก็เรียกร้อง ค่าเสียหายได้คือ ค่ารักษาพยาบาล  ตามความเป็นจริง   ค่าขาดประโยชน์ในการทำงาน เพราะการบาดเจ็บ เช่นทำงานได้วันละ  1,000  บาท ถ้า ทำงานไม่ได้  30 วัน ก็เรียกร้องได้ 30,000  บาท เป็นต้น.... และค่าสินไหมทดแทนอีกกรณีหนึ่ง ตาม ปพพ. 420  คือ  ค่าเสียหายแก่ชีวิต  ร่างกาย  อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่คนทั่วไปมักเรียกว่าค่าทำขวัญ  ค่าเสียหายเหล่านี้ ไม่มีการกำหนดตัวเลขไว้ชัดเจน ก็สามารถเรียกร้องได้ ตามความเหมาะสม  และตามฐานานุรูป ของแต่ละคน  บางทีอาจจะเรียกร้องเป็นแสน เป็นล้าน  หรือเกินกว่าล้าน  ก็แล้วแต่ข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆไป  ก็ต้องใช้การเจรจาต่อรองกันไปตามความเหมาะสม  ถ้าเจรจาไม่ได้ข้อยุติ   ก็คงมีการฟ้องศาล    ศาลก็มักให้ใช้การเจรจาไกล่เกลี่ยกันก่อน   อาจจะตกลงกันได้    ถ้าตกลงกันไม่ได้   ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล ซึ่งต้องมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริง มีพยานหลักฐานของแต่ละฝ่ายมาประกอบ ในการพิจารณา และศาลก็ตัดสินคดีไปตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย  ตามที่พบมา  ก็มักจะได้รับการชดใช้ตามสมควร  เช่น  ประมาณ 30-40 % ของที่มีการเรียกร้อง  ก็อยู่ที่ดุลยพินิจของศาลเป็นสำคัญ

  สำหรับคดีอาญา  ถ้ารับสารภาพ  และมีการชดใช้ค่าเสียหายตามควร  และควรวางเงินค่าเสียหายต่อศาล  จำนวนหนึ่งในวันขึ้นศาล เช่นเรียกร้อง 1 แสน อาจจะวางเงินที่ศาล  1-2  หมื่นบาท ก็ให้เป็นดุลยพินิจของศาลว่าจะตัดสินคดีอย่างไร....ตามหลักการ เมื่อรับสารภาพ  และยินยอมชดใช้ค่าเสียหายตามสมควร คงได้รับการลดโทษกึ่งหนึ่งตาม ปอ. ม.78  จาก 10 ปี คงเหลือ  5 ปี ถ้าไม่เคยต้องโทษมาก่อน และมีเหตุปัจจัยตาม ปอ. ม.56 (ลองไปหาเปิดอ่านดูก็ได้)  ศาลอาจจะให้รอการลงโทษไว้ (รออาญา) อาจจะมีเงื่อนไขการคุมประพฤติ ตามสมควร  โดยใม่ต้องถูกจำคุก....ประเด็นสำคัญคือ  ยอมสารภาพผิด  ไม่ขอต่อสู้คดี  ก็ควรเตรียมหลักทรัพย์ไว้ตามสมควร ถ้ามีการควบคุมตัว  จะได้สามมารถยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว (ประกันตัว)ได้ทันท่วงที....ถ้ามีการต่อสู้คดี  ทำนองว่าไม่ได้ประมาท  หรืออีกฝ่ายก็มีส่วนประมาทด้วย   คงต้องมีการสืบพยานกับยืดยาว โอกาสที่จะได้การลดโทษกึ่งหนึ่งอาจจะไม่มี..ดังนั้นอย่าหลงทางในการไปต่อสู้คดี เพราะคำยุยง ของผู้หวังดีประสงค์ร้าย  ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เราไม่ได้ประมาท  หรือเป็นกรณีคาบเกี่ยวว่าประมาทหรือไม่  ก็ยอมรับสารภาพแต่โดยดี ถือว่าถึงคราวเคราะห์   น่าจะพ้นวิบากกรรมได้  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 11 พ.ค. 2565, 09:18

แสดงความเห็น