ตาปลูกบ้านบนที่หลวง ไม่มีเลขที่บ้าน ต่อมาป่วยเป็นมะเร็งมีหลานสาวมาดูแล(แต่เพื่อนบ้านรู้ในนามภรรยา) ระยะเวลาประมาณ 10 ปี ต่อมาตามาตาย ก่อนตายรับปากจะยกบ้านให้เพราะเป็นดูแลตอนเป็นมะเร็ง แต่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่เพื่อนบ้านรู้กันหมด ตอนนี้พี่สาวตาอยากได้บ้านจึงบอกไล่หลานให้ออกจากบ้านโดยใช้สิทธิ์พี่สาว ถ้าไม่ออกจะฟ้องขับไล่ อยากรู้ว่าจะสามารถฟ้องขับไล่ได้ไหม เพราะบ้านสร้างบนที่หลวง
การจัดการมรดก
แม้เป็นที่หลวง ถ้าคุณตาได้รับอนุญาตให้ปลูกบ้านได้ คุณตาก็ย่อมเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในตัวบ้านหลังนั้น แต่ไม่กรรมสิทธิ์ในที่ดิน... เมื่อคุณตาได้ตายลง บ้านหลังนี้ย่อมจะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม อันได้แก่ ภรรยาของคุณตา และ ลูกๆของคุณตา หรือหลานที่สามารถรับมรดกแทนที่...ก็ต้องมาไล่เลียงดูว่า คุณตามีบุตรกี่คน ก็ตกลงแบ่งปันมรดกกันไป หรืออาจจะร้องศาลขอเป็นผู้จัดการมรดก เพื่อจะจัดการมรดก โดยแบ่งปันแก่ทายาทตามสิทธิของแต่ละราย...
ตามที่ถาม พี่สาวของคุณน่าจะไม่มีสิทธิ์รับมรดกของคุณตา เพราะเป็นทายาทชั้นที่ 3 (คือพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน) พี่สาวของคุณตาอาจจะรับมรดกได้ ต้องเป็นกรณีที่ คุณตา ไม่มีบุตร(ผู้สืบสันดาน หรือทายาทชั้นที่1) ถ้าคุณตามีบุตร พี่สาวของคุณตาย่อมถูกตัดสิทธิ์ในกองมรดกโดยผลของกฎหมาย ถ้าคุณเป็นหลาน(เป็นบุตรคนใดคนหนึ่งของบุตรคุณตา ถ้าบุตรของคุณตาเสียชีวิตแล้ว คุณผู้เป็นหลาน ก็สามารถรับมรดกแทนที่ พ่อหรือแม่ได้ และถือเป็นทายาทชั้นที่ 1 คือผู้สืบสันดาน ย่อมมีสิทธิ์ดีกว่า พี่สาวของคุณตา)
ถ้าพี่สาวของคุณตา ฟ้องขับไล่ ก็ต้องยื่นคำให้การต่อสู้ว่า พี่สาวของคุณตา ไม่ได้มีส่วนได้เสียในบ้าน
หลังนี้ จึงฟ้องขับไล่ไม่ได้ ถ้าไม่ยื่นคำให้การต่อสู้ไว้ ตามกำหนดนัด คงไม่มีประเด็นนำสืบได้ว่า พี่สาวของคุณตาไม่มีสิทธิ์ในบ้านหลังนี้อย่างไร อาจจะแพ้คดีได้ง่ายๆ (อาจจะต้องมีทนายความช่วยเหลือ หรือให้นิติกรของศาล ช่วยเหลือในการยื่นคำให้การต่อสู้ไว้)
กรณีคุณตา ออกปากว่าจะมอบหลังนี้ให้หลานสาว (ตัวคุณ)แม้จะมีพยานรู้เห็นทั้งหมู่บ้าน คำพูดนั้นจะไม่มีผลเป็นพินัยกรรม(ต้องมีแบบเป็นหนังสือ..ที่ถูกต้อง) ดังนั้นคุณจึงไม่ได้รับมรดกบ้านหลังนี้ ตามที่คุณตา ออกปากยกให้.......แต่คุณก็มีสิทธิ์รับมรดกในฐานะทายาทโดย
ธรรม หนึ่งส่วน คือรับมรดกแทนที่ คุณพ่อคุณแม่ อันเป็นบุตรของคุณตา(ถ้าคุณพ่อหรือคุณแม่อันเป็นบุตรของตาเสียชีวิตแล้ว) แต่..ถ้าคุณพ่อหรือคุณแม่ อันเป็นบุตรของคุณตา ยังมีชีวิตอยู่ คุณก็ไม่มีสิทธิ์รับมรดกแทนที่
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องทางแพ่ง ถ้าทายาทโดยธรรมของคุณตาทุกราย อันได้แก่ ภรรยาของคุณตา บุตรของคุณตา ทุกคน พร้อมใจกันมอบมรดกบ้านหลังนี้ให้คุณ ผู้เป็นหลาน เพียงผู้เดียวก็สามารถทำได้ โดยต้องแสดงเจตนาสละมรดก ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำบันทึกมอบมรดกให้คุณผู้เดียว ก็สามารถทำได้ ไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย...บางทีญาติ(ผู้มีสิทธิ์รับมรดก) อาจจะยึดมั่นคำสั่งเสียของคุณตา ยินยอมพร้อมใจกันปฏิบัติตามโดยดี ก็มีทางเป็นไปได้ แต่ถ้าเขาไม่ยินยอม ก็ต้องแบ่งปันมรดกเป็นส่วนๆตามจำนวนทายาท...ด้วยความ
ปรารถนา ครับ
ปรารถนาดี...
ปรึกษากฎหมาย โทร.02-948-5700,02-939-1291,081-625-2161, 081-916-7810 ในเวลาราชการ( วันจันทร์-วันศุกร์)
ปรึกษาคดีหมิ่นประมาท,คดีเช่าซื้อ,คดีกู้ยืม,คดีค้ำประกัน โทร.081-916-7810
*********************************************
รับฟังการ Live สด ให้ความรู้ทางด้านกฎหมายและการเมือง
ทาง facebook : ทนายคลายทุกข์ และ YouTube : ทนายคลายทุกข์ ได้ทุกวันครับ
*************************