WebBoard :กฎหมาย|ที่ดินมรดก

ที่ดินมรดก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ที่ดินมรดก

  • 320
  • 1
  • post on 15 ต.ค. 2564, 11:06

สืบเนื่องมาจากมีญาติเสียชีวิต ซึ่งได้มีทำพินัยกรรมไว้ก่อนเสียชีวิต โดยใจความใน ในพินัยกรรมบางส่วน ระบุ มอบบ้านและที่ดินให้กับทายาท4คน และ ตั้งทายาทคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดก

โดยที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมีโฉนดทั้ง2แปลง  มีแปลงด้านนอกติดถนน 1แปลง มอบให้กับทายาท 2 คนเป็นพี่น้องกัน และ แปลงด้านในไม่ติดถนน 1 แปลง มอบให้กับทายาท 2 คน ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกันและหนึ่งในนั้นเป็นผู้จัดการมรดก โดยในพินัยกรรมระบุว่า “ให้ที่ดินแปลงด้านนอกแบ่งเป็นทางเข้าออก (ถนน) ส่วนกลาง ให้กับแปลงด้านในยาวตลอดแนวโฉนด”  สรุปก็คือต้องมีถนนเข้าออกถนนสำหรับที่แปลงด้านใน

รบกวนสอบถามดังนี้

1. ผู้จัดการมรดกได้ดำเนินการแบ่งโฉนดทีดินแปลงด้านนอกออกเพื่อเป็นทางเข้าออกส่วนกลางให้กับที่ดินแปลงด้านใน ทั้งๆที่มีการทำถนนเป็นทางเข้าออกมานานแล้ว โดยระบุชื่อในโฉนดเป็นชื่อตัวเอง + (ผู้จัดการมรดกของ ผู้เสียชีวิต) ตรงนี้ขอเรียนถามว่าผู้จัดการมรดกดำเนินการแบ่งโฉนดออกนั้นทำถูกต้องหรือไม่ และ โฉนดฉบับนี้ควรจะต้องโอนเป็นกรรมสิทธิ์ของใครในภายหลัง.

2.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโฉนดแปลงด้านใน มอบให้กับทายาท 2 คน คน ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกันและหนึ่งในนั้นเป็นผู้จัดการมรดก โดยผู้จัดการมรดกเก็บโฉนดที่ดินตัวจริงไว้และย้ายตัวเองเข้ามาเป็นเจ้าบ้าน  เท่ากับว่ามีสิทธิ์ในการครอบครองมากกว่าอีกคนหนึ่งหรือไม่

ขอบคุณมากค่ะ
วรรณัฐ นิรทุกข์
โดยคุณ วรรณณัฐ (xxx) 15 ต.ค. 2564, 11:06

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ผู้จัดการมรดก


 อำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดก คือต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก  มีทายาทรับรองอย่างน้อยสองคน  และต้องเรียกประชุมทายาท เพื่อแบ่งปันมรดก...


1. ผู้จัดการมรดกได้ดำเนินการแบ่งโฉนดทีดินแปลงด้านนอกออกเพื่อเป็นทางเข้าออกส่วนกลางให้กับที่ดินแปลงด้านใน ทั้งๆที่มีการทำถนนเป็นทางเข้าออกมานานแล้ว โดยระบุชื่อในโฉนดเป็นชื่อตัวเอง + (ผู้จัดการมรดกของ ผู้เสียชีวิต) ตรงนี้ขอเรียนถามว่าผู้จัดการมรดกดำเนินการแบ่งโฉนดออกนั้นทำถูกต้องหรือไม่ และ โฉนดฉบับนี้ควรจะต้องโอนเป็นกรรมสิทธิ์ของใครในภายหลัง.

ตอบ...ถนนเข้าออกนั้น มีระบุให้แผนที่โฉนดหรือไม่  ถ้ายังไม่มีระบุในแผนผังโฉนดก็ต้องรังวัด เพื่อทำทางเข้าออก ตามพินัยกรรม  ที่ดินจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทตามพินัยกรรม  ในเมื่อผู้จัดการมรดก ได้รับมรดกที่ดินแปลงใน  ก็สามารถโอนทที่ดินเป็นของเขา และ น้องอีกคนตามพินัยกรรมได้

2.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโฉนดแปลงด้านใน มอบให้กับทายาท 2 คน คน ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกันและหนึ่งในนั้นเป็นผู้จัดการมรดก โดยผู้จัดการมรดกเก็บโฉนดที่ดินตัวจริงไว้และย้ายตัวเองเข้ามาเป็นเจ้าบ้าน  เท่ากับว่ามีสิทธิ์ในการครอบครองมากกว่าอีกคนหนึ่งหรือไม่

ตอบ...ที่ดินแปลงใน  ต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของสองคน ตามพินัยกรรม การที่ผู้จัดการมรดกย้ายเข้ามาอยู่  ก็ไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ดีกว่าอีกคน  ถือว่าถือกรรมสิทธิ์แทนอีกคนหนึ่ง   แต่เพื่อป้องกันปัญหา  ก็ให้ทายาทตามพินัยกรรมอีกคนขอเพิ่มชื่อของตนในโฉนดที่ดินแปลงในได้  ถ้าเพิกเฉยหรือตุกติก  ก็ร้องศาล ให้ถอดถอนการเป็นผู้จัดการมรดกได้...ผู้จัดการมรดก   ไม่ได้มีอำนาจมากมาย ตามที่บางคนเข้าใจ  ผู้จัดการมรดกเป็นเพียงตัวแทนของเจ้ามรดกู้ตาย  ในการแบ่งปันทรัพย์สิน ให้ทายาท ในกรณีมีพินัยกรรมก็ต้องแบ่งปันไปตามพินัยกรรม   ไม่ใช่แบ่งปันตามอำเภอใจของผู้จัดการมรดก    ถ้ามีเจตนายักยอกมรดก คือไม่ยอมแบ่งปัน ให้ทายาท  ก็เข้าข่ายยักยอกมรดก  มีโทษถึงจำคุก  ถ้าเจรจาให้เขาเพิ่มชื่ออีกคนไม่เป็นผล  ก็แจ้งความดำเนินคดีฐานยักยอกมรดกได้....

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 16 ต.ค. 2564, 10:13

แสดงความเห็น