WebBoard :กฎหมาย|สัญญากู้ยืมเงินควรใช้แบบไหน

สัญญากู้ยืมเงินควรใช้แบบไหน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

สัญญากู้ยืมเงินควรใช้แบบไหน

  • 284
  • 1
  • post on 5 พ.ค. 2564, 11:13

ปัจจุบันเห็นมีการเผยแพร่ สัญญากู้ยืมเงินแบบใหม่..แต่ในบางท่านก็ยังเผยแพร่สัญญากุูยืมเงิน(แบบเดิม)..ขอรบกวนผู่้รู้ว่าปัจจุบันเราควรใช้แบบไหนดีครับ..

..ขอบคุณครับ..

โดยคุณ ตันติกร (172.68.xxx.xxx) 5 พ.ค. 2564, 11:13

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

หลักฐานการกู้ยืมเงิน

  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาท ต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเงิน..ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ    จึงจะฟ้องร้องบังคับได้ ( ปพพ. ม.563)...ดังนั้นหลักฐานการกู้ยืมเงิน  จะทำในรูปแบบใดก็ย่อมได้เสมอ  เพียงมีเนื้อความว่า กู้เมื่อเมื่อไหร่ (วันเดือนปี) จำนวนเงินกู้เท่าไร  และลงลายมือชื่อผู้กู้ ดังนั้น จึงมีการทำสัญญากู้ยืมเงิน ออกจำหน่ายในท้องตลาด ในรูปแบบต่างๆมากมาย ถ้ารูปแบบสัญญานั้น อยู่ในเงื่อนไข ดังกล่าว  ก็ใช้ได้เสมอ...แต่สัญญาฯที่ขายในท้องตลาด  มักมีช่องสีเหลี่ยมให้ปิดอากรแสตมป์ ซึ่งถ้าใช้สัญญาสำเร็จรูปแบบนี้  ก็น่าจะต้องปิดอากรฯ ให้ครบถ้วน และขีดฆ่าลงวันเดือนปี ลงลายมือผู้ขีดฆ่า(อัตราอากรฯ  เงินกู้2,000  บาท ต่ออากรฯ 1 บาท ผู้จ่ายอากรฯคือ ผู้ให้กู้  ผู้ขีดฆ่าคือผู้กู้ ) ถ้าไมปิดอากรฯ อาจจะใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องไม่ได้...ส่วนหลักฐานการกู้กู้ยืมเงิน ที่เขียนขึ้นเอง  และลงลายมือชื่อผู้กู้  น่าจะไม่ต้องปิดอากรฯ แต่...เรื่องนี้  เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ถ้าผู้กู้โต้แย้งขึ้นมาเมื่อถูกฟ้อง  ก็อาจจะเกิดปัญหาขึ้นมาได้  ตามความเห็น ถ้าใช้สัญญาสำเร็จรูป  ที่ขายในท้องตลาด  ก็น่าจะปลอดภัย  เพราะเขียนครอบคลุมไว้ทุกเรื่อง และมีที่ว่าง  ให้อากรฯได้สะดวก  ก็ไม่ต้องไปเสียดายเงินค่าอากรฯ เพราะมีราคาเพียงเล็กน้อย  แต่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย  ที่ผู้กู้โต้แย้งไม่ได้....แต่ถ้าผู้กู้ไม่มีทรัพย์สินอะไรให้ยึด  การฟ้องฯก็แทบไม่เกิดประโยชน์  ดังนั้นการกู้ยืมเงิน ที่สถาบันการเงินเขาทำกันคือ ต้องมีผู้ค้ำประกัน และมีหลักทรัพย์มาจดจำนอง เพื่อค้ำประกันเงินกู้  ด้วยความปรารถนาดี ครับ
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 6 พ.ค. 2564, 07:21

แสดงความเห็น