WebBoard :กฎหมาย|การเบิกจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการ

การเบิกจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

การเบิกจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการ

  • 468
  • 1
  • post on 23 ส.ค. 2562, 18:11

สวัสดีครับ ปัจจุบันผมทำงานหน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่ง (ขอสงวนชื่อและสถานที่ครับ) การปฏิบัติงานทุกอย่าง จำเป็นต้องยึดถือในตัวบทกฎหมาย หนังสือสั่งการต่าง ๆ อย่างในกรณีที่ผมจะตั้งประเด็นนี้ก็เช่นเดียวกันครับ เกี่ยวกับสิทธิที่สมควรจะได้รับตามตัวบทแห่งกฎหมาย คือ การเบิกจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการในคณะต่าง ๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวคือ

       ตามพระราชบัญญัตติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ที่มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2560 ซึ่งในมาตรา 61 วรรคสาม มาตรา 100 มาตรา 101 ววรคสาม และประกาศคณะกรรมการคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2560 ข้อ 2.1.17 ได้กำหนดให้บุคคลหรือในรูปของคณะกรรมการผู้ได้รับการแต่งตั้ง ให้ได้รับค่าตอบแทนตามที่กระทรวงการคลังกำหนด และต่อมากระทรวงการคลังได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค 0402.5/ว 85 ลงวันที่ 6 กันยายน 2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคคลหรือคณะกรรมการ ซึ่งยกเลิกหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0402.5/ว 156 ลงวันที่ 19 กันยายน 2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคคลหรือคณะกรรมการ ทำให้บุคคลหรือคณะกรรมการ เสียสิทธิพึงมีพึงได้ตามกฎหมาย (ในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 - 2561) และจนถึงปัจจุบัน (ปีงบประมาณ พ.ศ.2562) ผมและบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งตาม พรบ.และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 เนื่องจากทางหน่วยงานของผมยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทน ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค 0402.5/ว 85 ลงวันที่ 6 กันยายน 2561 ในข้อ 6 "หัวหน้าหน่วยงานของรัฐสามารถกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราการจ่ายค่าตอบแทนบุคคลนหรือคณะกรรมการ เพื่อเป็นการควบคุมการเบิกจ่ายและการบริหารงบประมาณได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม" โดยใช้หลักเกณฑ์ตามหนังสือ (ว85 นี้) เป็นกำหนด ครับ และณ ปัจจุบัน ก็ไม่มีท่าทีที่จะปฏิบัติตามหนังสือนี้เลย

      ผมจึงขอสอบถามมรายังอาจารย์ ครับว่า จะมีวิธีการใดบ้าง ดำเนินการทางกฎหมายและวินัยกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ เบื้องต้น ผมได้ร้องเรียนและกล่าวโทษ ไปยัง ปปช. และร้องขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับสิทธิที่จะไ้ดรับต่อ ผู้ตรวจการแผ่นดิน นายอำเภอ และกรมส่งเสริมฯ แล้ว แต่เรื่องก็เงียบอยู่จนถึงทุกวันนี้ครับ

    

จึงอยากได้คำชี้แนะแนวทางจากอาจารย์ครับ
ขอขอบคุณอาจารย์มากครับ

โดยคุณ danny2014082 (172.68.xxx.xxx) 23 ส.ค. 2562, 18:11

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การปฏิบัติหน้าที่ี


  ถ้าว่ากันตามกฎหมาย   ก็ฟ้องผู้ที่เกี่ยวข้องได้ เช่น นายกฯ  คลังฯ ในผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ปอ. ม.157 มีโทษจำคุก  1-10 ปี...ถ้าคุณฟ้องคงวงแตก  ก็คงมีการต่อสู้คดีกันจนถึงที่สุด  คงบอบช้ำทั้งสองฝ่าย  คุณก็เสมือนเอาไม้ซีกไปงัดไม่ซุง คงหักสะบั้น  อาจหาที่ยืนลำบากในสังคม   อาจฟื้นฝอยหาความผิดของคุณมาตอบโต้  คุณคงอยู่ไม่เป็นสุข  ...ขอแแนะนำให้ใช้การเจรจากัน  เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมดีที่สุด ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 24 ส.ค. 2562, 07:59

แสดงความเห็น