WebBoard :กฎหมาย|การเบ่งเงินค่าฌาปนกิจของลูกโดยชอบธรรมกับภรรยาใหม่พ่อ

การเบ่งเงินค่าฌาปนกิจของลูกโดยชอบธรรมกับภรรยาใหม่พ่อ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

การเบ่งเงินค่าฌาปนกิจของลูกโดยชอบธรรมกับภรรยาใหม่พ่อ

  • 268
  • 2
  • post on 11 ก.ค. 2562, 16:47

สวัสดีค่ะ หนูขออนุญาตสอบถามนะคะ

พ่อกับแม่หนูแยกทางกันได้มาประมาณ15ปีแล้วปีแล้ว  พ่อหนูท่านเพิ่งเสียไป เขาเคยรับราชการแล้วมีในส่วนของสมาชิกฌาปนกิจแต่หลังจากที่เลิกกับแม่หนู ท่านไม่ส่งต่อค่าสมาชิกเลย เป็นแม่หนูที่ส่งมาตลอด จนตอนนี้หนูทำงานแล้ว หนูเลยรับหน้าที่ส่งต่อแทน รวมๆแล้วหนูกับแม่ส่งมาได้ สิบกว่าปี พ่อหนูเค้ามีภรรยาใหม่แต่ไม่ได้จดทะเบียนและไม่ได้มีลูกด้วยกัน คบกันมาประมาณ5ปี  และในส่วนชื่อผู้รับผลประโยชน์ที่รับค่าฌาปนกิจคือ แม่หนู พี่สาวหนู และตัวหนูเอง รวมแล้ว3คน 

ที่นี่ภรรยาใหม่พ่อ เค้าจะขอให้แบ่ง4คนเท่าๆกัน รวมถึงตัวเค้าด้วย หนูรู้สึกว่าสำหรับหนูมันไม่ยุติธรรม ทรัพย์สินส่วนตัวของเขาสองคนหนูไม่เคยยุ่ง และมีการให้คนรู้จักโทรศัพท์เข้ามาเป็นนัยๆว่าจะฟ้องร้อง อย่างงี้ถ้าเค้ามาฟ้องร้องภายหลังจะมีผลทางกฎหมายไหมคะ ขอบคุณค่ะที่รับฟัง

โดยคุณ Patteera Eiam (162.158.xxx.xxx) 11 ก.ค. 2562, 16:47

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

เพิ่มเติม


    เมื่อคุณพ่อตาย ทรัพย์มรดกของพ่อ คุณและพี่สาวย่อมมีสิทธิ์ขอแบ่งปัน  ถ้าแม่ยังไม่จดทะเบียนหย่า แม่ก็มีสิทธิ์ขอแบ่งปันได้เช่นกัน ตัวอย่าง  พ่อไปมีทรัพย์สิน กับภรรยาใหม่ มูลค่า 1 ล้านบาท  ทรัพย์สิน 5 แสนบาท คุณและพี่สาวขอแบ่งปันได้  ถ้าภรรยาใหม่  มาติดใจเรื่องเงินบำนาญของพ่อ ก็ควร เอาเรื่องทรัพย์มรดกของพ่อมากล่าวอ้างได้เช่นกัน อย่าปล่อยให้เขาทำร้ายฝ่ายเดียว  ควรตอบโต้บ้าง ตามช่องทางที่ชอบด้วยกฎหมาย  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 12 ก.ค. 2562, 09:14

ความคิดเห็นที่ 1

เงินบำเหน็จตกทอด


 มีกม.ระบุไว้ชัดเจน ในการแบ่งปันเงินบำเหน็จฯ  ตาม พรบ.บำเหน็บำนาญฯ ม.48  คือ


1. บุตรได้สองส่วน ถ้ามีบุตรสามคนได้ส่วนส่วน

2. สามีภรรยาได้ 1 ส่วน

3. บิดามารดา ได้  1 ส่วน


  ตามข้อเท็จจริงที่บอกมา คุณแม่ ตัวคุณและพี่สาว จะได้รับส่วนแบ่ง คนละ 1 ส่วน  คนอื่นๆ จึงไม่สิทธิ์มาขอแบ่งปันแต่อย่างใด....เรื่องเขาจะฟ้องคงไปห้ามไม่ได้  แต่คุณก็มีข้อสู้ที่ชอบด้วยกฎหมาย  จึงอยู่ในฐานะได้เปรียบ  ก็ไม่ต้องวิตกจนเกินควร...ถ้ามีการฟ้องร้องจริง  ต้องยื่นคำให้การต่อสู้ตามกำหนดนัด  ถ้าไม่ยื่นฯ อาจจะเสียเปรียบได้ ทั้งๆที่ได้เปรียบอยู่แล้ว...




โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 12 ก.ค. 2562, 09:07

แสดงความเห็น