WebBoard :กฎหมาย|บุคคลจิตเวช

บุคคลจิตเวช

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

บุคคลจิตเวช

  • 222
  • 1
  • post on 15 ม.ค. 2564, 11:31

บุคคลจิตเวชซึ่งอยู่ระหว่างรักษาทานยาของโรงพยาบาลจิตเวช..มีอาการเพ้อ..ถอดเสื้อผ้า..และได้กระทำความผิดโดยปีนรั้วบ้านเข้าไป..แล้วหยิบอาวุธเหล็กในบริเวณบ้านทุบทำลายรถยนต์..หลังก่อเหตุได้ 1 วันตำรวจตามตัวไปสอบสวนได้ความว่า

      1.ตรวจหาสารเสพติดไม่พบ 

      2.สอบสวน..บุคคลจิตเวชให้การรู้เรื่องและจำเหตุการที่ได้กระทำไปได้โดยกล่าวอ้างว่าควบคุมตัวเองไม่ได้

**ขออนุญาตสอบถาม**

       1.ตามข้อเท็จจริงถือว่าเป็นบุคคลวิกลจริตหรือไม่

       2.หากไม่เข้าหลักเป็นบุคคลวิกลจริต..การดำเนินการของพนักงานสอบสวนต้องดำเนินการอย่างไร

       3.หากนายแพทย์..มีความเห็นว่าให้ส่งตัวไปรักษาโรงพยาบาลจิตเวช..จะดำเนินคดีอย่างไร

--ขอบคุณครับ--

   

โดยคุณ ตันติกร (172.68.xxx.xxx) 15 ม.ค. 2564, 11:31

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

บุคคลวิกลจริต


1.ตามข้อเท็จจริงถือว่าเป็นบุคคลวิกลจริตหรือไม่

ตอบ...คงเป็นคนวิกลจริต ตามความเป็นจริง  แต่ถ้า ญาติ(คู่สมรส  บิดามารดาฯ หรืออัยการ) ยังไม่ร้องต่อศาล ให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ  ให้อยู่ในความอนุบาล และประกาศในราชกิจจานุเบกขา  ก็ยังไม่เป็นบุคคลวิกลจริต ตามกฎหมาย

       2.หากไม่เข้าหลักเป็นบุคคลวิกลจริต..การดำเนินการของพนักงานสอบสวนต้องดำเนินการอย่างไร

ตอบ...พนง.สอบสวน ก็ต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนไปตามข้อเท็จจริง  ส่วนจะมีข้อยกเว้นในการกระทำความผิด  หรือมีเหตุบรรเทาโทษหรือไม่ อย่างไร  ก็เป็นหน้าที่ของผู้ก่อเหตุ หรือ ญาติผู้ก่อเหตุ ต้องนำพยานหลักฐานมานำสืบให้ศาลเห็นข้อเท็จจริงนั้น

       3.หากนายแพทย์..มีความเห็นว่าให้ส่งตัวไปรักษาโรงพยาบาลจิตเวช..จะดำเนินคดีอย่างไร

ตอบ...โดยหลัก ศาลก็ต้องรับฟังความเห็นของแพทย์เป็นสำคัญ และยึดถือตามหลักการของ ปอ. ม.65 (กระทำความผิดขณะไม่สามารถรับรู้ผิดชอบ หรือจิตบกพร่องฯ)ซึ่งผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ ศาลอาจจะให้ส่งตัวไปรักษาฯ ตามความเห็นของแพทย์...แต่...ความรับผิดทางแพ่ง  ไม่น่าจะสิ้นสุด   ผู้เสียหายจึงสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ในความเสียหายที่ผู้ก่อเหตุกระทำลงไปได้ เช่น ทุบบ้าน ทุบรถยนต์  ถ้าผู้ก่อเหตุไม่อยู่ในฐานะที่จะรับผิดชอบได้   ผู้ที่ดูแลผู้ก่อเหตุตามความเป็นจริง(แม้ศาลไม่ได้สั่ง) ต้องรับผิดชอบในความเสียหาย

นั้น ตาม ปพพ. ม.430 เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ที่ดูแลนั้น...

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 17 ม.ค. 2564, 06:12

แสดงความเห็น