WebBoard :กฎหมาย|สินสมรส หลังการบันทึกหย่าโดยการยินยอม

สินสมรส หลังการบันทึกหย่าโดยการยินยอม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

สินสมรส หลังการบันทึกหย่าโดยการยินยอม

  • 833
  • 3
  • post on 10 ก.พ. 2563, 16:55

เรียนปรึกษาเรื่องสินสมรสหลังการหย่าโดยการยินยอม รายละเอียดดังนี้

    ก่อนหย่า 

          -มีบ้านพร้อมที่ดินมรดกจากยายให้แม่หลังจากแต่งงานและสมรสกับพ่อ

               - โดยแม่ใช้ชื่อพ่อในการลงบันทึกในใบแสดงครองครองที่ดิน (สค.1)

          -มีบุตรด้วยกัน 2คน

          -ปี พ.ศ.  2523 พ่อกับแม่ได้จนบันทึกหย่าโดยความยินยอม

     หลังหย่า

           - ลูกทั้งสองคนอยู่ในการอุปการะเลี้ยงดูแม่ โดยไม่มีการเรียกร้องใดจากพ่อ

           - พ่อแต่งงานกับผู้หญิงคนใหม่และจดทะเบียนสมรสแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน (มีแต่ลูกติดจากฝ่ายหญิง)

           - ปี พ.ศ. 2527 แม่แต่งงานกับผู้ชายคนใหม่และจดทะเบียนสมรสกันต่อมามีบุตร 2 คน

           - ปี พ.ศ. 2562 พ่อได้เสียชีวิตลง

คำถาม

         1. ขั้นตอนที่แม่จะทำการขอเอกสารสิทธิ์ที่ดิน (โฉนด)และเปลี่ยนชื่อผู้ครองครองเป็นแม่ต้องทำ

อย่างไร 

         2. พ่อยังมีสิทธิ์ในสินสมรสหรือไม่และภรรยาใหม่ที่จดสมรส มีสิทธิ์เรียกร้องใด ๆ  หรือไม่


           


โดยคุณ vitsuwat (172.69.xxx.xxx) 10 ก.พ. 2563, 16:55

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

ขอบคุณครับ...กรณ๊นี้ถ้ารอภรรยาใหม่เสียชีวิตจะง่ายขึ้นไหมครับ...เพราะคงไกล่เกลี่ยยาก....แล้วข้อประมวลที่ว่าด้วยการเรียกร้องสินสมรสต้องทำภายในสิบปีเท่านั้นล่ะครับ...กรณีนี้จดทะเบียนหย่ามากกว่า 40 ปี

โดยคุณ vitsuwat 11 ก.พ. 2563, 08:52

ความคิดเห็นที่ 2

เพิ่มเติม...


  ปัจจุบัน  มีระบบการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง  ถ้าตกลงกันไม่ได้  ก็ไปติดต่อศาล ขอให้มีการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องได้..โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 11 ก.พ. 2563, 04:08

ความคิดเห็นที่ 1

สินส่วนตัว/สินสมรส


  บ้านพร้อมที่ดิน ที่คุณยาย ยกให้แม่ หลังสมรส  ก็คงกลายเป็นสินสมรส  เว้นแต่จะระบุไว้ชัดเจนว่า  ยายมอบให้เป็นสินส่วนตัว  แต่น่าจะไม่มีการระบุไว้  และการให้คุณพ่อลงชื่อในเอกสารสิทธิ์  ก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า ที่ดินเป็นสินสมรส ที่พ่อแม่ มีสิทธิคนละเท่าๆกัน  เมื่อพ่อเสียชีวิตลง  ที่ดินจึงกลายเป็นมรดก  ตกทอดแก่ทายาท อันได้แก่คุณแม่ รวมลูก ทั้งสองคน และภรรยาใหม่   คือคุณแม่จะได้รับส่วนแบ่งไปกึ่งหนึ่ง  ในฐานะคู่สมรส(แม้หย่าแต่ยังไม่แบ่งปันทรัพย์สิน สภาพที่ดิน ก็ยังเป็นสินสมรส) ที่เหลือกึ่งหนึ่ง  แบ่งสามส่วนเท่าๆกัน คือลูกสองคน และภรรยาใหม่ ส่วนลูกติดภรรยาใหม่ ไม่มีสิทธิมาแบ่งปันที่ดินอันเป็นมรดกแปลงนี้  ควรใช้การเจรจาแบ่งปันกันอย่างสันติ หลีกเลี่ยงการมีคดีฟ้องร้อง เพราะจะสูญเสียทั้่งสองฝ่าย  ก็ใช้วิธีตีราคาเป็นเงิน  และแบ่งเงินให้ภรรยาใหม่ 1 ส่วน (จากสามส่วนของกึ่งหนึ่ง) ควรมีคนกลางที่เป็นธรรมและน่าเชื่อถือ ช่วยเคลียร์ปัญหาให้  เช่นการไกล่เกลี่ยของศาล เป็นต้น...

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 11 ก.พ. 2563, 04:06

แสดงความเห็น