WebBoard :กฎหมาย|เรื่องการหย่า ค่าเลี้ยงดู และรับบุตรชายมาเลี้ยงเองครับ

เรื่องการหย่า ค่าเลี้ยงดู และรับบุตรชายมาเลี้ยงเองครับ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

เรื่องการหย่า ค่าเลี้ยงดู และรับบุตรชายมาเลี้ยงเองครับ

  • 391
  • 2
  • post on 7 เม.ย. 2565, 09:06

สวัสดีครับ

ผมมีปัญหาเรื่องการแยกอยู่กับภรรยา ซึ่งทางผมกับเขาต้องการหย่ากัน แต่เข้าได้เรียกร้องให้ผมส่งเงินให้เขาเดือนละ 20,000 บาทครับถึงจะยอมหย่า


ผมกับภรรยาแต่งงานกันและบุตรชายด้วยกันอายุ 6 ขวบ ได้แยกกันอยู่มาจะครบ 1 ปีแล้ว ซึ่งสาเหตุการแยกอยู่มาจากที่เรารับนิสัยกันไม่ได้จึงขอแยกอยู่ เราสองคนร่วมกันซื้อบ้าน ซึ่งชื่อบ้านเป็นชื่อภรรยาผมและพ่อผมครับ


ปัจจุบันผมส่งเงินให้ภรรยาเดือนละ 20,000 บาท และผลัดกันเลี้ยงดูบุตรชายอาทิตย์ละ 3-4 วัน สลับกันครับ


คำถามคือผมจะฟ้องหย่า ปัจจุบันผมส่งเงินให้ภรรยา 20,000 บาท ซึ่งทางผมก็ส่งไม่ค่อยไหว และทางภรรยามีงานประจำ มีรายได้ประมาณ มากกว่า 30,000 บาทครับ จะทำอย่างไรได้บ้างที่ผมจะไม่ต้องจ่ายเงินมากขนาดนี้ครับ และทางกฎหมายผมควรจะส่งเงินให้ภรรยาเท่าไหร่ครับ และผมอยากที่เลี้ยงบุตรชายเอง จะพอมีทางไหนได้บ้างครับ


ขอบพระคุณครับ

โดยคุณ vesta01 (xxx) 7 เม.ย. 2565, 09:06

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

ขออนุญาตสอบถามต่ออีกนิดหน่อยนะครับ


หลังจากแยกกันได้ไม่นาน ผมมีผู้หญิงคนใหม่ที่กินอยู่ด้วยกันครับ ซึ่งทางภรรยาก็รับทราบเรื่องนี้ และทางภรรยาก็น่าจะมีเหมือนกัน แต่ทางผมไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน


ถ้าผมจะฟ้อง ในกรณีนี้จะถูกฟ้องกลับเรื่องชู้สาวไหมครับ


ขอบคุณครับ

โดยคุณ vesta01 7 เม.ย. 2565, 13:56

ตอบความคิดเห็นที่ 2

การฟ้อง...

  การมีหญิงอื่น  ก็เป็นเหตุให้ฝ่ายหญิงฟ้องเรียกค่าทดแทนได้  แต่เป็นเรื่องทางแพ่ง   ถ้ามีการฟ้อง  ก็สามารถใช้การเจรจาต่อรองกันได้.... แต่การมีหญิงอื่น   ต้องฟ้องภายในหนึ่งปี ที่ ทราบเรื่อง ดังนั้นไม่ต้องไปวิตกในประเด็นนี้มากจนเกินไป  ก็ใช้การเจรจากัน และจดทะเบียนหย่าด้วยความยินยอม  โปกมือลากันอย่างสันติ  น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด  ด้วยความปรารถนาดี ครับ
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 8 เม.ย. 2565, 08:24

ความคิดเห็นที่ 1

ปัญหาชีวิต

  เรื่องการส่งค่าเลี้ยงดู  กฎหมายไม่ได้กำหนดตัวเลขไว้ชัดเจนว่าจะต้องจ่ายกันเท่าไร    เรื่องแบบนี้ เป็นเรื่องทางแพ่ง  ก็ต้องใช้การเจรจากัน  และจ่ายไปตามความเหมาะสมแก่ฐานะ   ถ้าตกลงกันไม่ได้ต้องฟ้องศาล   ศาลก็คงให้เจรจากันก่อน ถ้าการเจรจาไม่เป็นผล   ศาลก็คงกำหนดให้จ่ายในจำนวนที่เหมาะสมแก่ฐานานุรูป  คงไม่ให้จ่ายจนตัวเอง  ต้องแบกภาระแทบจะดำรงชีพพอยู่ไม่ได้  ก็ต้องใช้การเจรจากัน  ทำความเข้าใจกัน  ก็เคยรักกันมานาน  จนแต่งงานกัน จนมีบุตร   ก็ใช้ความสัมพันธ์อันดีแต่หนหลัง เจรจากันไป  น่าจะมีทางออกที่เหมาะสม  ควรหลีกเลี่ยงการฟ้องศาล เพราะไม่คุ้มแน่นอน

  ถ้าจะฟ้องหย่า   ก็ต้องมีเหตุ ตาม ปพพ. ม.1516 มีเหตุให้ฟ้องหย่าได้ 10 ประการ  ก็ลองไปเปิดอ่านดูก็สามารถเข้าใจได้....ก็ดูตามข้อเท็จจริง ถ้าสมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ใช้ฟ้องหย่าได้  แต่การยังไปมาหาสู่กัน อาจจะถือว่ายังไม่แยกกันเด็ดขาด ศาลอาจจะไม่ให้หย่าก็ได้  ก็แล้วแต่ข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป....ถ้าศาลให้หย่า   เรื่องการปกครองบุตร ก็ต้องตกลงกันเองก่อน  ถ้าตกลงกันไม่ได้...   มีหลักกฎหมายระบุไว้ว่า ผู้ที่จะได้อำนาจปกครองบุตร  "ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป็นสำคัญ" (ปพพ. ม.1520) ข้อความสั้นๆ แต่ในทางปฏิบัตถ้ามีการแย่งอำนาจการปกครองบุตร   แต่ละฝ่ายต้องหาพยานหลักฐานมายืนยันให้ศาลเห็นว่า  ตนมีความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรได้ดีกว่า  เช่นมีฐานะดีกว่า  มีสภาพแวดล้อมที่ดีกว่า  มีความพร้อมมากกว่า  ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างที่กล่าวอ้างต้องเพื่อประโยชน์ของบุตรเท่านั้น   ดังนั้นควรใช้การเจรจากันน่าจะดีกว่ามาแย่งอำนาจการปกครองบุตรให้ต้องยุ่งยาก....บางทีศาลอาจจะให้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกัน ดังที่คุณปฏิบัติอยู่ในขณะนี้ ก็ถือว่า ดีแล้ว....เรื่องครอบครัวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน  พ่อแม่ไม่ควรมีปัญหากัน  ซึ่งย่อมกระทบกระเทือนถึงจิตใจของบุตร  ซึ่งคงไม่มีทางเยียวยาได้  ก่อให้เกิดปัญหาสังคมในระยะยาว  ด้วยความปรารถนาดี ครับ
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 7 เม.ย. 2565, 09:57

แสดงความเห็น