WebBoard :กฎหมาย|ความต้องรับผิดชอบทางแพ่ง ในฐานะทายาท (หนี้ที่มิได้ก่อขึ้นเอง)

ความต้องรับผิดชอบทางแพ่ง ในฐานะทายาท (หนี้ที่มิได้ก่อขึ้นเอง)

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ความต้องรับผิดชอบทางแพ่ง ในฐานะทายาท (หนี้ที่มิได้ก่อขึ้นเอง)

  • 549
  • 2
  • post on 9 มี.ค. 2563, 17:44

       ปัญหา เมื่อ 4 มีนาคม63 สรรพสามิตพื้นที่เพชรบูรณ์มีหนังสือถึงกระผมให้ส่งเงินคืนที่ได้รับตามเงื่อนไขมาตรการรถยนต์คันแรก ซึ่งซื้อโดยบุตร (ขณะซื้ออายุประมาณ 30 ปีเศษ) แล้วผิดสัญญาถูกยึดรถยนต์คืนก่อนครบกำหนด5ปี เนื่องจากบุตรได้เสียชีวิตลง สรรพสามิตฯ อ้างว่ากระผมเป็นทายาท ต้องชดใช้เงินจำนวน ๖๕,๐๐๐บาทพร้อมดอกเบี้ย หากเพิกเฉยจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

       ข้อมูล   1)กระผม และมารดา ของบุตรหย่าร้างกันตามกฎหมาย เมื่อปี34 ขณะนั้ันบุตรมีอายุ 10 ขวบ มีบันทึกฝ่ายปกครองในการหย่า ว่าให้มารดาเป็นผู้ปกครอง กระผมมีหน้าที่ส่งเสียเลี้ยงดูจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ

                 2)การทำนิติกรรมเช่าซื้อรถยนต์ตามโครงการข้างต้น กระผมไม่มีส่วนรู้เห็น กระผมไม่เคยลงนามค้ำประกันหรือเป็นพยานใดๆ ทั้งสิ้น (นับแต่หย่าร้าง กระผมและบุตร มิเคยพบปะหรือมีกิจกรรมใดๆร่วมกันลย)

       ขออนุเคราะห์คำแนะนำว่า กระผมจะทำประการใดดี  ...ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

โดยคุณ สุพจน์ พร้อมเพียรพันธ์ (172.68.xxx.xxx) 9 มี.ค. 2563, 17:44

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

ขอขอบพระคุณ ครับท่านมโนธรรม   ... ผมสบายใจขึ้นเลยครับ   จะปฏิบัติตามที่ท่านแนะนำครับ
โดยคุณ สุพจน์ 10 มี.ค. 2563, 10:03

ความคิดเห็นที่ 1

การร่วมรับผิดของทายาท

    หลักกฎหมาย..."ทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน"  ตาม ปพพ. ม.1601...
   ตามข้อเท็จจริง  แม้จะมีการหย่า  แต่ความเป็นบิดาและบุตร ย่อมไม่มีการสิ้นสุด  เมื่อบุตรตายลง  คุณก็เป็นทายาทโดยธรรม ที่รับมรดกของบุตรได้ สรรพสามิต จึงมีหนังสือเตือนให้คุณชำระหนี้ ที่บุตรยังคงค้าง  แต่ตามหลักกฎหมายข้างต้น  ถ้าคุณไม่ได้รับมรดกใดๆจากบุตรเลย  คุณจึงไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้นี้.....แต่ถ้ามีการฟ้องทายาทให้ต้องร่วมรับผิด  คุณต้องไปยื่นคำให้การที่ศาล ตามนัด  เพื่อแถลงข้อเท็จจริงให้ศาลทราบว่า คุณไม่ได้รับมรดกจากบุตร  คุณจึงไม่ต้องร่วมรับผิด....อย่าไปหลงเชื่อคำพูดของคนฉลาดน้อยที่ยุยงว่า  ถ้ามีหมายศาลมาอย่าไปรับ  ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดๆ เพราะแม้ไม่มีการรับหมาย  ก็มีวิธีการวางหมาย  หรือปิดหมาย  ซึ่งมีผลว่า จำเลยได้รับคำฟ้องโดยชอบแล้ว  แม้บางคนดื้อแพ่ง  ไม่ยอมไปศาลตามนัด ก็มีกระบวนการพิจารณาคดีไปโดยฝ่ายเดียว (การขาดนัด)ผลก็คือ ศาลคงให้ใช้หนี้โจทก์ตามที่ถูกฟ้อง ซึ่งย่อมมีความยุ่งยากตามมามากมาย...ดังนั้นไม่ต้องหลบฯ  รับหมายศาล และอ่านให้เข้าใจ ปฏิบัติตามขั้นตอนให้ถูกต้อง ก็จะไม่มีปัญหาใดๆ   ด้วยความปรารถนาดี ครับ
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 10 มี.ค. 2563, 08:11

แสดงความเห็น