WebBoard :กฎหมาย|เรื่องของสินสมรสที่แม่เลี้ยงมาฟ้อง / ทรัพย์มรดก

เรื่องของสินสมรสที่แม่เลี้ยงมาฟ้อง / ทรัพย์มรดก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

เรื่องของสินสมรสที่แม่เลี้ยงมาฟ้อง / ทรัพย์มรดก

  • 417
  • 2
  • post on 22 เม.ย. 2562, 16:59
บิดาของดิฉันมีที่ดินอยู่หลายแปลงได้มาระหว่างสมรสกับภรรยาคนหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่แม่แท้ๆของดิฉัน (แม่แท้ๆของดิฉันได้จดทะเบียนหย่าเมื่อนานมาแล้ว) ในทุกโฉนดที่ดิน หรือบ้าน ก็จะมีชื่อของบิดาและแม่เลี้ยงร่วมด้วยเสมอ มีเพียงที่ดิน 2 แปลงเท่านั้นที่ไม่มีชื่อร่วม ซึ่งก่อนบิดาเสีย ได้ยืนยันว่าซื้อที่ดินทั้ง 2 แปลงนี้ด้วยเงินเก็บส่วนตัวเพียงคนเดียวเลยไม่ได้ใส่ชื่อแม่เลี้ยงร่วมด้วย ครั้นเมื่อท่านป่วยจึงได้ยกที่ดินแปลงที่ 1 ให้ดิฉันเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2560 ให้ด้วยความเสน่หาเพราะเราดูแลท่านมาตลอด ทั้งยามปกติ ยามเจ็บ และยามป่วย และต่อจากนั้นไม่นานบิดาได้จดทะเบียนหย่ากับแม่เลี้ยงเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2560 ด้วยวัย 84 ปี บิดาของดิฉันจดทะเบียนกับแม่เลี้ยงเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 43 ปี หากแต่มิได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาเป็นเวลาร่วม 20 กว่าปี และแม่เลี้ยงก็ไม่ได้ดูยามเจ็บไข้ได้ป่วยแต่อย่างใดในช่วงระยะเวลาที่แยกกันอยู่ หลังจากหย่าได้ไม่นาน บิดาของดิฉันได้ยกที่ดินให้อีกแปลงหนึ่งเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2561 ซึ่งยกให้หลังจากหย่ากันแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่าให้นำไปขายเพื่อนำเงินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ต่อมาบิดิของดิฉันได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที 26 เม.ย. 2561 หลังจากนั้นที่ดินผืนที่ 2 บิดายกให้ดิฉัน ขายได้และโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปยังเจ้าของใหม่ในวันที่ 26 ก.พ. 2562 หลังจากนั้นไม่นานมีหมายศาลมาที่บ้านลงวันที่ 22 มี.คง 2562 โดยแม่เลี้ยงที่หย่ากับบิดาของดิฉันแล้วนั้น ได้ฟ้องดิฉันเป็นจำเลยที่ 1 และเจ้าของที่ดินคนใหม่ที่มาซื้อที่ไป เป็นจำเลยที่ 2 ในข้อหากรรมสิทธิ์รวม แดนกรรมสิทธิ์ เพิกถอนการจดทะเบียนโอน จำนวนทุนทรัพย์ 1,250,000 บาท โดยอยากถามว่า ดิฉันควรจะตั้งรับ หรือโต้แย้งได้อย่างไรบ้าง ในเมื่อการโอนที่ดินเป็นการโอนโดยพ่อให้ลูก
โดยคุณ PearPear (172.68.xxx.xxx) 22 เม.ย. 2562, 16:59

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

มรดกคุณพ่อ/คุณแม่


 ที่ดินสองแปลง  แม้มีชื่อของบิดาเพียงผูัเดียว   แต่การได้มาในระหว่างสมรสกับแม่เลี้ยง   ย่อมได้รับการีสันนิษฐานว่า เป็นสินสมรส  ตาม ปพพ.ม.1474 วรรคท้าย แม่เลี้ยงจึงอ้างได้ว่า ตนมีกรรมสิทธิ์ร่วมกึ่งหนึ่ง  การจะพิสูจน์ว่าเป็นสินส่วนตัวของพ่อ  จึงค่อนข้างลำบาก  แม้จะหย่ากับบิดา  แม่เลี้ยง  ก็ยังอ้า่งได้ว่าตนมีกรรมสิทธิ์ร่วม  เพราะเพียงหย่า แต่ยังไม่แบ่งสินสมรส....จึงเป็นที่มาของการที่คุณถูกฟ้อง  เพราะมีข้อกฎหมาย ที่แม่เลี้ยงสามารถอ้างได้ว่าตนมีกรรมสิทธิ์ร่วม....ทางแก้ไขที่สันติ   ขอแนะนำให้ใช้การเจรจากับแม่เลี้ยง  โดยยอมแบ่งเงินขายที่ดินให้แม่เลี้ยงกึ่งหนึ่ง ปัญหาการฟ้องร้องน่าจะยุติลงได้....ถ้าจะต่อสู้ว่า ที่ดิน พ่อซื้อมาเอง เป็นสินส่วนตัวของพ่อ แม่เลี้ยงไม่มีสิทธิ์ขอแบ่งปัน ก็สามารถทำได้   แต่คงต้องพิสูจน์กันยืดยาว  อาจจะต้องใช้เงินในการต่อสู้คดี  มากกว่าที่ต้องแบ่งให้แม่เลี้ยงก็ได้.....

  ส่วนเรื่องแม่จดทะเบียนสมรสกับพ่อเลี้ยงคนใหปม่  ถ้าแม่และพ่อเลี้ยงมีทรัพย์สิน   ได้มาระหว่างสมรส  เมื่อแแม่ตายลง  ทรัพย์มรดกของแม่ย่อมตกทอดแก่ทายาท  ตัวอย่าง  มีเงิน(มรดก)  100  บาท จะแบ่งเป็นของ พ่อเลี้ยง 50 บาท  อีก 50 บาท ตกทอดแก่ทายาท  คือสามีของแม่  ลูกๆของแม่  คนละเท่าๆกัน ถ้ามีเพียงสามีของแม่  และตัวคุณ  ก็แบ่งกันคนละ  25 บาท สรุป พ่อเลี้ยงได้ส่วนแบ่ง 75 บาท  คุณได้ส่วนแบ่ง 25 บาท เป็นต้น...

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 23 เม.ย. 2562, 15:33

ความคิดเห็นที่ 1

แม่​จดทะเบียน​สมรส​กับ​พ่อ​ใหม่​แล้ว​แม่​เสียชีวิต​สินสมรส​ต้อง​เป็น​ของ​ใคร​

โดยคุณ สมพงษ์​ 23 เม.ย. 2562, 11:08

แสดงความเห็น