WebBoard :กฎหมาย|ผู้ค้ำประกัน ธนาคารออมสิน

ผู้ค้ำประกัน ธนาคารออมสิน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ผู้ค้ำประกัน ธนาคารออมสิน

  • 432
  • 2
  • post on 18 ก.ค. 2562, 16:10

ผมเป็นผู้ค้ำประกัน สินเชื่อส่วนบุคคล ของธนาคารออมสิน ให้กับเพื่อนคนหนึ่งครับ จำนวนเงิน400,000บาท ช่วงนี้เพื่อนขาดส่งและค้างชำระอยู่บ่อยๆ มีใบทวงถามมาที่บ้าน2-3เดือนติดๆกัน อยากสอบถามว่า ถ้าเพื่อนหยุดการชำระเงินหรือไม่ส่ง ผมในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องทำอย่างไรต่อไป และจะมีผลอะไรเกี่ยวกับทางกฏหมายบ้างครับ ขอคำชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณครับ.

โดยคุณ Kunlapat149 (162.158.xxx.xxx) 18 ก.ค. 2562, 16:10

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

สอบถามต่อจากความเห็นที่ 1 ค่่ะ  ถ้าเจ้าหนี้สามารถอายัดเงินเดือนลูกหนี้ได้ แต่ผู้ค้ำมีทรัพย์สินให้ยึดซึ่งถ้ายึดแล้วสามารถขายได้คลุมตัวหนี้เลย  แบงค์มีสิทธิมายึดบ้านผู้ค้ำก่อนได้ไหมคะ และ

โดยคุณ jane.lalisa159 20 ก.ค. 2562, 03:34

ตอบความคิดเห็นที่ 2

การค้ำประกัน(ต่อ)


  ก็ดังที่ตอบแล้ว  ถ้าสัญญาทำขึ้นหลัง ปี 2557  ผู้ค้ำประกัน ไม่ต้องเป็นลูกหนี้ร่วม  ถ้าเจ้าหนี้ยังสามารถเรียกรับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้  ผู้ค้ำฯก็สามารถแจ้งให้เรียกร้องจากลูกหนี้ก่อนได้  ถ้ายังมาเรียกเก็บจากผู้ค้ำฯ ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องทางศาล...แต่ถ้าสัญญาทำก่อนปี 2557  ผู้ค้ำฯคือลูกหนี้ร่วม ไม่สามารถใช้สิทธิบ่ายเบี่ยงได้  ต้องชำระหนี้ ตามที่เจ้าหนี้เรียกร้อง..

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 20 ก.ค. 2562, 07:31

ความคิดเห็นที่ 1

การค้ำประกัน

  ถ้าเป็นการค้ำประกัน ตามกฎหมายเดิม (ก่อน ปี 2557)  ผู้ค้ำประกัน จะเป็นลูกหนี้ร่วม  ถ้าลูกหนี้  ไม่ยอมใช้หนี้  เจ้าหนี้ สามารถติดตามทวงถามจากผู้ค้ำประกัน ได้ทันที โดยผู้ค้ำประกัน  ไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ  คือต้องใช้หนี้ ตามที่ถูกเรียกร้องตามเกณฑ์ที่ลูกหนี้ ได้ทำสัญญาไว้... แต่ถ้าเป็นสัญญากู้ยืมหลังปี 2557 ผู้ค้ำประกัน จะรับผิดเฉพาะจำนวนหนี้ระบุไว้  ไม่ต้องเป็นลูกหนี้ร่วม   ถ้าเจ้าหนี้ เรียกร้องให้ผู้ค้ำฯชำระหนี้  ผู้ค้ำฯ สามารถใช้สิทธิ โต้แย้ง คือ ให้เรียกร้องจากลูกหนี้ก่อน ( ปพพ. ม.688)...ถ้าการเรียกร้องจากลูกหนี้ไม่เป็นการยาก  ก็ให้เจ้าหนี้ เรียกร้องจากลูกหนี้ก่อน (ม.689)...ถ้าเจ้าหนี้ มีทรัพย์ของลูกหนี้ค้ำประกันการกู้ยืมไว้  ก็ให้บังคับจากทรัพย์นั้ันก่อน ( ม.690)...

  อย่างไรก็ตาม  ถ้าผู้ค้ำฯ  ต้องใช้หนี้ แทนลูกหนี้ไป   ผู้ค้ำฯก็สามารถใช้สิทธิฟ้องไล่เบี้ยคืนจากลูกหนี้ได้( ม.693) แต่...แม้แต่หนี้ที่เขากู้ยืมเขายังไม่ยอมจ่าย การฟ้องไล่เบี้ยคืน แม้ทำได้  แต่ความหวังที่จะได้เงินคืน คงเลือนลาง  เพราะการค้ำประกัน  คือจุดเริ่มต้นแห่งความหายนะของชีวิต  ถ้าไม่ยอมค้ำประกันให้  ก็คงถูกตำหนิว่า ไร้น้ำใจ สุดท้ายก็ต้องใช้หนี้แทนผู้อื่น  ผู้ตอบก็เคยประสบมาแล้ว ทั้งๆที่รู้  แต่ก็ขัดไม่ได้  เพราะเป็นเพื่อน เป็นญาติ  สุดท้าย ก็ต้องใช้หนี้ทั้งที่ไม่ได้ก่อ...
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 19 ก.ค. 2562, 08:19

แสดงความเห็น